![]() |
||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||
ประวัติศาสตร์
|
เศรษฐกิจ เศรษฐกิจหลักที่สำคัญของแขวงสาละวันนั้นคือ การทำไฟฟ้าในแขวงและนอกจากนี้ยังส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายไปยังประเทศไทยอีกด้วยซึ่งเป็นรายได้ที่เข้าสู่แขวงสาละวันและเศรษฐกิจที่รองลงมาจากการทำไฟฟ้าคือ การปลูกเกษตรกรรม สามารถปลูกข้าวได้อย่างมีคุณภาพ มีเขตราสูงที่มีพื้นดินภูเขาไฟอุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้หลากหลายชนิด เช่น กาแฟ หมากแหน่ง ถั่วชนิดต่างๆ ป่าน ปอ พริก ยาสูบ และไม้กินผล เช่นทุเรียน กล้วย น้อยหน่า เป็นต้น และสามารถจำหน่ายนำรายได้จำนวนมากเข้าสู่ สปป.ลาว นอกจากนี้แขวงสาละวันยังมีพื้นที่เป็นป่าและทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น ควาย วัว หลายแห่ง เช่น ทุ่งหนองบัว เมืองสาละวัน สำหรับแม่น้ำลำธารที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตและระบบเกษตรกรรมของแขวงสาละวันนอกจากแม่น้ำโขงที่ไหลกั้นเขตแดนราชอาณาจักรไทยกับสาละวัน นอกจากแม่น้ำโขงที่ไหลกั้นเขตแดนราชอาราจักรไทยกับสาละวัน นอกจากแม่น้ำโขงที่ไหลกั้นเขตแดนระหว่างอาณาจักไทยกับสาละวันระยะทาง 90 กิโลเมตรแล้ว ยังมีน้ำสายสำคัญคือ ลำน้ำเซโดน เซละนอง เซโปน เซมะนา เซเส็ดฯลฯ ประชาชนโดยรวมของแขวงสาละวันโดยรวมของแขวงสาละวัน ต่างก็มีทักษะการประกอบอาชีพจากสภาพภูมิประเทศและทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ของตนเอง เช่น ชนเผ่าลาวเทิงที่เมืองเลางาม มีทักษะพื้นฐานและความชำนาญในการปลูกกาแฟ พริกไท กล้วย และพืชอุตสาหกรรมอื่นๆ ในขณะที่ประชาขนในเขตพื้นที่ราบเมืองสาละวัน คงเซโดน วาปี ละครเพ็ง ละตุ้มลาน มีทักษะ พื้นฐานในการปลูกข้าวนาปี ข้าวนาแซง สำหรับประชาชนในเขตภูเขา ซึ่งเป็นชนเผ่าลาวเทิง กลุ่มต่างๆ ที่มีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม กำลังได้รับการพัฒนาให้สามารถเลี้ยงสัตว์ และปลูกพืช เศรษฐกิจในขอบเขตทรัพยากรธรรมชาติด้านพื้นที่ทำกินของพวกเอื้ออำนวยความสะดวก อย่างไรก็ตาม สำหรับสิ่งที่ชาวแขวงสาละวันถือว่าเป็นลักษณะเด่นและความภูมิใจของตนเอง คือสิ่งที่สะท้อนผ่านและปรากฏในคำขวัญของแขวงคือ มะพร้าวน่าไซ ปิ้งไก่นาปง เหล้าขาวเมืองคง ลำวงสาละวัน
|
|||||||
![]() |