![]() |
||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||
ประวัติศาสตร์
|
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองหลวงน้ำทา พิพิธภัณฑ์หลวงน้ำทา อยู่ด้านหลังห้องว่าการแขวงหลวงน้ำทา (ศาลากลางจังหวัด) เป็นอาคารชั้นเดียว ภายในจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ของชนเผ่า เสื้อผ้า เครื่องประดับต่างๆ มีพระพุทธรูปเก่าที่ขุดพบบริเวณเมือง และเรื่องราวเกี่ยวกับพรรปฎิวัติลาวรวมถึงการจัดแสดงศิลปวัตถุของท้องถิ่น เช่น ชุดประจำเผ่า กลองสำริด ของเผ่าขมุ และรายละเอียดการปฏิวัติปลกปล่อยชาติ (ค่าเข้าชม 1,000 กีบ เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-12.00 น. และ 13.30-15.30 น.) พระธาตุมีไชหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดธาตุสามัคคีไช” เป็นพระธาตุบนเขาที่เห็นได้จากตัวเมือง สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2547 โดยชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาชาวหลวงน้ำทา และชาวลาวต่างแขวง และชาวต่างประเทศ การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ด้านหน้ามีรูปปั้นชนเผ่าต่างๆ ในชุดแต่งกายประจำเผ่า ถือเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ของเมืองที่สวยงาม พระธาตุปุมปุกห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 7 กิโลเมตรเลี้ยวขวาเข้าถนนลูกรังเล็กๆ ข้างสนามบินไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงเนินเขาที่ตั้งขององค์พระธาตุ สามารถเดินขึ้นประมาณ 15 นาที หรือขับรถขึ้นไปประมาณ 800 เมตร จะพบพระธาตุศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของชาวเมือง พระธาตุแห่งนี้สร้างขึ้นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2171 โดยพระเจ้าปุมปุก (บางตำราว่าพระเจ้าสุทโธทนะ) แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เจดีย์ได้หักโค่นพังทลายลงจากแรงระเบิดพร้อมกับเมือง จนถูกปล่อยทิ้งร้างไว้นานผ่านไปจนถึงสมัยที่ประเทศลาวได้รับเอกราช และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย จึงมีชาวบ้านร่วมกันบูรณะ แต่องค์พระธาตุเดิมเสียหายอย่างหนักยากแก่การซ่อมแซม จึงได้ก่อสร้างพระธาตุองค์ใหม่ขึ้นในปีพ.ศ. 2545 เคียงข้างกับพระธาตุองค์เดิม ซากปรักหักพังขององค์พระธาตุนี้ถือเป็นอนุสรณ์ของสงครามเพียงแห่งเดียวของเมือง วัดหลวงขอนรัตนารามออกจากพระธาตุปุมปุกสู่ถนนสายหลัก ชาวบ้านส่วนใหญ่เรียก “วัดบ้านหลวงขอน” เป็นวัดเก่าที่ถูกทำลายในสงคราม และมาสร้างขึ้นใหม่ภายหลังตามแบบไท-กาลอม บ้านป่าสักทางเข้าอยู่ตรงข้ามสัดหลวงขอน ผ่านท่าเรือและเฮือนพักไปประมาณ 2 กิโลเมตรจะเป็นหมู่บ้านของชาวไทดำ ทำหัตถกรรมทอผ้า และต้มเหล้า แต่ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่หันไปทำนาทำไร่แทนเป็นส่วนมาก บ้านน้ำดีย้อนกลับไปทางทิศเหนือของเมือง (ทางไปเมืองสิง) ประมาณ 2 กิโลเมตร จะเห็นป้ายทางไปหมู่บ้านน้ำดี เลี้ยวเข้าสุ่ถนนลูกรังไปอีกประมาณ 2.5 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านชนเผ่าแลนแตน เป็นหมู่บ้านที่เข้าถึงได้สะดวก ชนเผ่าแลนแตนในบ้านน้ำดีทุกคนเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว และยังคงดำเนินวิถีชีวิตตามแบบดั้งเดิม เวลากลางวันผู้ชายจะออกจากบ้านไปทำไร่ทำนา หรือหาของป่า ผู้หญิงจะอยู่บ้านทำงานหัตถกรรมประเภททอผ้า ทำปอสา หรือนำหญ้ามามัดเป็นหลังคา ฯลฯ ที่ท้ายหมู่บ้านมีน้ำตกเล็ก ที่สวยงาม น้ำตกตาดผาเยือง ภูกิ่วลมก่อนถึงเมืองสิงประมาณ 18 กิโลเมตร จะพบป้ายทางเข้าน้ำตก ต้องจอดรถและเดินขึ้นเขาไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ตัวน้ำตกมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติของป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ พระธาตุเชียงตุงตั้งอยู่บนเนินเขา ก่อนถึงเมืองสิง 5 กิโลเมตร ด้วยชื่อและรูปทรงขององค์พระธาตุอาจดูคล้ายกับพระธาตุเชียงตุงที่จังหวัดเชียงราย แต่มีขนาดย่อมกว่าคือ สูงประมาณ 10 เมตร ถือเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ในช่วงเวลาที่พระจันทน์เต็มดวงเดือน 12 ลาว (ประมาณเดือนต.ค.-พ.ย.) ของทุกปี จะมีงานบุญธาตุเชียงตุงที่ยิ่งใหญ่ของเมืองสิง ชาวบ้านจะแต่งตัวกันอย่างสวยงามรวมถึงมีชาวจีนบางส่วนก็ข้ามแดนมาสักการบูชา ด้านหนึ่งของพระธาตุจะพบต้นไม้ขนาดใหญ่ใต้ฐานมีแท่นบูชา และบ่อน้ำเก่าตามแบบศิลปะจีนโบราณ
|
|||||||
![]() |