ประวัติศาสตร์

ภูมิประเทศ

การปกครอง 

สถานที่ท่องเที่ยว






























สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองซัวเถา

เกาะมาสือ
เกาะมาสือออกเสียงตามภาษาจีนกลางว่า “มาสวี้” แปลว่า “เกาะแม่” เป็นเกาะศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวจีนทั้งในและต่างประเทศให้ความนับถือ
มาสือเป็นเกาะขนาดเล็กมีเนื้อที่ 0.95 ตารางกิโลเมตร  ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวซัวเถา  เป็นที่ประดิษฐานของเจ้าแม่ทับทิมและเจ้าแม่กวนอิม  น้ำทะเลสองสีอันเกิดจากการผสมของน้ำจากแม่น้ำหานเจียงและน้ำทะเลจีนใต้  เป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นได้จากเก๋งชมทิวทัศน์บนยอดเกาะ  นอกเหนือจากการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์
เราสามารถเดินทางไปเยือนเกาะมาสือได้ด้วยการโดยสารเรือจากฝั่งซัวเถาใช้เวลาประมาณ 20 นาที

ศาลเจ้าไต่ฮงกง
ศาลเจ้าไต่ฮงกงตั้งอยู่บนเชิงเขาเฉียวเหว่ย  อำเภอเหอผิง  ด้านทิศเหนือของเมืองฉาวหยาง  ห่างจากเมืองซัวเถาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปตามทางด่วยซัวเถา – เซินเจิ้น ประมาณ 20 กิโลเมตร
ศาลเจาไต่ฮงกงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ขางชาวจีนทั้งในและต่างประเทศมีเนื้อที่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร  ภายในมีสุสานและศาลเจ้าของหลวงพ่อไต่ฮงกงเป็นจุดสำคัญ  สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ได้ขยายเป็น “เขตทิวทัศน์ไต่ฮงกง” ในปีค.ศ. 1992  มีการสร้างศาลขนาดใหญ่และงดงามที่หน้าสุสาน  มีความยาว 22 เมตร ลึก 16 เมตร สูง 14 เมตร  ประกอบด้วยเสาหินขนาด 2 คน โอบ 16 ต้นด้วยกัน  โดยใช้งบประมาณจากเงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาจากทั่วสารทิศ  พร้อมกับบูรณะซ่อมแซมวัดโบราณหลิงเฉวียน  ซึ่งอยู่ใกล้กันและเป็นสถานที่จำวัดของหลวงพ่อสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง  และได้รับพระราชทานนามจากพระเจ้าจู หยิว เซี่ยว จักรพรรดิองค์ที่ 15 แห่งราชวงศ์หมิง  เป็น “วัดหลิงเฉวียนปกป้องชาติ"” ป้ายชื่อพระราชทานซึ่งเป็นวัตถุโบราณล้ำค่า  ยังคงเก็บรักษาไว้จวบจนปัจจุบัน
นอกจากนี้บริเวณใกล้กันยังมีโรงพยาบาลไต่ฮงกงที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยตามเจตนารมณ์ของหลวงพ่อด้วยแรงศรัทธาของชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋วจากฮ่องกง  และมีหอระลึกไต่ฮงกงที่ได้ทุนก่อสร้างแรกเริ่ม 10 ล้านพยวน  จากมูลนิธิปอเต๊กตึ๊งสาขาประเทศไทย
หลวงพ่อไต่ฮงกงมีชื่อเดิมว่า “หลิน หลิง เอ้อ”  เกิดที่มณฑลฝูเจี้ยน  มีชีวิตในสมัยราชวงศ์ซ่ง  ออกบวชเมื่อครั้งราชสำนักเสื่อมโทรม  หลังจากออกบวชหลวงพ่อได้จาริกไปทุกสารทิศ  ปีค.ศ. 1120  เดินทางเข้าหมู่บ้านหมาวผิง (เหอผิงในปัจจุบัน)  บ้านเมืองขณะนั้นประสบปัญหาข้าวยากหมากแพง  โรคห่าซ้ำเติม  หลวงพ่อได้จัดตั้งสถานที่บูชาเทพเจ้า  เพื่อขอให้คุ้มครองชาวบ้านที่ก้อนหินใหญ่ “ซื่อเหว่ย” หรือหินไต่ฮงกงในปัจจุบันในบริเวณใกล้วัดหลิงเฉวียนพร้อมกับใช้วิชาทางการแพทย์รักษาผู้ป่วย  เป็นผู้นำในการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเลี่ยนเจียงที่มีสายน้ำเชี่ยวกราก  พัดพาชาวบ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก  จึงได้รับความเคารพเลื่อมใสจากชาวบ้านนิมนต์ให้จำวัดที่สัดหลิงเฉวียนต่อไปนับแต่นั้นมา
หลวงพ่อไต่ฮงกงมรณะภาพปี ค.ศ. 1127  ขณะอายุ 88 พรรษา  พระภิกษุรุ่นหลังได้สร้างศาลาตอบแทนบุญคุณเป็นอนุสรณ์เรียกว่า “ปอเต๊กตึ๊ง” รับบริจาคสิ่งของและทรัพย์สินเงินทองเพื่อช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก  อันเป็นจุดเริ่มต้นของมูลนิธิปอเต๊กตึ๊ง  ปัจจุบันมีสาขาทั่วโลกกว่า 200 แห่ง

ศาลเจ้าพ่อเสือเหี่ยงบู่ซัว
เหี่ยงบู่ซัว แปลว่า ภูเขาแห่งเทพเจ้าเหี่ยงบู้  เป็นชื่อภูเขาเล็กๆซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดเยวี๋ยนซานหรือหง่วนซัวหยี่  ตั้งอยู่ในอำเภอเห,กฮง  เมืองซัวบ้วย  กลางทางด่วนระหว่างซัวเถากับเซินเจิ้น  ห่างจากตัวเมืองซัวเถาไปทางด้านตะวันตกประมาณ 150 กิโลเมตร
วัดเยวี๋ยนซานเป็ยวัดพุทธโบราณสร้างขึ้นลนในสมัยราชวงศ์ซ่ง  ตรงกับปี ค.ศ. 1127  ภายในวัดมีทั้งพระพุทธรูปและองค์เจินหวู่  เทพเจ้าประจำทิศเหนือของลัทธิเต๋าที่ชาวจีนโพ้นทะเลรู้จักในนาม “เหี่ยงบู้ไต่ตี่”  ประดิษฐานอยู่ด้วยตามความศรัทธาของชาวจีนที่กราบไหว้สิ่งศ้กดิ์สิทธิ์ทุกองค์ในสากลโลก
ป้ายสลักอักษรต่างๆ กว่า 40 แผ่น  ภายในโบสถ์และวิหารเป็นโบราณวัตถุที่ประเมินค่าไม่ได้  ส่วนใหญ่เป็นคำขวัญของผู้ใหญ่และผู้มีชื่อเสียงในสมัยโบราณ เช่น จักรพรรดิถงจื้อแห่งราชวงศ์ชิง  ที่เล่าลือกันว่าแท้จริงแล้วเป็นลายพระหัตถ์แห่งซูสีไทเฮา  และวีรบุรุษหลิน เจ๋อ สวี ผู้นำสงครามฝิ่นเป็นต้น  องค์เทพเหี่ยงบู้ไต่ตี่หรือเหี่ยงเทียนเสี่ยงตี่  เป็นเทพเจ้าอันทรงพลานิสงฆ์ด้านเมตตาคุณ  คุ้มครองและป้องกันภัยส่งเสริมด้านการค้าให้เจริญรุ่งเรืองประดิษฐานภายในมุมเล็กๆ ของวัด  แต่กลับเป็นจุดที่มีการเซ่นไหว้มากที่สุดและเป็นจุดหมายสำคัญของผู้ศรัทธาชาวจีนทั่วทุกสารทิศ  แต่ยกเว้นคนอำเภอเหล็กฮงเอง  เหตุที่ชาวเหล็กฮงไม่ไหว้ “เหี่ยวบู้ไต้ตี่” เพราะน้อยใจว่าท่านช่วยแต่คนไกลคนอยู่ใกล้ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือให้ร่ำรวย  โดยลืมไปว่าเงินทำบุญนับล้านๆ หยวนในแต่ละปี  มีส่วนพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรือง
บริเวณหน้าวัดมีโรงละครโบราณ  เป็นสิ่งก่อสร้างแบบราชวงศ์หมิงหลังวัดมีเจดีย์ฮกแซที่สร้างทับก้อนหินขนาดใหญ่  เป็นเจดีย์เก่าแก่ที่สร้างในสมัยราชวงศ์หมิง  ตรงกับปีค.ศ. 1578  โดยก่อด้วยดินเหนียว  ต่อมาในปีค.ศ. 1981  เป็นเจดีย์สามชั้นทรงแปดเหลี่ยมความสูง 18.6 เมตร  ภายในมีบันไดหอยโข่ง  สามารถเห็นทิวทัศน์ทะเลจีนใต้ได้จากชั้นที่ 3  รอบๆ วัดมีหินก้อนน้อยใหญ่ที่สลักชื่อตามจินตานาการเพิ่มความงดงามเรียงรายสลับกับต้นไม้ร่มรื่นและเก๋งชมทิวทัศน์  ทำให้เหี่ยงบู่ซัวมองดูคล้ายสวนสาธารณะมากกว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  และชาวเหล็กฮงใช้สถานที่นี้ในฐานะสวนพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น

เมืองซัวเถา
            เมืองแต้จิ๋วออกเสียงอย่างถูกต้องว่า “เตวี่ยจิว” ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “ฉางโจว” อยู่ห่างจากเมืองซัวเถาไปทางเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร  แม่น้ำหานเจียงที่ไหลผ่านกลางเมือง  มีน้ำขึ้น – ลงวันละ 2 ครั้ง  จึงตั้งชื่อเมืองตามปรากฏการณ์พิเศษนี้ว่า “ดินแดนน้ำขึ้น” หรือ “ฉาวโจว” 
“เตวี่ยจิว” กับ “เตวี่ยอาน” เคยเป็นอำเภอที่ขึ้นต่อเมืองซัวเถา  ได้รวมตัวกันตั้งเป็นเมืองในปีค.ศ. 1983  มีเนื้อที่รวม 1,385 ตารางกิโลเมตร  ประชากรประมาณ 1.3 ล้านคน  เมืองแต้จิ๋วเป็นเมืองวัฒนธรรมโบราณเป็นต้นกำเนิดของ “วัฒนธรรมจีนโพ้นทะเล” แห่งสำคัญอีกแห่ง  ที่ต้อนรับการกลับบ้านของชาวจีนทั่วโลกด้วยตึกรามบ้านช่องแบบโบราณที่บางแห่งมีประวัตินับพันปีอย่างไม่เปลี่ยนแปลง

สถานที่ท่องเที่ยวนเมืองแต้จิ๋ว
สะพานเซียงจื่อ
สะพานเซียงจื่อเป็นสะพานโบราณข้ามแม่น้ำหานเจียง  มีชื่ออีกชื่อว่าสะพานกว่างจี้  ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของตัวเมืองแต้จิ๋ว  เริ่มสร้างในสมัยราชวงศ์ซ่งตรงกับปี ค.ศ. 1170  โดยใช้เวลาสร้างยาวนานถึง 57 ปี  มีวคามยาว 515 เมตร ช่วงกลางสะพานซึ่งเป็นช่วงที่กว้างที่สุดมีความกว้างประมาณ 100 เมตร  เป็นสะพานแห่งแรกของเมืองจีนที่เปิดปิดได้
สะพานเซียงจื่อได้รับการบูรณะมาตลอดทุกสมัย  ปัจจุบันจึงยังคงใช้การได้ดีเป็นจุดข้ามแม่น้ำหานเจียงสำคัญที่ชาวแต้จิ๋วใช้สัญจรระหว่างสองฝั่ง

ศาลหานเหวินกง
            ศาลหานเหวินกงตั้งอยู่บนเชิงเขาหานซานฝั่งตะวันออกของแม่น้ำหานเจียงชานเมืองแต้จิ๋ว  เป็นอนุสรณ์สถานแห่ง “หานยวี่”  ข้าราชการและนักวิชาการและนักวิชาการสมัยราชวงศ์ถาง  สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ซ่งตรงกับปีค.ศ. 1189  และสร้างใหม่แทนของเก่าที่ผุพังลงใยสมัยราชวงศ์ชิง  ตรงกับปีค.ศ. 1680
ศาลหานเหวินกงเป็นศาลเล็กๆ แวดล้อมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่  ภายในศาลมีรูปปั้นท่านหานยวี่ในท่านั่ง  ความสูง 2.78 เมตร  มีผู้รับใช้สูง 2.15 เมตรข้างละคน  ปั้นขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1984  ผนังด้านในของตัวศาลมีป้ายสดุดีจากผู้มีชื่อเสียงในยุคต่อๆมา 36 แผ่นป้าย  ด้านซ้ายของศาลมีระเบียงยาวที่สร้างขึ้นใหม่ในปีค.ศ. 1991  มีความยาว 89 เมตร กว้าง 4.4 เมตร มีผนังด้านในเพียงด้านเดียว  มีป้ายหินเขียนคำสดุดีจากบุคคลสำคัญในยุคปัจจุบันฝังบนผนังตลอดแนว
หานยวี่มีชีวิตอยู่ระหว่างปีค.ศ. 768 ถึง 824 ในแผ่นดินราชวงศ์ถาง เป็นชาวมณฑลเหอหนาน  เข้าสอบเป็นข้าราชการเมื่ออายุ 19 ปีที่นครฉางอานหรือซีอานในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นนครหลวงในสมัยนั้น  แต่สอบได้เมื่ออายุ 24 ปี  ในการสอบครั้งที่ 4 ได้เป็นผู้ตรวจราชการและนักวิชาการประจำนครหลวงเมื่อปี ค.ศ. 803
ระหว่างรับราชการหานยวี่ได้ต่อต้านการจัดเก็บภาษีอย่างไม่เป็นธรรมเรียกร้องให้ทางการแก้ไข  สร้างความไม่พอใจแก่ผู้มีอำนาจ  จึงถูกย้ายไปประจำที่อำเภอหยางซาน  มณฑลกวางตุ้ง  จวบจนปี ค.ศ. 806  ราชวงศ์ถางได้เปลี่ยนรัชกาลใหม่จึงได้ถูกเรียกตัวกลับนครหลวงอีกครั้ง
ปี ค.ศ. 819  หานยวี่ได้ต่อต้านการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์จึงถูกสั่งย้ายไปเมืองแต้จิ๋วเป็นเวลา 8 เดือน หลังจากนั้นถูกย้ายไปยังเมืองเยวี๋ยนโจว  ตอ่มาปีค.ศ. 821 ราชวงศ์ถางได้เปลี่ยนรัชกาลใหม่อีกครั้ง  หานยวี่ถูกเรียกตัวกลับนครหลวง  รับราชการจนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 824 ที่นครฉางอาน  ได้รับพระราชทานนามว่า “เหวิน” ซึ่งแปลว่า ภาษาหรืออักษร คำว่า “กง” แปลว่า ปู่หรือท่าน ชาวบ้านเติมให้ด้วยความเคารพนับถือ
คุณูปการที่หานยวี่มีต่อชาวเมืองแต้จิ๋วในช่วงที่ประจำอยู่เมืองแต้จิ๋วเป็นเวลา 8 เดือนมีมากมาย เช่น การฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น  การพัฒนาด้านการเกษตร  การเรียกร้องให้เลิกทาส  การก่อตั้งหน่วยล่าจระเข้  ซึ่งชุกชุมบริเวณลุ่มแม่น้ำหานเจียงและทำร้ายชาวบ้านเป็นประจำ  จนได้ชื่อว่า “เอ๊อะชี” หรือแม่น้ำดุ  ที่สำคัญที่สุดได้แก่ การส่งเสริมด้านการศึกษา  โดยท่านได้บริจาคเงินเดือน 8 เดือนให้แก่โรงเรียนในเมืองแต้จิ๋ว  เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้มีเงินทองในสมัยนั้นได้ปฏิบัติตามสร้างความรุ่งเรืองด้านการศึกษาแก่ลูกหลานชาวแต้จิ๋วอย่างมาก  จนได้ชื่อว่าเป็นยุคแห่ง “ความรู้เต็มถนน” เมืองแต้จิ๋วในสมัยนั้นมีประชากรเพียง 140,000 คน มีลูกหลานชาวแต้จิ๋วเข้าสอบรับราชการที่นครหลวงฉางอานมากมายกว่า 10,000 คน  และนอกจากสร้างศาลเป็นที่สักการะแล้วชาวแต้จิ๋วยังได้เปลี่ยนชื่อแม่น้ำเอ๊อะชีและภูเขาปี่เจี้ย เป็นหานเจียงและหานซานตามลำดับอีกด้วย

วัดคายเยวี๋ยน
วัดคายเยวี๋ยนหรือคายหง่วนหยี่ ตั้งอยู่กลางเมืองเก่าแต้จิ๋ว  เป็นวัดพุทธนิกายมหายานโบราณ  สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ถาง  ซึ่งมีนามรัชสมัยว่า “คายเยวี๋ยน” ตรงกับปี ค.ศ. 738 มีการบูรณะครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1980  นอกจากโบสถ์และวิหารที่เก่าแก่ควรค่าแก่การอนุรักษ์แล้ว  ภายในวัดยังมีวัตถุโบราณมากมายที่สร้างขึ้นต่างยุคต่างสมัยกัน เช่น  ระฆังทองเหลืองน้ำหนัก 3,000 ชั่ง  ที่สร้างในสมัยราชวงศ์ซ่ง ตรงกับปี ค.ศ. 1114  กระถางธูปหินแกะสลักที่สร้างในสมัยราชวงศ์เยวี๋ยน  ตรงกับปีค.ศ. 1325 เจดีย์ไม้แกะสลักเทพเจ้าพันองค์ของราชวงศ์หมิง เป็นต้น
นักท่องเที่ยวที่เข้าไปนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์หากพบเจอบุคคลแปลกหน้าที่อาสาช่วยเหลือในการทำพิธเซ่นไหว้  ขอให้ปฏิเสธความหวังดีทุกประการและหลีกให้ไกลที่สุด  เพราะเป็นการหากินด้วยการหลอกลวงนักท่องเที่ยวมานานหลายปีแล้ว

เมืองเซินเจิ้น หรือนครเซินเจิ้น
            นครเซินเจิ้นตั้งอยู่ทางทิศใต้ของมณฑลกวางตุ้ง  ระหว่างเมืองกวางเจากับเขตนิวทอรีเทอรี่ของฮ่องกง  เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง  มีเนื้อที่ 327.5 ตารางกิโลเมตร  ตั้งอยู่ในเขตร้อนอุณหภูมิเฉลี่ย 22.4 องศาเซลเซียส  หน้าร้อนอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 36.6 องศาเซลเซียส  หนาวที่สุดในเดือนมกราคมอุณหภูมิต่ำที่สุด 1.4 องศาเซลเซียส  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1948 มิลลิเมตรต่อปี
เซินเจิ้นออกเสียงเป็นสำเนียงแต้จิ๋วและกวางตุ้งว่า “ชิมจุ่ง” และ “ซ้ำจัน” ตามลำดับ  มีชื่อเดิมว่าอำเภอป่าวอาน  ยกฐานะเป็นเมืองและเปลี่ยนชื่อเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1979  ประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1980  เซินเจิ้นเป็นเมืองใหม่ที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากหมู่บ้านชาวประมงและสวนลิ้นจี่  ปัจจุบันเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่มั่งคั่งที่สุดของจีน  เป็นต้นกำเนิดของสินค้า “เมดอินไช่น่า” นานาชนิดมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่ส่งจำหน่ายทั่วโลก
ชาวประมงและชาวสวนกว่า 30,000 คน กลายเป็นเศรษฐีย่อยๆ ทันทีที่รัฐบาลจีนขอเช่าที่ดินเพื่อเซ้งให้นักลงทุน  โดยมีรายได้จากค่าเช่าที่คนละประมาณ 30,000 หยวนต่อปี  เป็นเวลายาวนานถึง 70 ปี  โดยเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานได้  ตึกรามบ้านช่องในเมืองจึงสวยงามตามแรงสะพัดของเงินตรา  มีถนนและเกาะกลางที่กว้างขวางเพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต
เซินเจิ้นเป็นเมืองหนึ่งที่แยกจากมณฑลกวางตุ้ง  วัฒนธรรมและภาษาจึงเป็นแบบเดียวกันสำหรับชาวพื้นเมือง  แต่ด้วยความเป็นเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ที่มีศักยภาพในการจ้างงานสูง  มีคนต่างถิ่นเข้ามาทำงานกันมาก ผู้คนในเมืองนี้จึงอาจพูดภาษากวางตุ้งไม่ได้   โดยเฉพาะพนักงานในภัตตาคารต่างๆ เซินเจิ้นจึงกลายเป็นศูนย์รวมของชาวจีน  เช่นเดียวกับกรุงเทพฯ เป็นศูนย์รวมของคนไทยทุกภาค
เซินเจิ้นมีจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว 3 แห่งใหญ่ด้วยกัน ได้แก่  เมืองจำลองเซินเจิ้น  เมืองจำลองหน้าต่างโลก  และหมู่บ้านวัฒนธรรม  ชาวจีนนอกพื้นที่ไม่สามารถเข้าออกเมืองเซินเจิ้นได้  นอกจากมีใบอนุญาตจากรัฐบาลท้องถิ่น  นักท่องเที่ยวต่างชาติสามารถเดินทางเข้าเซินเจิ้นได้โดยทางรถไฟและรถยนต์จากฮ่องกง  ใช้เวลาเดินทางจากฝั่งเกาลูนไม่ถึงชั่วโมง  โดยผู้เดินทางต้องลงตรวจหนังสือเดินทางถึง 2 จุดด้วยกัน  การเข้าออกทางด่านนี้จึงไม่ควรนำสัมภาระชิ้นใหญ่ไป  เนื่องจากต้องขนลงรถเพื่อการตรวจค้นทุกชิ้นทั้ง 2 ด่าน

สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองเซินเจิ้น
เมืองจำลองเซินเจิ้น
เมืองจำลองเซินเจิ้นมีชื่อภาษาจีนกลางว่า “จิ่น ซิ่ว จง ฮว๋า”  ตั้งอยู่ริมอ่าวเซินเจิ้น  ภายในแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนท่องเที่ยวและส่วนบริการ  ซึ่งประกอบด้วยร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึกและร้านอาหาร
เมืองจำลองเซินเจิ้นประกอบด้วยสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญจากทั่วประเทศมีทั้งส่วนที่เป็นสิ่งก่อสร้างและสถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  โดยย่อจากของจริงในอัตราส่วนแตกต่างกันตามความเหมาะสม  สิ่งจำลองสำคัญต่างๆ ได้แก่  กำแพงเมืองจีน  พระราชวังฤดูร้อน  พระราชวังโบราณ  หอบวงสรวงฟ้า  สุสานสิบสามกษัตริย์  หลวงพ่อโตเล่อซาน  สุสานดร, ซุน ยัด เซน วัดเส้าหลิน ป่าหิน น้ำตกฮว๋างกว่อซู่ เป็นต้น
นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมและถ่ายรูปกับจุดต่างๆ กว่าร้อยจุดได้ภายใน 2 ชั่วโมง  มีรถกอล์ฟและรถไฟเล็กบริการ  รถกอล์ฟต้องเช่าเหมาคันและแวะให้ถ่ายรูปบ้างในบางจุด 
ส่วนรถไฟเล็กสามารถตีตั๋วเดี่ยวได้  แต่ไม่จอดให้ถ่ายรูป

เมืองจำลองหน้าต่างโลก
เมืองจำลองหน้าต่างโลก มีชื่อสากลว่า WINDOW OF THE WORLD  อยู่ติดกับเมืองจำลอง (จิ่นซิ่วฮว๋า) และศูนย์วัฒนธรรม  มีเนื้อที่ 480,000 ตารางเมตร  ลงทุนโดยบริษัท ซี,ที,เอส,  ฮ่องกงและบริษัทท้องถิ่น  เป็นศูนย์รวมสิ่งก่อสร้างและสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลก  โดยย่อจากของจริงในอัตราส่วนต่างๆ กัน เช่น หอไอเฟิล 1ต่อ 3 มีความสูง 108 เมตร  สามารถขึ้นลิฟท์ชมวิวเมืองเซินเจิ้นและฮ่องกงบนยอดได้  ส่วนน้ำตกไนแองการ่าก็ถูกย่อให้เหลือความกว้างเพียง 80 เมตร  หากจะชมน้ำตกต้องไปแต่วัน  เพราะหลังตะวันตกดินน้ำตกนี้จะพักผ่อนกลายเป็นน้ำตกไม่มีน้ำ  ภายในเมืองจำลองหน้าต่างโลก  มีการจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามทวีป  นอกจากนี้ยังมีเวทีกลางแจ้งขนาดใหญ่จุคนได้หมื่นกว่าคน  มีการแสดงที่ตื่นตาตื่นใจ  จากนักแสดงชาติต่างๆ ทั้งหัวดำ  หัวแดง หัวหยิกและหัวหยอย
ช่วงที่เหมาะแก่การเที่ยว  น่าจะอยู่ที่ 4 โมงเย็น  เพราะได้ถ่ายรูปสวยๆ ด้วยสภาพแสงที่กำลังดี  จากนั้นก็หาอะไรรับประทานโดยไม่ต้องเร่งรีบ  ซึ่งหาซื้อได้จากจุดจำหน่ายต่างๆ พออิ่มหนำสำราญ ก็เดินไปจับจองที่นั่งดูการแสดง  ซึ่งจะเริ่มเวลาประมาณ 1 ทุ่ม
โบรชัวร์ที่เจ้าหน้าที่แจกจะบรรยายสรรพคุณแห่งเมืองจำลองหน้าต่างโลกว่า
“เป็นหน้าต่างแห่งประวัติศาสตร์โลก
เป็นหน้าต่างแห่งอารยธรรมโลก
เป็นหน้าต่างสำหรับการท่องโลก”

หมู่บ้านวัฒนธรรม
            หมู่บ้านวัฒนธรรม ตั้งอยู่ด้านซ้ายของเมืองจำลอง  มีเนื้อที่ประมาณ 200,00 ตารางเมตร  เป็นศูนย์แสดงชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชนเผ่าน้อยใหญ่ที่กระจายตามมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศจีนที่ใหญ่ที่สุด
ภายในหมู่บ้านวัฒนธรรมมีที่อยู่อาศัยของชนเผ่าต่างๆ ที่สร้างเท่าขนาดจริง 24 แห่ง  จากทั้งหมด 56 เผ่าทั่วประเทศ  ท่ามกลางมวลไม้และสายน้ำที่ร่มรื่นสวยงามมีชนเผ่าเจ้าของบ้านให้การต้อนรับ  มีการแสดงกิจกรรมประจำเผ่าให้ชม  เช่น  การเย็บปักถักร้อย  การทำขนม  การร้องรำทำเพลง เป็นต้น
นอกจากนั้นภายในหมู่บ้านยังมีตลาดขายอาหารและสินค้าที่ระลึกที่เลียนแบบสมัยโบราณ  มีเวทีกลางแจ้งซึ่งจะเปิดทำการแสดงใหญ่ในช่วงหัวค่ำของทุกวัน  มีทิวทัศน์จำลองแบบเกาะไหหลำ  องค์เจ้าแม่กวนอิมพันกร  น้ำตกจำลอง  ทะเลสาบจำลองและภูเขาหินให้นักท่องเที่ยวเดินชมอย่างจุใจอีกด้วย

โปรแกรมทัวร์เเนะนำ