


ประวัติศาสตร์
ภูมิประเทศ
การปกครอง
สถานที่ท่องเที่ยว




































































|
การแบ่งเขตการปกครอง
มณฑลกวางตุ้งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 21 เมืองหรือจังหวัด 23 เทศมณฑลระดับเมือง 41 เทศมณฑล 54 เขต และ 3 เขตปกครองตนเอง
1. เมืองเฉาโจว (แต้จิ๋ว)
2. เมืองตงก่วน
3. เมืองฝอซาน
4. เมืองกวางโจว
5. เมืองเหอหยวน
6. เมืองฮุ่ยโจว
7. เมืองเจียงเหมิน
8. เมืองเจี๋ยหยาง
9. เมืองเม่าหมิง
10. เมืองเหมยโจว
11. เมืองชิงหย่วน
12. เมืองซั่นโถว (ซัวเถา)
13. เมืองซั่นเหวย
14. เมืองเฉากวน
15. เมืองเซินเจิ้น
16. เมืองหยางเจียง
17. เมืองหยุนฝู
18. เมืองจั้นเจียง
19. เมืองจ้าวชิ่ง
20. เมืองจงซาน
21. เมืองจูไห่
1. เมืองกวางเจา (กวางโจ่ว)
นครกวางเจาออกเสียงเป็นภาษาจีนกลางว่า “กว่างโจว” ออกเสียงตามคนพื้นที่ซึ่งใช้ภาษากวางตุ้งว่า “ก๋องเจ๊า” มีชื่อโบราณว่า “ซุ่ย” ที่แปลว่ารวงข้าวและมีชื่อเล่นว่า “หยางเฉิง” หรือ เมืองแพะ ฝรั่งเรียกเมืองนี้ว่า “แคนตั้น” เป็นเมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง มีเนื้อที่ประมาณ 16,000 ตารางกิโลเมตร เฉพาะเขตตัวเมืองมีเนื้อที่ประมาณ 100 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 8 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าฮ่าน มีชนเผ่าส่วนน้อยประมาณ 10,000 คนเท่านั้น
กวางเจามีชายฝั่งทะเลยาว 90 กิโลเมตร เป็นเมืองเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ย 22 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,700 มิลลิเมตร กวางเจาเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีอายุประมาณ 2,800 ปี มีลักษณะเป็นตัวเมืองตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉินและเป็นท่าเรือสำคัญตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถาง โดยมีการติดต่อซื้อขายเครื่องเทศกับประเทศต่างๆ จนมีการขนานนามเส้นทางเดินเรือดังกล่าวว่า “เส้นทางแห่งความหอม”
หลังปีค.ศ. 1840 กวางเจาเป็นศูนย์บัญชาการสำคัญในการต่อต้านศัตรูทั้งภายในและภายนอกหลายกรณีด้วยกัน เช่น สงครามฝิ่น กบฏซินฮ่าย เป็นต้น
กวางเจาปัจจุบันเป็นเมืองท่าสำคัญในการส่งออกและนำเข้า มีฉายาว่า “หนานต้าเหมิน” หรือ ประตูใหญ่ทางภาคใต้ มีการจัดงานแสดงสินค้าปีละ 2 ครั้ง ตั้งแต่ปีค.ศ. 1957 จนถึงปัจจุบัน
กวางเจาเป็นเมืองใหญ่และทันสมัยมีโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆมากมายผลิตสินค้าส่งออกทั่วโลก เช่น การหลอมโลหะ การผลิตเครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า การแปรรูปอาหาร การทอและงานหัตถกรรมต่างๆ ผลิตผลทางการเกษตรก็จะมีข้าว ผักและผลไม้ต่างๆ เช่น สับปะรด กล้วย ส้ม มะละกอ ท้อ ลิ้นจี่และลำไย และเนื่องจากเป็นเมืองชายทะเล การประมงจึงเป็นอีกอาชีพที่สำคัญของชาวกวางเจา อาหารทะเลส่งออกขายในเมืองต่างๆ มีปริมาณอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศ
ชาวกวางเจารักการค้าขาย มีนิสัยค่อนข้างยโส คนรุ่นเก่าไม่ยอมเรียนและพูดภาษาจีนกลาง จนถูกค่อนแคะโดยชาวต่างเมืองว่า “ไม่กลัวฟ้า ไม่กลัวดิน กลัวคนกวางเจาพูดจีนกลาง” อย่างไรก็ตามหนุ่มสาวชาวกวางเจารุ่นใหม่ที่มีการศึกษา ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเรื่องภาษาอีกต่อไป
ชาวกวางเจาและกลุ่มชาวจีนที่พูดภาษากวางตุ้ง เช่น ชาวฮ่องกงและเซินเจิ้นเป็นชนเผ่าที่พูดหยาบที่สุดในโลก มีคำด่าและคำทักทายเป็นคำเดียวกัน โดยแยกแยะจุดประสงค์ของผู้พูดได้จากน้ำเสียงและอารมณ์ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้กันในหมู่ผู้ชายที่มีการศึกษาค่อนข้างน้อย มีทั้งการโอบกอดด้วยความดีใจและการชกต่อยหลังสิ้นสุดประโยคเดียวกันนี้
ชาวกวางเจามีความพิถีพิพันในการปรุงอาหาร “อาหารจีน” ที่มีชื่อเสียงทั่วโลก หากพูดให้แคบลงควรจะเรียกว่าอาหารกวางตุ้ง โดยส่วนใหญ่มีต้นตำรับมาจากกวางเจา มีอาหารแต้จิ๋วสอดแทรกบ้างบางรายการ
กวางเจาอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,684 กิโลเมตร ใช้เวลาบิน 2 ชั่วโมง 40 นาที การต้อนรับของด่านท่าอากาศยานป๋ายยวิ๋นยังทำได้ไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะการ “ต้อนไล่” ในช่วงขาออก มีการตรวจหนังสือเดินทางซ้ำซ้อนถึง 2 ครั้ง และเปิดด่านช้า จึงเป็นเหตุให้เที่ยวบินล่าช้าเกือบทุกเที่ยวบิน อีกเส้นทางหนึ่งที่จะเดินทางเข้าเมืองกวางเจาได้ คือ การโดยสารรถไฟจากสถานีเกาลูน ขึ้นเหนือเข้าแผ่นดินใหญ่ประมาณ 200 กิโลเมตร โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมงเศษๆ และเนื่องจากมีผลไม้ไทยจำหน่ายในตลาดกวางเจาเป็นจำนวนมาก ทางการต้องรักษาผลประโยชน์ของผู้นำเข้า จึงห้ามบุคคลทั่วไปหอบหิ้วผลไม้เข้าเมืองโดยเด็ดขาด
สถานที่ท่องเที่ยวของกวางเจา ได้แก่ สวนสาธารณะเยี่ยซิ่ว หอระลึกดร.ซุนยัดเซน อนุสาวรีย์ 72 วีรชน วัดไทรหกต้น บ้านตระกูลเฉินและเขาเหลียนฮวา
|