1.ภูมิประเทศ

2.เศรษฐกิจ

3.สถานที่ท่องเที่ยว

4.แผนที่






























ประวัติของแขวงสะหวันนะเขต


เดิมแขวงสะหวันนะเขต มีชื่อเรียกเป็นทางการเมื่อครั้งได้รับการก่อตั้งเป็นแขวงว่า สุวันนะเขต ซึ่งมีความหมายถึงแผ่นดินแห่งทอง หรือตีความไปถึงดินแดงที่อุดมสมบูรณ์ แต่เนื่องจากความพ้องของเสียง สุวันนะเขต กับ สะหวันนะเขต มีความใกล้เคียงกัน ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจความหมายของ สะหวัน มากกว่า สุวัน จึงมักเรียกแขวงนี้และเมืองหลักของแขวงนี้ว่า เมืองสะหวัน หรือ แขวงสะหวัน และ สะหวันนะเขต จนสามารถเรียกได้ทั้ง 2 นาม คือทั้งสุวันนะเขตและสะหวันนะเขต ผู้คนก็มักจะเรียกแขวงนี้ว่าสะหวันนะเขตมากกว่าสุวันนะเขต ในระยะหลังภาครัฐได้ยอมรับและเรียกชื่อแขวงนี้เป็นทางการว่า สะหวันนะเขต ซึ่งล้วนมีความหมายที่ดีงามทั้งนั้นสะหวันนะเขตมีความเป็นมาด้วยการตั้งรกรากและชุมชนบริเวณเขตที่ตั้งของแขวง ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ แต่การสร้างบ้านแปงเมืองที่มีคนมาอาศัยหนาแน่นเพิ่งมีปรากฏในสมัยประวัติศาสตร์ชาติลาว คือ สมัยอาราจักรล้านช้าง เชื่อว่าบรรพชนของเมืองสะหวันนะเขตอพยพโยกย้ายมาจากเมืองนาน้อยอ้อยหนูอาราจักรสิบสองจุไท แล้วมาตั้งบ้านเรือนขึ้นเป็นเมืองหลวงโพนสิม หรือบ้านโพนสิมในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองคันทะบุลีอันเป็นเมืองหลักของแขวงไปทางทิศตะวันออก โดยชื่อของเมืองนี้ได้มาจากนามของเจ้าเมืองกับคู่ชีวิตซึ่งมีนามว่า ท้าวหลวง กับนางสิมา ทั้งสองได้นำพาประชาชนมาสร้างเมืองนี้ในวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ปีวอก พ.ศ. 2085 ก่อนที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจะสร้างเวียงจันทน์ 18 ปี ต่อมาเมื่อท้าวหลวงกับนางสิมมา จึงได้ย้ายครอบครัวพร้อมญาติพี่น้องจำนวน 40 ครัวเรือน จากเมืองหลวงโพนสิมไปตั้งอยู่บ้านใหม่ที่ทุ่งนาคำติดแม่น้ำโขง ตั้งชื่อว่า บ้านนาคำ เมื่อตั้งบ้านนาคำแล้ว ท้าวแก้วสิมมะลีก็ได้พาประชาชนญาติพี่น้องสร้างวัดวาอาราม สร้างหอแจก สร้างหอคำด้วยหินแฮ่และหินหมากคอม ประกอบกับบริเวณนั้นมีก้อนกรวดก้อนหินดังกล่าวซึ่งชาวลาวเรียก หินแฮ มาก จึงเรียกนามบ้านอีกชื่อว่าบ้านท่าแฮ และติดปากชาวบ้านมากกว่าบ้านนาคำด้วยทำเลที่เหมาะสมทั้งการเพาะปลูกและการเดินทาง ชุมชนบ้านท่าแฮจึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากการอพยพของผู้คนหมู่บ้านอื่นมาร่วมอาศัย จนกระทั่ง พ.ศ. 2436 เมื่อฝรั่งเศสเข้าปกครองลาว เล็งเห็นความจำเป็นด้านกานปกครองหัวเมืองจึงได้ตั้งเขตแขวง และตั้งบ้านท่าแฮเป็นเมืองหลักของแขวง เพื่อเป็นเมืองด่านชายแดนต้านยันอังกฤษและสยาม ครั้งนั้นนายโอเดนฮอล ตัวแทนเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสที่ดูแลสะหวันนะเขตได้ปรึกษารือกับปราชญ์ของบ้านท่าแฮ คือ ท่านกมมะลีกับเฒ่าแก่ของหมู่บ้านจึงได้ตั้งชื่อแขวงใหม่ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2450 ชื่อว่า สุวันนะเขต โดยเป็นการเอาคำในภาษาสันสกฤต 2 คำมาผสมกันระหว่างคำว่า สุวรรณ ซึ่งเป็นคำสันสกฤตแปลว่า ทอง กับคำว่า เขต ซึ่งหมายถึง อาณาเขตหรือเขตแดนตั้งเป็นนามแขวง แต่สำหรับในส่วนของประชาชนอาจจะเข้าใจและใกล้ชืดกับคำว่า สวรรค์ มากกว่า สุวรรณ และคิดว่าเป็นคำที่มีความหมายไม่ต่างกัน ประกอบกับคำสองคำมีสำเนียงใกล้เคียงกันจึงเรียกแขวงของตนว่า สะหวันนะเขต ตลอดมา แม้ว่าในเอกสาร แผนที่ของทางราชการจะเขียนว่า วุวันนะเขต ก็ตาม อาทิ การเรียกชื่อจังหวะการลำมีชื่อประจำถิ่นก็เรียกว่า ลำนำคอนสะหวัน ซึ่งต่อมาเหลือเพียง ลำคอนสะหวัน ในระยะหลังภาครัฐและทางแขวงจึงได้ใช้นาม สะหวันนะเขต ตามภาษาพูดที่ประชาชนเรียกแขวงของตนเองอย่างเป็นทางการไปโดยปริยาย ท่านอุดร ป้อมไชยะสัก อดีตที่ปรึกษา คณะรัฐบาลและรัฐมนตรีหลายกระทรวงของสปป.ลาว ท่านเป็นชาวสะหวันนะเขต ได้กล่าวถึงฐานคิดในการตั้งชื่อแขวงสะหวันนะเขตครั้งนั้นว่า ฝรั่งเศสมีเจตนาที่จะสร้างแขวงสะหวันนะเข ให้เป็นแขวงขนาดใหญ่เพื่อแข่งกับจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่สุดที่อยู่โขงฟากขวาและอยู่ในการปกรองของสยามโอเดนฮอลถามถึงความหมายของเมืองอุบลราชธานีทราบว่าเป็นเมืองดอกบัวจึงได้ชื่อว่า สุวรรณเขต ต่างกันเพียงว่าคำลาวเขียนตามภาษาออกเสียงจึงเป็น สุวันนะเขต หรือดินแดงทองอันเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงนั่นเอง และแม้ว่าระยะต่อมาชาวบ้านจะเรียกว่าเมืองสวรรค์ หรือสะหวันนะเขต ดังปัจจุบันความหมายก็ยังเป็นที่น่าพอใจเช่นเดิม แต่ไม่ว่าการตั้งชื่อแขวง สุวรรณเขต อันมีความหมายตามรูปศัพท์ว่าเขต ทองคำ จะมีความหมายฝ่ายถึงการตีความอุดมสมบูรณ์หรือแผ่นดินที่มีแร่ธาตุทองคำจำนวนมากดังที่ค้นพบในเขตเมืองวีละบุลี ที่เดิมเรียกว่า เมืองวังอ่างคำ หากพิจารณาสาระสำคัญในคำขวัญของแขวงก็ยังมีคำว่า ทองคำ ปรากฏเช่นเดิม คือ สะหวันนะเขตแผ่นดิน พระธาตุอิงฮังสถานบูราณงามสง่า สัตว์โลกดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์หนึ่งร้อยล้านปี ประเพณีวัฒนธรรมล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดขับลำสี่จังหวะ

เมือง (ไทย) เมือง (อังกฤษ) เมือง (ไทย) เมือง (อังกฤษ)
ไกสอน พมวิหาน
(เดิม : คันธบุรี)
Kaysone Phomvihane
(เดิม : Khanthabouly)
สองคอน Songkhone
อุทุมพร Outhoumphone จำพอน Champhone
อาดสะพังทอง Atsaphangthong ชนบุรี Xonnabouly
พีน Phine ไชยบุรี Xaybuly
เซโปน Sepone วีรบุรี Vilabuly
นอง Nong อาดสะพอน Atsaphone
ท่าปางทอง Thapangthong ไชยภูทอง Xayphouthong


 

โปรแกรมทัวร์เเนะนำ