![]() |
||||||||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
||||||||
ประวัติศาสตร์
|
-สี่แยกกลางเมือง ตลาดเช้าและตลาดม้ง นักท่องเที่ยวเกือบทุกคนจะเริ่มต้นเที่ยวหลวงพระบางที่สีแยกกลางเมือง สี่แยกนี้ใครมาหลวงพระบางก็ต้องรู้จัก ถือเป็นใจกลางเมืองสำหรับยุคท่องเที่ยวก็ว่าได้ เพราะอยู่บนถนนสายหลักหรือถนนเส้นกลางเมืองซึ่งมีความสับสเรื่องชื่อมากที่สุดบ้างที่เรียกว่าถนนสีระหว่างวง บ้างก็เรียกถนนเชียงทอง หรือถนนหน้าวัง บางช่วงกลายเป็นถนนเจ้าฟ้างุ้มก็มี แม้แต่แผนที่หลายๆ ฉบับทางการลาวเอง แต่ละฉบับของทางลาว แต่ละฉบับก็เรียกชื่อต่างกัน เอาเป็นว่าเรียกถนนกลางเมืองก็เป็นถนนกลางเมืองก้เป็นอันเข้าใจกันแล้ว หลวงพระบางเกือบทั้งหมด และตัดกับถนนลงสู่แม่น้ำโขง สำหรับมุมเด่นที่สุดของสี่แยกกลางเมืองนี้น่าจะเป็นมุมที่ตั้งของโรงแรมพูสี โรงแรมเก่าแก่แห่งหนึ่งของหลวงพระบาง จากโรงแรมพูสีข้ามไปถนนไปจะเป็นที่ทำการไปรษณีหรือห้องกานไปสะนี สถานที่ส่งจดหมาย โทรสาร ลมีตู้โทรศัพท์สาธารณะอยู่ข้างๆหากตรงไปทางทิศตะวันตกหรือไปแม่น้ำโขงจะผ่านตลาดเช้า ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าจะติดตลาดขายของสดกันแต่เช้ามืด เมื่อเดินมาจนถึงถนนเลียบแม่น้ำโขงซึ่งเป็นท่าเรือข้ามฟากไปฝั่งเมืองเชียงแนน จะสังเกตุว่ามีต้นมะม่วงใหญ่เลยทางซ้ายมือ ใต้ร่มมะม่วงมีเพิงขายกาแฟเล็กๆอยู่ คือร้านกาแฟปะชานิยม ขายกาแฟลาว ขนมคู่กับปาท่องโก๋ รสชาติกาแฟที่อยากลิ้มลองกาแฟคั่วบดซึ่งสั่งตรงจากลาวภาคใต้เลยที่เดียว ส่วนตอนเย็นบริเวณนี้จะมีแม่ค้าตั้งแผงขายอาหารปรุงสำเร็จไก่ย่างหมูย่าง ข้าวเหนียว สิ่งที่น่าสนใจสี่แยก ตลากเช้า แม่ค้าฝั่งเชียงแมนนำผลิตผลทางการเกษตรมาวางขายตามถนนเลียบแม่น้ำโขงที่ตลาดเช้าเป็นประจำทุกวันเชียงแมนซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำโขงกับหลวงพระบาง เป็นพื้นที่ผลิตพืชผักป้อนเมืองหลวงพระบางมาแต่อดีต ตลาดม้ง เป็นบริเวณที่มีชาวเผ่าม้งหรือชาวลาวสูงมาตั้งแผงแบกะดินขายสินค้าที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นงานหัตถกรรมประเภทผ้า ย่ามผ้าปักลวดลายแปลกๆราคาไม่สูง สามารถต่อรงอได้อย่างสนุกสนาน เดิมตลาดม้งมีเฉพาะหัตถกรรมของชาวลาวสูงหรือม้งนั้นเอง ปัจจุบันขยายตัวไปสู่ของที่ระลึกอื่นๆจากหลวงพระบางทั้งผ้าทอมือแบบลาว งานไม้ เครื่องเงินและของเก่า
-พระธาตุจองพูสี พระธาตุหลักเมืองของหลวงพระบาง พระธาตุจอมพูสีหรือธาตุพูสี เปรียบเสมือนหลักเมืองของหลวงพระบางมีตำนานกล่าววว่า ฤาษีสองพี่น้องคืออามะละฤาษีและโยทิกะฤาษีได้ เดินทางเสาะหาสถานที่สำหรับตั้งบ้านเมือง เมื่อมาเห็นชัยภูมิที่นี่ดี เป็นราบกว้างและมีเนินเขาอยู่กลาง จึงเลือกเนินเขานี้เป็น ใจเมือง กำหนดขอบเขตเมือง บนยอดพูสี ซึ่งเป็นองค์พระธาตุที่สำคัญที่สุดของเมืองหลวงพระบาง ตั้งแต่ยอดปลีขึ้นไปทาสีทองสุกปลั่ง ใครที่มาถึงหลวงพระบางจะได้เห็นพระธาตุพูสีนี้แต่ไกลถือเป็นมิ่งขวัญของชาวหลวงพระบางคนส่วนมากที่จะไปเที่ยวหลวงพระบางก็จะอยากไปไหว้พระธาตุจองพูสี สิ่งที่น่าสนใจ พระธาตุจอมพูสี หรือพระธาตุพูสี สร้างในปี พ.ศ 2374 สมัยเจ้าอนุรุทธราชมาบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ 2457 โดยหุ้มพระธาตุด้วยแผ่นทองเหลืองฉาบทองคำ องค์พระธาตุกว้างด้านละ 10-55 เมตร สูง 21 เมตร ซุ้มจำปา พระธาตุจองพูสี ทางขึ้นพระธาตุพูสีร่มรื่นด้วยซุ้มจำปาลาวหรือลั่นทม ดอกไม้ประจำชาติลาว ในช่วงเดือนเมษายนซึ่งตรงกับปีใหม่ลาว จำปาจะออกดอกบานสะพรั่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น ทิวทัศน์จากพูสีจากยอดพูสีจะมองเห็นตัวเมืองหลวงพระบางได้ทั่วทั้งหมด และทุกเย็นมักมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นมาชมอาทิตย์ลับฟ้าบนพูสี ตักบาตรพูสี วันสังขารขึ้นในช่วงบุญปีหรือสงกรานต์ของชาวลาวคนหลวงพระบางจะเดินทางขึ้นพูสีนำอาหารไปวางไว้ตามทางเดินและโยนขึ้นไปยังองค์พระธาตุ ถือเป็นการถวายทานและทำบุญรับปีใหม่ที่ชาวหลวงพระบางขาดไม่ได้
-หอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง พระราชวังเดิม ทางข้ามกับบันไดทางขึ้นพูสีคือหอพิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบางแต่เดิมเคยเป็นพระราชวังหลวงที่พำนักของเจ้ามหาชีวิต เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ 2447 ในสมัยพระเจ้าสักกะรินและมาแล้วเสร็จใน พ.ศ 2452ในสมัยของพระเจ้าศรีสว่างวงค์ ภายหลังเปลี่ยนระบอบการปกครองในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ 2518รัฐบาลลาวได้ใช้พระราชวังหลวงนี้เป็นหอพิพิธภัณฑ์ และเปิดทำการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ 2519 เมื่อผ่านประตูมาทางเข้าแล้ว จุดเด่นของที่นี้คือ แถวของต้นตาลขนาดใหญ่ที่ขนาบอยู่ที่ซ้ายและขวา นำสายตาของผู้มาเยือนตรงไปสู่อาคารพระราชวังเดิมซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตก โดยโครงสร้างด้านล่างของอาคารเป็นการสร้างตามตึกฝรั่ง ส่วนด้านบนมณฑปตามแบบตะวันออก ทำให้ดูคล้ายคลึงกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังของไทยด้านขวามือของประตูทางเข้าคือที่ตั้งของ หอพระบาง เป็นวิหารขนาดใหญ่ทางล้านช้าง หลังคาปีกนกสามชั้น แต่ไม่ต่ำแบบสิมช้างแท้ๆ หอนี้เดิมตั้งใจสร้างเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบาง แต่จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ สิ่งที่น่าสนใจ อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีสว่างวงค์เจ้ามหาชีวิตผู้ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ 2448-2502 และเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่เขียนขึ้นโดยชาวลาวเมื่อ พ.ศ 2590 แถวต้นตาลหน้าพระราชวัง จุดเด่นที่สุดอย่างหนึ่งของหอพิพิธภัณฑ์คือแถวต้นตาลขนาดใหญ่ที่ขนาบสองข้างทางเดินเข้า ตามประวัติเล่ากันพระเจ้าศรีสว่างวงค์โปรดให้ปลูกขึ้น เพื่อให้สอดรับกับมุมมองจากท้องพระโรงไปยังพูสี ยอดมณฑปทอง แต่เดิมพระราชวังนี้ออกแบบโดย M .Servoiseสปานิกชาวฝรั่งเศส โดยสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง รูปทางยุโยปแบบโคโลเนียลต่อมาใน พ.ศ 2473พระเจ้าศรีสว่างวงค์โปรดให้สร้างหลังคาแบบมณฑปเพิ่มเติมขึ้น เพื่อให้มีรูปลักษณ์แบบศิลปะตะวันออก โดยมีรูปช้างสามเศียร อันเป็นสัญลักษณ์ของ ราชอาณาจักรลาว อยู่บนหน้าบันเหนือมุขทวารด้านหน้า หอพระบาง เริ่มก่อตั้งแต่ พ.ศ 2503 สมัยพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา เพื่อ ฉลองปีกึ่งพุทธกาล ตามดำริของพระราชบิดา-พระเจ้าสว่างวงค์ การสร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จ ประเทศลาวก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มาเริ่มก่อสร้างใหม่ในปี พ.ศ 2538 แล้วยังไม่เสร็จจนกระทั่งปัจจุบัน
-วัดหัวเชียง วัดมะหาทาด และบริเวณน้ำพู หากจากสี่แยกกลางเมือง มุ่งหน้าลงทางทิศใต้ตามถนนเส้นกลางเมือง ทางช้ายมือมีวัดติดกันอยู่สองวัด วัดแรกคือวัดหัวเชียง ซึ่งสังเกตจำง่ายจากบันไดทางขึ้นวัดที่เป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรขนาบอยู่สองข้าง หากถัดไปคือวัดมะหาทาดหรือชาวบ้านเรียกว่าวัดทาดน้อย วัดแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ 2091 สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ชื่อของวัดมีที่มาจากเจดีย์องค์ใหญ่หลังสิมซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สร้างวัด เจดีย์ไชยเชษฐาธิราชเลยจากวัดมะทาดไปจนถึงน้ำพุที่มีรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่กลางสระน้ำขนากย่อมและอยู่เยื้องกับทางเข้าโรงแรมสุวันนะพูมบริเวณนี้เรียกว่าบ้านหัวเชียง ขวามือเป็นร้านขายที่ระลึกติดกันอยู่หลายร้านร้านที่น่าสนใจต้องเดินเข้าซอยซึ่งมีปากซอยมีป้ายว่า Silver smith เป็นร้านที่ขายเครื่องเงินฝีมือดีที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน ท้าวเพ็งเคย มะนีพอน ช่างเงินฝีมือดีที่ยังเหลืออยู่ปัจจุบัน ท้าวเพ็งเคยเป็นช่างเงินประจำราชสำนักหลวงพระบางมาก่อน ร้านนี้จึงมีเครื่องเงินสไตล์หลวงพระบางแท้ๆ สิ่งที่น่าสนใจ ราวเทียน วัดมะหาทาด วัดมะหาทาดปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ 2453 โดยเจ้ามหาอุปราชบุญคง ภายในสิมแบบล้านช้างมีราวเทียนรูปนาค 24 ตัว ฝีมือการแกะวิจิตรงดงาม เจ้ามหาอุปราชบุญคงมอบให้ตั้งแต่ปี พ.ศ 2460 ธาตุเจ้าเพชรราชหน้าสิมของวัดมะหาทาดมีเจดีย์ใหญ่บรรจุอัฐิของเจ้าเพชรราชรัตนวงศา อดีจนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศลาวยุคใหม่ -วัดใหม่สุวันนะพูมาราม วัดใหม่สุวันนะพูมารามสร้างเมื่อปี พ.ศ 2337 ในรัชสมัยพระเจ้าอนุทธราช ต่อมาในปีพ. ศ 2364 ตรงกับสมัยพระเจ้ามันธาตุราชได้ทางปฏิสังขรณ์วัดนี้ใหม่ พระธาตุ อูบมุงและหอขวางที่เห็นอยู่ในปัจจุบันก็สร้างขึ้นในสมัยนี้ เมื่อปฏิสังขรณ์แล้วได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดใหม่สุวันนะพูมาราม แต่ชาวบ้านทั่วไปนิยมเรียกสั้นๆว่า วัดใหม่ ในปี พ.ศ 2437สมัยพระเจ้าสักกะริดได้อัญเชิญพระบางจากวัดวิชุนมาประดิษฐานที่วัดใหม่ แล้วใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาต่อหน้าองค์พระบาง วัดแห่งนี้ถือว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของหลวงพระบางนอกจากจะเป็นวัดซึ่งสมเด็จพระยอดแก้ว พระสังฆราชพระองค์สุดท้ายของลาวเคยประทับมาแล้วในช่วงสงกรานต์จะอัญเชิญพระบางจากหอพิพิธภัรฑ์เมืองหลวงพระบางมาไว้ที่วัดใหม่เป็นเวลา 3 วันเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ บานประตูสิมวัดใหม่ สิมมีลักษณะคล้ายกับวัดวิชุน บานประตูเป็นฝีมือสลักไม้แบบเชียงขวาง ด้านข้างเป็นลวดลายแกะสลักเรื่องพระเวสสันดรโดยฝีมือของเพี้ยตันศิลปินแห่งชาติของลาว ซึ่งมีฝีไม้ลายมือโดดเด่นด้านการแกะสลักไม้ รูปแบบงานแกะสลักของเพี้ยตันได้รับการบกบ่องให้เป็นสกุลช่างสายชนิดของงานศิลปะลาว
-วัดป่าฮวก ซึ่งเป็นวัดร้างซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่แต่เพียงสิมหลังเดียวเท่านั้น ภายในสิมมีภาพจิตรกรรมฝาหนังแบบปูนเปียก presco ที่งดงามและสมบรูณ์ที่สุดของหลวงพระบาง เป็นศิลปะการเขียนภาพแบบสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีภาพวิถีชีวิตและการค้าขายของคนลาว ภาพพ่อค้าจีนพร้อมขบวนม้า และภาพพุทธประวัติต่างๆ สิมวัดป่าฮวก มีความโดดเด่นด้วยงานปูนปั้นตรงหน้าบัน ซึ่งเป็นรูปพระอินทร์ทางช้างเอราวัณและลายเครือเถาเหนือขอบประตู หลังคาไม่มีช่อฟ้าแบบวัดลาวทั่วไป ภายในสิมมีภาพจิตรกรรมฝาหนังแบบปูนเปียกที่สวยงามควรเข้าชมวัดนี้ขึ้นพูสี
-ย่านบ้านเจ็กและเฮือนมรดกเชียงม่วน จากหอพิพิธภัณฑ์ไปจะเข้าสู่ย่านตึกแถวโบราณของเมืองหลวงพระบาง ที่ทอดตัวยาวอยู่สองฝั่งถนนสีสว่างวงเป็นย่านการค้าเก่าแก่ของเมือง บริเวณนี้ชาวหลวงพระบางเรียกว่า ย่านบ้านเจ็ก เนื่องจากสมัยก่อนเป็นย่านร้านค้าและที่อยู่อาศัยของคนเชื้อสายจีน ตึกแถวในละแวกนี้มีลักษณะเป็นห้องตึกแถวแบบจีน แต่ประดับตกแต่งลวดลายคล้ายแบบยุโรปจนกลายจนกลายเป็ยเอกลักษณะเฉพาะตัวอาคารส่วนใหญ่สร้างในสมัยพระเจ้าศรีสว่างวงค์ โดยผู้เป็นกำลังสำคัญในการปรับปรุงพัฒนาเมืองหลวงพระบางก็คือ เจ้าอุปราชบุญคงกล่าวได้ว่าสภาพผังเมืองหลวงพระบางในปัจจุบัน รวมทั้งอาคารที่ทำการของรัฐส่วนมากซึ่งก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมผสมยุโรปนั้นเกิดขึ้นในสมัยนั้น ตึกแถวสองภนนสีสะหว่างวงนับจากหอพิพิธภัณฑ์จนมาสิ้นสุดที่ย่านบ้านเจ็ก ปัจจุบันปรับปรุงเป็นร้านขายของที่ระลึก ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านดื่มกิน และร้านอาหารนานาชาติ รวมทั้งแหล่งที่พักราคาย่อมเยาสำหรับนักเดินทางประเภทแบกเป้อีกด้วย ซึ่งส่วนมากอยู่ด้านหลังตึกแถวอาคารพาณิชย์ของบ้านเจ็ก บริเวณนี้จึงเป็นแหล่งชุมนุมของนักท่องเที่ยวตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนจนถูกขนานอย่างล้อเลียนจากนักท่องเที่ยวชาวไทยว่า ถนนข้าวสารแห่งหลวงพระบาง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งซื้อของใช้ ของฝากและของกินแล้วยังมี เฮือนมรดกโลกเชียงม่วน ที่ทางยูเนสดโกกล่าวว่า เป็นอาคารไม้ซึ่งเก่าที่สุดในหลวงพระบาง เดิมเป็นเรือนของพระยาหมื่นนา ขุนนางในราชสำนักล้านช้าง ในสมัยหนึ่งขุนนางและคหบดีเมืองหลวงพระบางนิยมปลูกกเรือนตึกแบบฝรั่ง ทำให้อาคารไม้แบบเดิมถูกรื้อไปมาก ที่เหลือสภาพสมบูรณ์อยู่ก็เฉพาะเรือนหลังนี้ ปัจจุบันได้ทำการซ่อมแซมจนมีสภาพที่สมบูรณ์ นับว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นมรดกโลกที่องค์การยูเนสโกได้อนุรักษ์ไว้เป็นแบบอย่างของบ้านลาวยุคโบราณ
-วัดป่าไผ่ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าไผ่ ในเขตบ้านหอเจ้าฟ้าเหลือม ในสมัยพระเจ้าอนุรุทธราชมีการสร้างวัดขึ้นตรงป่าไผ่นี้จึงเรียกว่า วัดป่าไผ่ และเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านป่าไผ่ไปด้วย สิมเป็นศิลปะแบบหลวงพระบาง ด้านหน้ามีภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวลาว ภายในสิมวักป่ามีงานจิตรกรรมฝาผนังที่ใช้การลงปิดทางหรือพอกคำ เป็นเรื่องราวในชาดกต่างๆ งานลงรักปิดทองนี้นับว่าสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาวัดทั้งหลายหลวงพระบาง
-วัดสีพุดทะบาด วัดป่าแคและวัดป่าฝาง วัดสีพุดทะบาด วัดป่าแคและวัดป่าฝาง เป็นกลุ่มวัดในอาณาบริเวณเดียวกันที่เชิงพูสีด้านทิศเหนือ วัดป่าแคและวัดป่าฝางเป็นวัดร้างเมื่อครั้งวัดสีพุดทะบาดขึ้นจึงรวมวัดทั้งสองเข้ามาด้วย ปัจจุบันที่นี้เป็นโรงเรียนสำหรับพระสงฆ์และสามเณร จึงเห็นเณรน้อยมาบริเวณนี้แทบทุกวันจากมุมมองทางศาลาติดกับรอยพระพุทธบาท จะมองเห็นแม่น้ำคาน สะพานเหล็ก พระธาตุเพนพา และภูซวง ได้ชัดเจนทั้งหมดถือว่าจุดนี้หมายถึงสัญลักษณ์ของเมืองหลวงพระบาง วัดป่าฝาง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัดเชียงงาม สร้างในสมัยพระเจ้าอนุรุทราช เป็นวัดที่มีศิลปะแบบล้านช้างที่ชัดเจนมาก ปัจจุบันกำลังได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ โดยห้องกานมอละดก เป็นโครงการที่ 2 ต่อจากเฮือนมรดกเชียงม่วน วัดป่าแค สร้างดดยพระเจ้านันทราชใน พ.ศ 2396 ตัวสิมเป็นศิลปะแบบเวียงจันทน์ นักท่องเที่ยวมักมาชมประตูหน้าบานซ้ายสุดซึ่งแกะสลักเป็นรูปฝรั่งผู้หนึ่ง ฟรังซีส การ์นิเยร์ นักสำรวจชาวฝรั่งเศสซึ่งเดินทางมาที่หลวงพระบางศตวรรษที่ 19 กล่าวว่าจะน่าเป็นรูปของ เจอราร์ด ฟาน วูสตอฟ Gerard Van Wusthofชาวฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เดินทางมาถึงอาณาจักรล้านช้างเมื่อปี พ.ศ 2184 ในสมัยพระเจ้าสุริยะวงศาธรรมมิกราช แต่นักวิชาการฝ่ายทางลาวเชื่อว่าวัดนี้สร้างในสมัยที่อาณาหลวงพระบางเป็นเมืองลาด(ประเทศราช)ของสยามตรงกับมสัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งศิลปะต่างๆ ในลาวได้รับ อิทธพลจากสกุลช่างฝ่ายไทยไปไม่น้อย เช่น ตาม ระเบียงสิมที่ประดับเครื่องเคลือบจีน เชิงบันไดประดับตุ๊กตา สิงห์แบบสิงโตจีน ตามอย่างวัดไทยในสมัยรัชกาลที่ 3
-วัดหนองสีคูนเมือง วัดหนอง วัดหนองสีคูนเมือง อยู่ที่บ้านวัดหนอง แยะจากถนนสีสะสว่างตรงด้านข้างของโรงแรมวิลล่าสันติ เดิมชื่อ วัดสีคูนเมือง สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ 2272 เป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าองค์แสน พระพุทธรู้ที่สำคัญของเมือง ที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องจากมีน้ำหนัก 1แสน ซึ่งประมาณ 120 กิโลกรัม พระเจ้าองคืแสนเป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบเชียงแสนตามแม่น้ำโขงมาแต่เชียงแสน แลมาขึ้นที่เมืองหลวงพระบาง ชาวหลวงพระบางเชื่อถือว่าพระเจ้าองค์แสนมีความศักดิ์สิทธิ์มาก เนื้องจากในปี พ.ศ 2317 ได้เกิดเหตุไฟไหม้สิมจนหมดสิ้น แต่องค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นทองสำริดมิได้ไหม้ไปด้วย ชาวบ้านมาบนบานของสิ่งต่างๆจากพระพุทธรูปองค์นี้เสมอ ในปี พ.ศ 2348ชาวบ้านได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่และได้รวมฟื้นที่หนองน้ำใกล้ๆเข้ามาในเขตพัทธสิมาด้วย จึงเรียกชื่อใหม่ว่า วัดหนอง หรือ วัดหนองสีคูนเมืองวัดหนองได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ที่เป็นเชื้อพระวงค์เก่า จึงมีความใหญ่โตโอ่อ่า สิมที่เห็นในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ด้วยรุปแบบศิลปะเวียงจันทน์ ซึ่งชาวบ้านศรัธาบูรณะขึ้นในปี พ.ศ 2507 บานประตูหน้าต่างไม้แกะสลักมีความงดงามวิจิตรไม่น้อย ฝีมือสกุลช่างเพี้ยตัน วัดแสนสุขาราม ชาวหลวงพระบางมักเรียกว่าสั้นๆ ว่า วัดแสน อยู่บนถนนสีสะหว่างวงบนเส้นทางไปวัดเชียงทอง สร้างในปี พ.ศ2261สมัยพระเจ้ากิ่งกิดสะราช ถือว่าเป็นสถานที่เก่าแก่อันเป็นศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของหลวงพระบาง วัดนี้บรูณะมาหลายครั้ง ครั้งล่าสุดเป็นครั้งที่บูรณะครั้งใหญ่ มีการประดับดอกดวงด้วยมุกประดับทองคำที่สวยสดงดงามตามระเบียงและพัทธสีมา สิมของวัดแสนตกแต่งลวดลายพอกคำอย่างวิจิตร ตัวสิมเป็นศิลปะหลวงพระบางตอนกลางศตวรรษที่ 20 สังเกตเสาแปดเหลี่ยมและยอดเสารูปกลับบ้ว ด้านนอกสิมเป็นโรงเรือแข่งหรือซ่วงซึ่งมีอายุที่เก่าแก่ที่สุดของหลวงพระบาง และยังใช้แข่งขันในงานบุญเดือน 9 อยู่จนปัจจุบันติดกับโรงเก็บเรือแข่งเป็นหอพระพุทธรูปยืนปางเปิดโลก แบบเดียวกับพระพุทธรูปปางเปิดโลก แบบเดียวกับพระอัฏฐารสที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย คนหลวงพระบางเรียก พระพุทธว่า พระเจ้า ๑๘สอก เนื่องจากความสูง ๑๘ศอก วัดศีรี ตั้งอยู่เลยวัดพระแสนไปทางวัดเชียงทอง สร้างในปี พ.ศ 2316 โดยกลุ่มชนชาวพวน เพื่ออุทิศให้กับทหารพวนที่ร่วมรบในสงครามระหว่างพม่าและล้านช้าง สิมที่สร้างใหม่จะเห็นว่ามีลักษณะไปทางสถาปัตยกรมมแบบตะวันตก มีความแปลกแตกต่างจากอื่นๆไปหลวงพระบาง -วัดเชียงทอง สุดยอดแห่งสถาปัตยกรรมล้านนา วัเชียงทองสร้างขึ้นระหว่างปี พ .ศ 2102-2103 ในรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ถือเป็นวัดซึ่งมีความโด่นเด่น
|
|||||||
![]() |