ประวัติศาสตร์

ภูมิประเทศ

ภูมิอากาศ

สถานที่ท่องเที่ยว






























ประวัติศาสตร์
นครเซี่ยงไฮ้เดิมเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง ต่อมาได้จัดตั้งเป็นตำบลเซี่ยงไฮ้ เมื่อปี ค.ศ. 1267 ซึ่งขณะนั้นมีพื้นที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอหัวถิง (คือเขตซงเจียงในปัจจุบัน) ต่อมาปี ค.ศ. 1292 ทางการจีนได้แยกตำบลเซี่ยงไฮ้ออกมาจากอำเภอหังถิง และจัดตั้งเป็นอำเภอเซี่ยงไฮ้ ภายหลังได้จัดตั้งเป็นเมืองเซี่ยงไฮ้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1843 ต่อมาด้วยทำเลทางภูมิศาสตร์ที่เซี่ยงไฮ้มีลำคลองและทะเลสาบที่เชื่อมต่อการ คมนาคม ทำให้เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองท่าเปิด และเริ่มมีประเทศต่างๆ เข้ามาติดต่อค้าขาย และรุ่งเรืองมากในช่วงทศวรรษที่ 1930 นอกจากนี้ ผลจากการที่ประเทศตะวันตก ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส เข้ามาเช่าพื้นที่หลายแห่งของเซี่ยงไฮ้ ทำให้ เซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองท่าการค้านานาชาติที่สำคัญ อีกทั้งอาคารและสถาปัตยกรรมต่างๆ ของนครเซี่ยงไฮ้ได้รับอิทธิพลจากรูปแบบตะวันตก และมีลวดลายสวยงามตามแบบยุโรป จนได้รับการขนานนามว่าเป็นนครปารีสแห่งตะวันออกในปัจจุบัน

ผู้นำ คณะผู้บริหารเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้และโครงสร้างเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้

ชื่อ นายหยู เจิ้งเซิง (Yu Zhengsheng)
ตำแหน่ง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำนครเซี่ยงไฮ้
เข้ารับตำแหน่งเมื่อ เดือนตุลาคม ปีค.ศ. 2007
วันเกิด เดือนเมษายน ปีค.ศ. 1945
ภูมิลำเนาเดิม มณฑลเจ้อเจียง
เคยดำรงตำแหน่งกรรมการประจำของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์มณฑลซานตง เมื่อปีค.ศ. 1992-1997 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มณฑลหูเป่ย เมื่อปีค.ศ. 2001-2007 อีกทั้งเคยดำรงตำแหน่งประธานสภาประชาชนแห่งมณฑลหูเป่ย เมื่อปีค.ศ. 2001-2003 ปัจจุบันนอกจากดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนนครเซี่ยงไฮ้แล้ว ยังดำรงตำแหน่งกรรมการประจำของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์นครเซี่ยงไฮ้อีก ด้วย

ชื่อ นายหาน เจิ้ง (Han Zheng)
ตำแหน่ง นายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้
และรองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำนครเซี่ยงไฮ้
เข้ารับตำแหน่งเมื่อ เดือนมกราคม ปีค.ศ. 2008 (ต่อจากวาระเดิม)
วันเกิด ปีค.ศ. 1954
ภูมิลำเนาเดิม มณฑลเจ้อเจียง
เคยดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ เมื่อปีค.ศ. 1998 ต่อมาดำรง ตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการประจำพรรคคอมมิวนิสต์นครเซี่ยงไฮ้ ในปีค.ศ. 2002 และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้เป็นครั้งแรกในปี 2003 อีกทั้งได้รับเลือกให้เป็นรองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำนครเซี่ยงไฮ้ เมื่อปีค.ศ. 2007

ชื่อ นายเสิ่น เสี่ยวหมิง (Shen Xiaoming)
ตำแหน่ง รองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้
เข้ารับตำแหน่งเมื่อ เดือนมกราคม ปีค.ศ. 2008
วันเกิด เดือนเมษายน ปีค.ศ. 1963
ภูมิลำเนาเดิม มณฑลเจ้อเจียง
เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในงานด้านการศึกษาและการแพทย์ของนครเซี่ยงไฮ้ หลาย ตำแหน่ง โดยเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลซิ นหัว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง รองเลขาธิการคณะทำงานด้านศึกษาวิทยาศาสตร์นครเซี่ยงไฮ้ และหัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านการศึกษานครเซี่ยงไฮ้ ปัจจุบันทำหน้าที่กำกับดูแลงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การศึกษา สาธารณสุข วัฒนธรรม การกระจายเสียงและการข่าว

ชื่อ นางจ้าว เหวิน (Zhao Wen)
ตำแหน่ง รองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้
เข้ารับตำแหน่งเมื่อ เดือนมกราคม ปี 2008
วันเกิด เดือนพฤศจิกายน ปี 1956
ภูมิลำเนาเดิม มณฑลอันฮุย
มีประสบการณ์ทำงานสำคัญด้านการศึกษาและการเมือง โดยเคยเป็นรองผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยถงจี้และหัวหน้าสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ ด้านการเมืองเคยดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการเขตหนานฮุ่ย และรองเลขาธิการสภาประชาชนนครเซี่ยงไฮ้ ปัจจุบันทำหน้าที่กำกับดูแลงานด้านการกีฬา ท่องเที่ยว ทรัพย์สินทางปัญญา ประชากรและการวางแผนครอบครัว

ชื่อ นายหยาง สง (Yang Xiong)
ตำแหน่ง รองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ และกรรมการประจำของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์
นครเซี่ยงไฮ้
เข้ารับตำแหน่งเมื่อ เดือนมกราคม ปีค.ศ. 2008 (ต่อจากวาระเดิม)
วันเกิด เดือนพฤศจิกายน ปีค.ศ. 1953
ภูมิลำเนาเดิม มณฑลเจ้อเจียง
เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการรัฐบาลนครเซี่ยงไฮ้เมื่อปีค.ศ. 2001 ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นรองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2003 และรับตำแหน่งดังกล่าวต่ออีกวาระหนึ่งในปีค.ศ. 2008 นอกจากนี้ ยังดำรงตำแหน่งกรรมการประจำของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์นครเซี่ยงไฮ้ตั้ง แต่ปีค.ศ. 2007 ถึงปัจจุบัน ปัจจุบันกำกับดูแลงานด้านการพัฒนาและปฏิรูป การวางแผน การควบคุมประชากร สารสนเทศ การเตรียมงาน World Expo 2010 สถิติ ราคาสินค้า การท่าเรือ และความมั่นคงของสังคม 

ชื่อ นายถู กวงส้าว (Tu Guangshao)
ตำแหน่ง รองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ และกรรมการประจำของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์
นครเซี่ยงไฮ้
เข้ารับตำแหน่งเมื่อ เดือนธันวาคม ปีค.ศ. 2007
วันเกิด เดือนมกราคม ปีค.ศ. 1959
ภูมิลำเนาเดิม มณฑลหูเป่ย
เคยดำรงตำแหน่งสำคัญในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ โดยดำรง ตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ กรรมการและเลขาธิการของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์แห่งประเทศจีน ในปีค.ศ. 1997 ต่อมาดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์แห่งประเทศจีน ในปีค.ศ. 2002 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ และกรรมการประจำของคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์นครเซี่ยงไฮ้ ทำหน้ากำกับดูแลงานด้านการเงิน งานบุคลากร ฝ่ายตรวจสอบ และประสานงานกับหน่วยงานที่ดูแลด้านการคลัง และด้านภาษี

ชื่อ นายถัง เติ้งเจี๋ย (Tang Dengjie)
ตำแหน่ง รองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้
เข้ารับตำแหน่งเมื่อ เดือนมกราคม ปีค.ศ. 2008
วันเกิด เดือนมิถุนายน ปีค.ศ. 1964
ภูมิลำเนาเดิม มณฑลเจียงซู
เคยดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัท Shanghai Automotive Industry Corporation (Group) ประธานบริษัทและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำบริษัท Shanghai Electric (Group) รองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ฝ่ายงานอุตสาหกรรมนครเซี่ยงไฮ้ ต่อมาในปีค.ศ. 2003 ได้รับเลือกให้เป็นรองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้เป็นครั้งแรก และกลับเข้าดำรงตำแหน่งต่ออีกวาระหนึ่งในปีค.ศ. 2008 ปัจจุบันทำหน้าที่กำกับดูแลงานด้านการต่างประเทศ เศรษฐกิจการค้าต่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ กิจการเกี่ยวกับฮ่องกง ไต้หวัน และมาเก๊า ศาสนา และชาวจีนโพ้นทะเล 

ชื่อ นายหู เหยียนจ้าว (Hu Yanzhao)
ตำแหน่ง รองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้
เข้ารับตำแหน่งเมื่อ เดือนมกราคม ปีค.ศ. 2008
วันเกิด เดือนเมษายน ปีค.ศ. 1951
ภูมิลำเนาเดิม มณฑลเจ้อเจียง
เคยดำรงตำแหน่งรองเลขานุการ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยประจำพรรคคอมมิวนิสต์นครเซี่ยงไฮ้ ในปีค.ศ. 2003 และได้รับเลือกให้เป็นรองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ครั้งแรก เมื่อปีค.ศ. 2004 และกลับเข้าดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่งในปีค.ศ. 2008 

ชื่อ นายอ้าย เป่าจวิน (Ai Baojun)
ตำแหน่ง รองนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้
เข้ารับตำแหน่งเมื่อ เดือนธันวาคม ปีค.ศ. 2007
วันเกิด เดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 1960
ภูมิลำเนาเดิม มณฑลเหลียวหนิง
เคยดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการใหญ่บริษัท Shanghai Baosteel Group ตั้งแต่ปีค.ศ. 1998 ถึงปีค.ศ. 2007 ปัจจุบันทำหน้าที่กำกับดูแลงานด้านอุตสาหกรรม การพาณิชย์ ทรัพย์สินของเทศบาล การผลิตไฟฟ้า และบริการด้านสังคม

การปกครอง
นครเซี่ยงไฮ้ปกครองโดยเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ซึ่งขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง และมีนายกเทศมนตรีนครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Mayor) เป็นผู้บริหารสูงสุด มีฐานะเทียบเท่ากับผู้ว่าการมณฑล เซี่ยงไฮ้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 เขต 1 เซี่ยงไฮ้แบ่งเป็น 4 พื้นที่หลัก ได้แก่ 
ผู่ซี (Puxi) ผู่ตง (Pudong) เมืองรอบนอก และเกาะฉงหมิง (Chongming)

  • ผู่ซี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำหวงผู่ เป็นศูนย์กลางการค้าแห่งแรกของนครเซี่ยงไฮ้ ก่อนย้ายบางส่วนไปอยู่ผู่ตง ผู่ซีครอบคลุมเขตการปกครอง 9 เขต ได้แก่ เขตหวงผู่ เขตหลูวาน เขตสวีฮุ่ย เขตฉางหนิง เขตจิ้งอัน เขตผู่ถัว เขตจ๋าเป่ย เขตหงโข่ว
    และเขตหยางผู่
  • เขตผู่ตง ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำหวงผู่ เรียกว่า "เขตใหม่ผู่ตง" (Pudong new area) เป็นศูนย์กลางทางการเงินและธุรกิจของเซี่ยงไฮ้และจีน
  • เมืองบริเวณรอบนอกอีก 7 เขต ได้แก่ เขตเปาซาน เขตหมิ่นหาง เขตเจียติง เขตจินซาน เขตซงเจียง เขตชิงผู่ และเขตเฟิ่งเสียน
  • เกาะฉงหมิง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเซี่ยงไฮ้บริเวณปากแม่น้ำฉางเจียง มีพื้นที่รวม 1,200 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์

การคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของนครเซี่ยงไฮ้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการขนส่งทางน้ำ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลเซี่ยงไฮ้ที่ต้องการพัฒนาให้เซี่ยงไฮ้เป็น ศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางน้ำ โดยในปี 2550 ท่าเรือเซี่ยงไฮ้มีปริมาณการลำเลียงขนส่งสินค้าสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 3 มีปริมาณการลำเลียงขนส่งสินค้าจำนวน 560 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 นอกจากนี้ ยังมีปริมาณการลำเลียงขนส่งตู้คอนเทนเนอร์สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสิงคโปร์ โดยมีปริมาณการลำเลียงขนส่ง จำนวน 26.152 ล้านตู้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 การเพิ่มขึ้นของปริมาณขนส่งสินค้าของเซี่ยงไฮ้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปิดใช้ท่าเรือหยางซาน ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ของเซี่ยงไฮ้ โดยในปี 2550 ท่าเรือดังกล่าวมีปริมาณขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ขนาดมาตรฐานจำนวน 6.108 ล้านตู้
นอกจากการขนส่งทางน้ำแล้ว ในปี 2550 เซี่ยงไฮ้มีการขนส่งสินค้าทางรถยนต์สูงเป็นอันดับรองลงมา โดยมีปริมาณขนส่งสินค้าทางรถยนต์ทั้งสิ้น 356.34 ล้านตัน รองลงมาเป็นการขนส่งทางรถไฟจำนวน 11.22 ล้านตัน

การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของนครเซี่ยงไฮ้

สาธารณรัฐประชาชนจีนมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกในองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ในปี 2001 ทำให้เศรษฐกิจของประเทศจีนเป็นที่น่าจับตามองและเป็นประเทศที่น่าลงทุนทาง ธุรกิจในหลายๆด้าน แต่ระบบโลจิสติกส์ของประเทศจีนเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดในการพัฒนาทาง เศรษฐกิจ ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงพยายามยกระดับขีดความสามารถทางโลจิสติกส์จีนให้ทัดเทียม กับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโลจิสติกส์ ทั่วโลก โดยจัดอันดับให้ประเทศจีนมีอัตราการเจริญเติบโตทางธุรกิจโลจิสติกส์ทิ้งห่าง ประเทศอินเดียและประเทศรัสเซีย ซึ่งสถาบันบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์จีนคาดว่าภายในปี 2007 ประเทศจีนจะมีมูลค่าตลาดโลจิสติกส์สูงถึง 73.9 ล้านล้านหยวน ซึ่งเติบโตจากปี 2006 ถึงร้อยละ 26 และในขณะเดียวกันรายงานจากสมาคมผู้เชี่ยวชาญด้านห่วงโซ่อุปทานของประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ระบุว่า มีธุรกิจถึงร้อยละ 53 ที่แสดงความประสงค์ที่จะเข้ามาลงทุนทางด้านธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศจีน ในขณะที่มีธุรกิจที่ประสงค์จะลงทุนที่ประเทศอินเดียและรัสเซียร้อยละ 35 และร้อยละ 23 ตามลำดับ จากตัวเลขดังกล่าวทำให้ประเทศจีนเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งทางด้านการลงทุนทาง ธุรกิจที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์ของวงการธุรกิจโลจิสติกส์โลก การประสบผลสำเร็จดังกล่าวนั้นมาจากการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่องและ จริงจังของจีน ซึ่งเห็นได้ชัดจากนโยบายทางด้านการคมนาคมขนส่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ 5 ปี ฉบับที่ 11 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มุ่งเน้นให้นครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของจีนดังจะเห็นได้จาก การมี นครเซี่ยงไฮ้อยู่ในทุกแผนของการก่อสร้างโครงการคมนาคมต่างๆ กล่าวคือ

  1. ทางรถไฟจะมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟสำหรับขนส่งผู้โดยสารในเส้นทาง ปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ และทางหลวงเซี่ยงไฮ้-หนิงโป
  2. จะมีโครงการก่อสร้างทางด่วนในเส้นทางสายปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ เซี่ยงไฮ้-ซีอาน เซี่ยงไฮ้-ฉงชิ่ง และเซี่ยงไฮ้-คุนหมิง
  3. ทางน้ำจะมีโครงการก่อสร้างระบบการขนส่งต่อสินค้า (Transshipment Port System) และระบบการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์สำหรับสินค้าประเภทน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และแร่เหล็กนำเข้า รวมทั้งถ่านหินในเซี่ยงไฮ้ และโครงการบูรณะเส้นทางเดินเรือน้ำลึกปากแม่น้ำฉางเจียง(แยงซีเกียง) ระยะที่ 3 ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการยกระดับขีดความสามารถทางระบบโลจิสติกส์ของเซี่ยงไฮ้ โดยตรง
  4. ทางอากาศจะมีโครงการขยายการก่อสร้างสนามบินในนครเซี่ยงไฮ้ เซี่ยงไฮ้ยังมีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์คือ ส่งเสริมเทคนิคการบริหารจัดการทางด้านโลจิสติกส์สมัยใหม่ให้เป็นที่แพร่หลาย ผลักดันระบบโลจิสติกส์สมัยใหม่ในองค์กร ผลักดันกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดซื้อ การผลิต การจัดจำหน่าย และการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ในองค์กรให้มีการดำเนินงานเชื่อมโยงกันอย่าง เป็นระบบ พัฒนาบริษัทให้บริการโลจิสติกส์ที่เป็นมืออาชีพ รวมทั้ง Third Party Logistics (TPL) สร้างระบบโลจิสติกส์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ทางด้านโลจิสติกส์มาใช้ ส่งเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศในธุรกิจโลจิสติกส์ สร้างศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ รวมทั้งพัฒนาศูนย์กลางโลจิสติกส์ในภูมิภาคต่างๆซึ่งก็รวมถึงนครเซี่ยงไฮ้ เป็นสำคัญ

ศักยภาพทางระบบโลจิสติกส์ของเซี่ยงไฮ้ยังถูกเติมเต็มจากโครงการพัฒนาเขตสาม เหลี่ยมเศรษฐกิจแยงซี ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 100,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 1% ของพื้นที่ทั่วประเทศจีน มีประชากรโดยรวมประมาณ 72.4 ล้านคนหรือคิดเป็น 6% ของจำนวนประชากรจีนทั้งหมด สภาพภูมิศาสตร์ตั้งอยู่บนปากแม่น้ำสายหลักแยงซีเกียง หันหน้าออกสู่ทะเล โดยมีเมืองที่อยู่ในเขตดังกล่าว 16 เมือง ได้แก่ เมืองเซี่ยงไฮ้ ซูโจว อู๋ซี ฉางโจว หนานจิง(นานกิง) หนานทง เจิ้นเจียง หางโจว เจียซิง หนิงโป เส้าซิง โจวซาน หูโจว และไท่โจว แผนการพัฒนาภายใต้เขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจแยงซีกำหนดให้เมืองดังกล่าวเป็นเขต เศรษฐกิจอุตสาหกรรมทางตะวันตกเฉียงเหนือโดยมีนครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลาง และจะพัฒนานครเซี่ยงไฮ้ให้เป็นเมืองสากลและเป็นประตูทางเชื่อมสู่นานาชาติ ซึ่งมีแผนการพัฒนาภาคคมนาคมโดยดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายคมนาคมเชื่อมต่อ กลุ่มเมืองในเขตฉางซันเจี่ยว (ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฉางเจียงหรือปากแม่น้ำแยงซีเกียง) เพื่อทำให้สามารถเดินทางจากเซี่ยงไฮ้ไปสู่เมืองต่างๆ ได้ภายในเวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งจากปลายปี 2002 เป็นต้นมา ได้เริ่มก่อสร้างสะพานขนาดใหญ่ข้ามปากแม่น้ำแยงซีเกียง สะพานข้ามทะเลที่อ่าวหางโจว รวมถึงการขยายทางด่วนเป็น 8 ช่องทางเชื่อมระหว่างเซี่ยงไฮ้กับหนิงโป และโครงการสร้างทางด่วนเชื่อมหนิงโป- หางโจว และระหว่างซูโจว-เซี่ยงไฮ้-หางโจว เป็นต้น
เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้วางแผนที่จะใช้งาน Shanghai World Expo 2010 เป็นเครื่องกระตุ้นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบขนส่งมวลชนให้มีการพัฒนา อย่างสมบูรณ์แบบก่อนปี 2010 ได้แก่

  1. เพิ่มปริมาณรถโดยสารสาธารณะที่ให้บริการทั้งสิ้น 940 สาย จากเดิม 18,000 คัน เป็น 19,750 คัน
  2. เพิ่มปริมาณรถแท็กซี่เป็น 45,000 คัน
  3. เพิ่มการก่อสร้างรถไฟใต้ดินรวม 11 สาย (ณ สิ้นปี 2550 รวม 7 สาย) มีระยะรวมกว่า 400
การขนส่งทางน้ำ
เซี่ยงไฮ้ได้บรรลุถึงการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าอย่างต่อ เนื่อง โดยดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงที่เชื่อมการขนส่งทางบก และทางทะเลเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีท่าเรือเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลาง การขนส่งทางทะเลนานาชาติ เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับท่าเรือสำคัญๆตลอดแนวแม่น้ำแยงซีเกียงภายในประเทศ จีน เช่น ท่าเรือเมืองอู่ฮั่น ท่าเรือนครฉงชิ่ง ท่าเรือเมืองเจียงยิน ท่าเรือเวิ่นโจว ท่าเรือเมืองหนิงโป และท่าเรือเมืองโจวซาน การเลือกท่าเรือของนครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการเดินเรือสินค้า เนื่องจากปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจทางด้านการเดินเรือ และปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งตรงกลางของประเทศ โดยมีมณฑลเจียงซูทางทิศเหนือ และมณฑลเจ้อเจียงทางทิศใต้เป็นมณฑลหลักในการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่สาม เหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียงที่ยาว 763 กิโลเมตร เชื่อมกับทะเลตะวันออกซึ่งกินพื้นที่ทางทะเลขนาด 8,000 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทอดตัวยาว 186 กิโลเมตร และแนวเกาะยาว 577 กิโลเมตร จำนวน 16 เกาะ ซึ่งมีเกาะ Chongming เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศจีนตั้งอยู่ อนึ่งท่าเรือสำคัญในนครเซี่ยงไฮ้มีรายละเอียดดังนี้

1). ท่าเรือน้ำลึกหยางซาน
หลังจากที่ได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกหยาง ซานอยู่ถึง 6 ปี รัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลางสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้อนุมัติการสร้างท่าเรือน้ำลึก หยางซานขึ้นที่เกาะหยางซานใหญ่และหยางซานเล็ก ในช่วงกลางปี 2002 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในระยะสุดท้ายปี 2020 โดยท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลของเซี่ยงไฮ้ทางทิศใต้ 27.5 กิโลเมตร อยู่ในอ่าวหางโจวโดยขึ้นอยู่กับเขตการปกครองของมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งภาครัฐมีความประสงค์ให้เป็นท่าเรือขนาดใหญ่ 18 ตารางกิโลเมตร มีความยาวชายฝั่งตลอดแนวน้ำลึก 22 กิโลเมตร สามารถรองรับเรือบรรทุกตู้สินค้าได้มากกว่า 50 ลำ ในขณะเดียวกันสามารถรองรับเรือดังกล่าวได้ทั้งรุ่นที่ 5 และ 6 (5,000-6,000 TEU) คิดเป็นความสามารถในการรองรับสินค้าต่อปีถึง 25 ล้าน TEU ซึ่งจะทำให้เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดและมีการขนส่งที่หนาแน่นที่สุดในโลก และจะทำให้ร่นระยะเวลาในการขนส่งสินค้าระหว่างสองฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกลดลง จาก 16-17 วัน เหลือเพียง 10 วัน

2). สะพานตงไห่ (Donghai Bridge)

การก่อสร้างโดยการวางรากฐานใต้ทะเลของสะพานแห่งนี้เริ่มและเสร็จสิ้นในปี 2005 สะพานตงไห่มีความยาว 32.5 กิโลเมตรและมีความกว้าง 31.5 เมตร โดยแบ่งเป็น 6 ช่องทางจราจร สามารถเดินเรือผ่านใต้สะพานได้ปีละมากกว่า 5 ล้าน TEU
เมืองใหม่แห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตผู่ตง มีขนาด 150 ตารางไมล์ และอยู่ห่างจากท่าเรือน้ำลึกหยางซาน 30 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองนครเซี่ยงไฮ้ 55 กิโลเมตร ห่างจากสนามบินนานาชาติผู่ตง 30 กิโลเมตร และห่างจากทางด่วนรอบนอกเซี่ยงไฮ้ 10 กิโลเมตร เมืองใหม่แห่งนี้ออกแบบโดยนาย Von Gerkan และ Marg และคณะผู้ร่วมงานซึ่งเป็นสถาปนิกของเมือง Hamburg ประเทศเยอรมนี โดยเนรมิตให้เป็นเมืองที่มีสภาพทันสมัย ซึ่งผสมผสานสถาปัตยกรรมยุโรปเข้ากับความนิยมของคนเซี่ยงไฮ้ อีกทั้งมีคุณลักษณะของเมืองทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยเรียกว่า Harbor New City ซึ่งมีศูนย์กลางเมืองเป็นสระน้ำวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 กิโลเมตร และมีเมืองรายล้อม 3 ชั้น โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าอยู่อาศัยราว 500,000-800,000 คน กล่าวคือ ชั้นแรกจากศูนย์กลางสระน้ำวงกลม เป็นศูนย์กลางการบริหารท่าเรือน้ำลึกที่ทำหน้าที่ให้บริการทางด้านการขนถ่าย สินค้า ทำตลาด shipping ศูนย์โลจิสติกส์ การให้บริการเชิงพาณิชย์และการเงิน แหล่งเศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ทางทะเล และศูนย์อำนวยความสะดวกทางด้านวัฒนธรรม ส่วนชั้นที่สองเป็นสวนสาธารณะและสวนไม้ดอกไม้ประดับ ในขณะที่ชั้นที่สามเป็นสถานที่ที่เตรียมไว้สำหรับเป็นพื้นที่อยู่อาศัย แหล่งที่จับจ่ายใช้สอย ร้านอาหาร สถานพยาบาล และโรงเรียน นอกจากนี้ ในส่วนของพื้นที่นอกเหนือจากแหล่งที่อยู่อาศัย ยังมีการจัดแบ่งโซนพื้นที่ ได้แก่ เช่นโซนอุตสาหกรรม (Industrial Zone) โซนเครื่องจักรหนัก (Heavy Equipment Zone) และ และเขตโลจิสติกส์ใกล้ท่าเรือ (Lingang Logistics Park) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟกลาง ระหว่างคลังสินค้า พื้นที่ขนถ่ายสินค้า และ เขตปลอดภาษี (Free Zone)

3). ท่าเรือไว่เกาเฉียว (Wai Gao Qiao)

โครงการก่อสร้างท่าเรือ Wai Gao Qiao เป็นโครงการที่เริ่มก่อสร้างในปี 1993 เป็นท่าเรือขนาด 1.63 ตารางกิโลเมตร ลึก 13 เมตร และสามารถรองรับเรือขนถ่ายตู้สินค้าได้ 4 ลำ ลำละ 4,000 TEU ในเวลาเดียวกันและการก่อสร้างระยะที่ 6 ได้เสร็จสิ้นในปี 2006 และเปิดใช้ในปี 2007 โดยจะเป็นท่าเรือสำหรับขนส่งรถยนต์ที่มีความสามารถรองรับการขนส่งรถยนต์เข้า ออกได้ 8 แสนคัน และมีที่จอดรถเพื่อรอขนส่งได้ 6 พันคันพร้อมกัน

4). ท่าเรือ Luo Jing

ท่าเรือแห่งนี้มีโครงการที่จะพัฒนาให้เป็นท่า Bulk Cargo อัตโนมัติแห่งแรกของโลก ซึ่งปัจจุบันท่าเรือแห่งนี้เป็นท่าสำหรับขนถ่ายลำเลียงถ่านหิน แร่ ปุ๋ยเคมี และสินค้าอื่นๆ ที่เป็นแบบ Bulk

การขนส่งทางอากาศ
เซี่ยงไฮ้มีเครือข่ายการคมนาคมทางอากาศที่เชื่อมต่อกับทุกๆ เมืองในจีนและทุกๆ เขตการบินพลเรือนของจีน ยกเว้นไต้หวัน นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับอีก 59 ประเทศทั่วโลก มี 31 สายการบินชั้นนำของโลกที่ให้บริการเที่ยวบินไปสู่นครเซี่ยงไฮ้ โดยท่าอากาศยานนานาชาติผู่ตงเป็นท่าอากาศยานหลักเพื่อการโดยสารระหว่าง ประเทศ ส่วนท่าอากาศยานหงเฉียวเป็นท่าอากาศยานรองที่ทำการบินทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศ คาดว่าในปี 2015 สนามบินผู่ตงและสนามบินหงเฉียวจะมีผู้โดยสารใช้บริการถึง 110 ล้านคน และมีสินค้าเข้าออกจำนวน 7 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้นครเซี่ยงไฮ้ได้รับการยกฐานะให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

1). ท่าอากาศยานหงเฉียว (Hong Qiao)

ท่าอากาศยานหงเฉียวได้ทำการขยายสนามบินในปี 2007 โดยการเพิ่มลานบิน 2 ลาน และก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร 2 อาคาร เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารโดยเฉพาะนักท่องเที่ยว 30 ล้านคน และรองรับจำนวนการขนถ่ายสินค้า 1 ล้านตัน อนึ่งทางด้านทิศตะวันตกของสนามบินมีแผนที่จะทำจุดเชื่อมต่อชุมทางคมนาคมทั้ง ทางอากาศ ทางบก และรางบนดิน-ใต้ดิน เพื่อเชื่อมต่อกับดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง

2). ท่าอากาศยานนานาชาติผู่ตง (Pudong International Airport)

ปัจจุบันสนามบินนานาชาติผู่ตงมีพื้นที่ทั้งสิ้น 32 ตารางกิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองนครเซี่ยงไฮ้ 30 กิโลเมตร และห่างจากสนามบินหงเฉียวประมาณ 40 กิโลเมตร มีพื้นที่อาคารผู้โดยสาร 272,000 ตารางเมตร โดยมีจำนวนประตูขึ้นเครื่องบิน 28 ช่องทาง สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ 8 ลำ และเครื่องบินขนาดกลาง 10 ลำ ทำการจอดได้ในเวลาเดียวกัน การก่อสร้างสนามบินดังกล่าวใช้เงินลงทุนประมาณ 13,000 ล้านหยวน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปี และรองรับการขนถ่ายสินค้าได้ถึง 750,000 ตันต่อปี ลานบินที่หนึ่งมีขนาดความยาว 4,000 เมตร กว้าง 60 เมตร สามารถรองรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่เดินทางระยะไกลได้ ส่วนลานบินที่สองมีขนาดความยาว 3,800 เมตร กว้าง 60 เมตร สร้างแล้วเสร็จในปี 2004 ท่าอากาศยานนานาชาติผู่ตงทำการขยายสนามบินเมื่อ 1 ตุลาคม ปีค.ศ. 2006 โดยสร้างถนนเชื่อมเข้าสู่สนามบินทางทิศใต้ เพื่อเชื่อมเข้ากับทางด่วน Shenjiahu ซึ่งเป็นทางที่เชื่อมไปยังมณฑลเจ้อเจียง และเชื่อมไปยังท่าเรือน้ำลึกหยางซาน การมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกดังกล่าวทำให้บริษัทขนส่งสินค้ารายใหญ่แห่งหนึ่ง ของโลก UBS ได้เลือกท่าอากาศยานดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าทางอากาศในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้ นครเซี่ยงไฮ้ยังมีแผนในการพัฒนาสนามบินนานาชาติผู่ตงให้มีลานบินระดับ 4-4E จำนวน 5 ลานในอนาคต อีกทั้งมีท่าอาคารเทียบเครื่องบินโดยสารในทิศตะวันออก ตะวันตก และทิศใต้ เป็นรูปตัวยู โดยมีท่าจอดเครื่องบิน 200 ท่า คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2015 โดยจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 80 ล้านคน และรองรับการขนถ่ายสินค้าได้ถึง 5 ล้านตัน

การขนส่งทางบก

นครเซี่ยงไฮ้ได้มีการพัฒนาเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางบกไว้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะการขนส่งด้วยระบบรางรถไฟนครเซี่ยงไฮ้ที่เชื่อมโยงกับทางรถไฟทุกสาย ทั่วประเทศ การขนส่งด้วยระบบถนนเช่น ทางด่วนสายหลักยาว 650 กิโลเมตรเชื่อมต่อนครเซี่ยงไฮ้กับมณฑลเจียงซู เจ้อเจียง และเมืองต่างๆในเขตสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง โดยมีดาวเทียมควบคุมการจราจรทำให้การเดินทางจากนครเซี่ยงไฮ้ไปยังมณฑลอื่นๆ ครอบคลุมเขตสามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงภายใน 4 ชั่วโมง

การขนส่งระบบราง


1). ระบบขนส่งมวลชนรถไฟนครเซี่ยงไฮ้

ในปี 2550 ระบบขนส่งมวลชนระบบรางของนครเซี่ยงไฮ้ขยายเป็น 9 สาย มีระยะทางรวม 262.83 ตร.กม. (รวมระยะทางของรถไฟความเร็วสูง Maglev ระยะทาง 29 ก.ม.) รองรับผู้โดยสารได้เป็นจำนวนสูงถึง 814 ล้านคน โดย 

Metro Line 1 มีระยะทาง 33.89 กิโลเมตร 26 สถานีจาก Xinzhuang ถึงถนนวงแหวนรอบนอก 

Metro Line 2 มีระยะทางทั้งสิ้น 27.03 กิโลเมตรตามทิศตะวันออกสู่ตะวันตกโดยเริ่มจากสนามบินหงเฉียวถึงถนน E.Longdong รวมทั้งสิ้น 17 สถานี 

Metro Line 3 เป็นรถไฟยกระดับสายแรกในประเทศจีนจาก Caohejing ถึง Jiangwan ระยะทางรวม 25 กิโลเมตร มี 19 สถานี 

Metro Line 4 เริ่มจากถนน Damuqiao สิ้นสุดที่ถนน Lancun ระยะทางรวม 22 กิโลเมตร มี 17 สถานี และ 

Metro Line 5 เป็นขบวนรถไฟด่วนเพื่อเชื่อมระหว่างตัวเมืองเริ่มต้นที่สถานี Xinzhuang กับเขตพัฒนา Minhang รวมระยะทางทั้งสิ้น 17 กิโลเมตรโดยแบ่งเป็น 11 สถานี 

Metro Line 6 มีเส้นทางโดยสารตลอดสายอยู่ในเขตของผู่ตง มีระยะทางรวม 33 กิโลเมตร แบ่งเป็น 28 สถานี 

Metro Line 8 มีระยะทางรวม 22.4 กิโลเมตร แบ่งเป็น 21 สถานี และสามารถเดินทางไปยังสถานที่จัดงาน Shanghai World Expo ด้วยเส้นทางนี้

ระบบรถไฟเซี่ยงไฮ้
กรมการรถไฟจีนและเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ร่วมกันสร้างระบบรางรถไฟผู่ตงและเริ่ม เปิดให้บริการเมื่อเดือนธันวาคม 2005 เพื่อเชื่อมระบบขนส่ง สินค้าจากท่าเรือ Lu Chao Gang เขตอุตสาหกรรมเคมีเซี่ยงไฮ้ 
สะพานตงไห่ท่าเรือน้ำลึกหยางซาน และสถานี Cao Jing ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟสายตะวันออกของจีน ระบบรางผู่ตงมีความยาวทั้งสิ้น 117 กิโลเมตร เชื่อมสถานี Ruan Gang ที่เป็นสถานีเชื่อมเส้นทางรถไฟสายใต้ของจีน และเชื่อมสถานี Zhang Miao ที่เป็นสถานีเชื่อมเส้นทางรถไฟสายเหนือของจีน ระบบรถไฟเซี่ยงไฮ้รวมระยะทางครอบคลุม 269.1 กิโลเมตร ขนถ่ายสินค้าได้ปีละ 127.83 ล้านตัน และมีจำนวนผู้โดยสารในปี 2006 จำนวน 431.31 ล้านคน คิดเป็นจำนวนผู้โดยสารโดยเฉลี่ยต่อวัน 110,000 คน

2) รถไฟ Maglev (Magnetic Levitation)

รถไฟความเร็วสูงระบบแม่เหล็กไฟฟ้าสายนี้เป็นรถไฟ Maglev เชิงพาณิชย์สายแรกของโลก และของจีน มีระยะทางรวม 30 กิโลเมตร เริ่มจากสถานี Longyang ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับ Metro Line 2 ถึงสถานีสนามบินนานาชาติผู่ตง รถไฟขบวนนี้ถูกออกแบบให้มีความเร็วสูงสุดที่ 505 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยสามารถใช้ความเร็วในการเดินทาง 430 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ใช้เวลาทั้งสิ้นเพียง 7 นาทีในการเดินทางจากสนามบินนานาชาติผู่ตงถึงตัวเมืองนครเซี่ยงไฮ้

ระบบทางด่วน

ระบบทางด่วนมีระยะทางครอบคลุม 560 กิโลเมตร รองรับการขนถ่ายสินค้าได้ปีละ 327 ล้านตัน และรองรับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการปีละ 24.68 ล้านคน ระบบทางด่วนนี้เชื่อมเมือง 392 เมือง 104 ตำบล และ 17 จังหวัด โดยแบ่งเป็นช่องทางด่วน Hu-Hang, Hu-Ning, Hu-Qing-Ping, Tong-San National และ Hu-Lu

1). ทางด่วน Hu-Qing-Ping

เริ่มจากถนน Zhongchun (ทิศตะวันออก) และสิ้นสุดที่ทางด่วน Zhufeng (ทิศตะวันตก) ระยะทางรวม 28 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างมณฑลเจ้อเจียง เจียงซูและเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ทางด่วนสายนี้ถูกออกแบบให้ใช้ระดับความเร็วอยู่ที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2). ทางด่วนแห่งชาติ Tong-San

เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนที่ทอดตัวทางทิศเหนือจรดทิศใต้ของประเทศจีนตาม พิมพ์เขียวของกระทรวงคมนาคมจีนเพื่อจะเชื่อมเมือง Tongjiang ของมณฑลเฮยหลงเจียง (Heilongjiang) กับเมือง Sanya ของมณฑลไห่หนาน (Hainan) ทางด่วนในส่วนของเซี่ยงไฮ้นี้เริ่มจากเขตจินซาน (Jinshan) ผ่านชิงผู่ (Qingpu), ซงเจียง (Songjiang) และจินซาน (Jinshan) ตามลำดับ ด้วยระยะทางทั้งสิ้น 75 กิโลเมตร โดยควบคุมความเร็วที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

3). ทางด่วน Hu-Lu

เครือข่ายทางยกระดับในนครเซี่ยงไฮ้ประกอบด้วยทางยกระดับวงแหวนรอบใน ทางยกระดับถนนเหนือ-ใต้ และทางยกระดับถนน Yan An ซึ่งทางยกระดับวงแหวนรอบในมีระยะทางทั้งสิ้น 48 กิโลเมตร ประกอบด้วยวงแหวน Zhongshan ที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำ Huangpu ด้วยสะพาน Nanpu และสะพาน Yangpu ทางยกระดับถนนเหนือ-ใต้ตัดผ่านใจกลางเมืองเซี่ยงไฮ้ ผ่านเขต Zhabei, Jing An, Huangpu และ Luwan ตามลำดับ โดยรวมระยะทางทั้งสิ้น 8.45 กิโลเมตร และทางยกระดับถนน Yan An เริ่มจากถนน Zhongshan Dong 1 ทางด้านทิศตะวันออก และบรรจบกับสนามบินหงเฉียวทางด้านทิศตะวันตก ด้วยระยะทางรวมทั้งสิ้น 14.8 กิโลเมตร ซึ่งทางยกระดับถนน Yan An เป็นทางยกระดับที่สามารถเชื่อมต่อกับทางยกระดับทั้งสองตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

ระบบทางยกระดับ

เครือข่ายทางยกระดับในนครเซี่ยงไฮ้ประกอบด้วยทางยกระดับวงแหวนรอบใน ทางยกระดับถนนเหนือ-ใต้ และทางยกระดับถนน Yan An ซึ่งทางยกระดับวงแหวนรอบในมีระยะทางทั้งสิ้น 48 กิโลเมตร ประกอบด้วยวงแหวน Zhongshan ที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำ Huangpu ด้วยสะพาน Nanpu และสะพาน Yangpu ทางยกระดับถนนเหนือ-ใต้ตัดผ่านใจกลางเมืองเซี่ยงไฮ้ ผ่านเขต Zhabei, Jing An, Huangpu และ Luwan ตามลำดับ โดยรวมระยะทางทั้งสิ้น 8.45 กิโลเมตร และทางยกระดับถนน Yan An เริ่มจากถนน Zhongshan Dong 1 ทางด้านทิศตะวันออก และบรรจบกับสนามบินหงเฉียวทางด้านทิศตะวันตก ด้วยระยะทางรวมทั้งสิ้น 14.8 กิโลเมตร ซึ่งทางยกระดับถนน Yan An เป็นทางยกระดับที่สามารถเชื่อมต่อกับทางยกระดับทั้งสองตามที่กล่าวไว้ข้าง ต้น

ระบบสะพาน


1). สะพาน Nanpu

สะพาน Nanpu เป็นสะพานแขวน มีความยาวทั้งสิ้น 8,346 เมตร กว้าง 30.35 เมตร แบ่งเป็น 6 ช่องทางจราจร สูงจากระดับแม่น้ำ Huangpu (under-clearance) 46 เมตร จึงสามารถให้เรือบรรทุกสินค้าขนาด 55,000 ตันรอดผ่านใต้สะพานได้ สะพานแห่งนี้ถูกออกแบบให้ดูเหมือน "มังกรบินข้ามแม่น้ำ Huangpu" เริ่มเปิดใช้เมื่อ 1 ธันวาคม 1991

2). สะพาน Yangpu

สะพาน Yangpu เป็นสะพานแขวนที่ออกแบบให้คู่กับสะพาน Nanpu เพื่อสนับสนุนทางยกระดับวงแหวน รอบในให้มีความสมบูรณ์ในการข้ามแม่น้ำ Huangpu สะพานแห่งนี้มีความยาวทั้งสิ้น 7,658 เมตร มีความกว้าง 602 เมตร เปิดใช้เมื่อเดือนตุลาคม 1993

3). สะพาน Lupu

สะพานแห่งนี้มีความยาวทั้งสิ้น 8.7 กิโลเมตร เริ่มจากถนน Luban บนฝั่งผู่ซี ข้ามแม่น้ำ Huangpuไปยังถนน Jiyang บนฝั่งผู่ตง ลักษณะโครงสร้างสะพานเป็นโครงสร้างเหล็ก มี 6 ช่องทางจราจร มี under-clearance 46 เมตร และมีช่องทางจราจรทางน้ำใต้สะพานกว้าง 340 เมตร สะพานแห่งนี้เริ่มเปิดใช้เมื่อปี 2003

ระบบอุโมงค์

1). อุโมงค์ถนน Dalian

อุโมงค์ Dalian รอดใต้แม่น้ำ Huangpu เริ่มจากถนน Dalian บนฝั่งผู่ซีทางทิศเหนือและไปบรรจบที่ถนน Dongfang บนฝั่ง ผู่ตงทางทิศใต้ อุโมงค์ดังกล่าวมีช่องทางจราจร 4 ช่องทาง ความกว้างช่องทางละ 3.75 เมตร ถูกออกแบบให้จำกัดความเร็วของยานพาหนะที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 2003

2). อุโมงค์ถนน Fuxing ตะวันออก

เริ่มจากสี่แยกถนน Fuxing ตะวันออก กับถนน Guangqi บนฝั่งผู่ซี ไปออกที่ถนน Zhangyang ฝั่งผู่ตง ความยาวทั้งสิ้น 2,785 เมตร ประกอบด้วย 6 ช่องทางจราจร โดยสองช่องทางจราจรชั้นบนมีความกว้าง 3 เมตร ออกแบบสำหรับรถที่มีความสูงห้ามเกิน 2.4 เมตร ส่วนช่องทางจราจรที่ต่ำกว่ามีความกว้าง 3.5 เมตร และ ช่องทางฉุกเฉินมีความกว้าง 2.5 เมตร โดยมีความสูงจำกัดที่ 3.8 เมตร และมีความเร็วจำกัดที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อุโมงค์แห่งนี้เปิดให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 2004

3). อุโมงค์ถนน Xiangyin

เป็นอุโมงค์ที่สร้างเพิ่มเชื่อมต่อกับทางด่วน Shanghai-Jiaxing ทางด้านทิศตะวันตก และเชื่อมต่อกับสี่แยกถนน Handan ตัดกับทางยกระดับวงแหวนรอบกลาง อุโมงค์แห่งนี้มีสองช่องอุโมงค์และแบ่งเป็น 4 ช่องทางจราจร ด้วยจำกัดความเร็วที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เริ่มให้บริการเมื่อปี ค.ศ. 2005
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลัก และโครงการใหญ่ๆของนครเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบันมีจุดประสงค์เพื่อรองรับงาน World Expo 2010 โดยมีการเพิ่มระยะทางรถไฟใต้ดินสายต่างๆจากที่มีอยู่ขณะนี้รวมประมาณ 123 กิโลเมตร ให้เป็นระยะทางกว่า 400 กิโลเมตร ภายในปี 2010 ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าแม่เหล็ก Maglev และรถไฟความเร็วสูง สร้างโรงแรมระดับ 4-5 ดาว โดยเฉพาะบริเวณย่านชานเมืองของเซี่ยงไฮ้ สร้างโครงการขยายสนามบินทั้งที่ Pudong และ Hongqiao ฯลฯ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจของนคร เซี่ยงไฮ้ภายใต้การนำของนายหยู เจิ้งเซิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนแห่งนครเซี่ยงไฮ้คนใหม่ ซึ่งจะต้องดูแลให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลกลาง และแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 11 ต่อไป


โปรแกรมทัวร์เเนะนำ