ประวัติศาสตร์

ภูมิประเทศ

ภูมิอากาศ

วัฒนธรรมประเพณี

แขวงต่างๆในลาว

1.แขวงนครหลวงเวียงจันทร์

2.แขวงหลวงพระบาง

3.แขวงจำปาสัก

4.แขวงบ่อเเก้ว

5.แขวงบริคำไชย

6.แขวงหัวพัน

7.แขวงคำม่วน

8.แขวงอุดมไชย

9.แขวงสาละวัน

10.เเขวงสะหวันนะเขต

11.แขวงพงสาลี

12.เเขวงหลวงน้ำทา

13.เเขวงเชียงขวาง

14.แขวงอัตปือ

15.แขวงเชกอง

16.แขวงไชยบุรีี






























วัฒนธรรมประจำชาติลาว

ประเทศลาวเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายของชนเผ่าต่างๆซึ่งในแต่ละชนเผ่าก็มีความเชื่อ และประเพณีที่แตกต่างกัน สำหรับ “ฮีต 12 ครอง 14” นี้ถือเป็นความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าลาวลุ่ม ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษ

งานประเพณีของลาวในแต่ละเดือน

จารีตประเพณี เป็นประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน ส่วนคำว่า “สิบสอง” หมายถึง เดือนทั้ง 12 เดือนในรอบหนึ่งปี ดังนั้นความหมายโดยรวมๆ จึงหมายถึง งานบุญประเพณีในแต่ละเดือนของชาวลาวลุ่ม ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณ จุดมุ่งหมายเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับ ตอบแทนบุญคุณของธรรมชาติ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ช่วยดลบันดาลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ในแต่ละเดือนจะจัดให้มีงานบุญที่แตกต่างกันดังนี้

เดือนเจียง บุญเข้ากรรม

ช่วงที่จัดเดือนธันวาคมลักษณะงานจุดประสงค์ของงานนี้เพื่อให้พระภิกษุ สงฆ์ ผู้ต้องอาบัติขั้นสังฆาทิเสส (มีความรุนแรงรองลงมาจากอาบัติขั้นปาราชิก) เข้าพิธีกรรมปลงอาบัติด้วยการอยู่ในเขตที่จำกัด เพื่อชำระจิตใจให้สะอาดภิกษุต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นอาบัติ ญาติโยมแม่ออกแม่ตน ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทานรักษาศีลฟังธรรม เกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เพราะเหตุกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียงจึงเรียกว่า บุญเดือนเจียงผู้คนมีความเชื่อกันว่าหากทำบุญแด่พระสงฆ์ในช่วงที่ท่านเข้ากรรมจะได้อานิสงส์สูง เพราะในยามที่พระสงฆ์เข้ากรรมถือเป็นช่วงที่เคร่งวินัยและบริสุทธิ์มากที่สุด การเข้ากรรมของพระสงฆ์ก็เปรียบได้กับการอยู่กรรม ของแม่ลูกอ่อนหรือหญิงที่พึ่งจะคลอดลูกใหม่ที่จะต้องอยู่กรรม ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมคือจะต้องรู้จักคะลำ ทั้งเรื่องการกินและกิจวัตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งแม่และลูก

พิธีกรรมที่ทำส่วนใหญ่ก็จะทำขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันสร้างความสมัคสมานสามัคคีและหล่อหลอมให้เป็นคนรู้จักสัมมาคารวะเคารพผู้อาวุโสในชุมชน รู้จักการแยกแยะรู้จักการให้อภัยแก่กัน ก็คือให้คนในชุมชนอยู่ด้วยการอย่างมีคุณธรรมไม่โลภ โกรธ หลง ต่างคนต่างพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ถือชั้นวรรณะและเป็นการสืบทอดศิลปะขนบธรรมเนียมประเพณีต่างให้สังคมเกิดความเป็นสุขนั่นคือจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่ของประเพณีพิธีกรรมของชาวอีสาน ซึ่งเป็นความสำคัญและงดงามมากในอดีตกา

เดือนยี่บุญคูนลาน

ช่วงที่จัด หลังฤดูเก็บเกี่ยวลักษณะงาน ก่อนที่จะนำข้าวที่นวดแล้วไปเก็บใน ยุ้งฉาง จะมีการทำบุญขวัญข้าว มีการนิมนต์พระภิกษุมาสวดเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และเป็นนิมิตหมายที่ดีให้ปีต่อๆ ไปทำนาเกิดผลดียิ่งขึ้นเป็นการทำบุญเพื่อรับขวัญข้าว เมื่อถึงเดือนยี่ หรือเดือนที่ 1 คือเดือนมกราคม ของทุกปี หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ชาวบ้านจะขนเอามัดรวงข้าวที่เกี่ยวเสร็จแล้ว นั้นไปกองรวมกันไว้ที่ลานเก็บข้าวด้วยมีความเชื่อว่าข้าวนั้นเป็นพืชเลี้ยงชีวิตที่มีเทพารักษา เทพองค์นั้นมีนามว่า "แม่โพสพ" ซึ่งเป็นขวัญข้าวที่เลี้ยงมนุษย์มา การทำบุญมีพระสวดมนต์เย็น ฉันเช้าเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวเปลือก เมื่อพระฉันเช้าแล้วก็ทำพิธีสู่ขวัญข้าว และผูกข้อต่อแขนกันในหมู่ชาวบ้านผู้ร่วมพิธี ในปัจจุบันนี้ บุญคูณลานค่อยๆเลือนหายไป เนื่องจากไม่ค่อยมีผู้สนใจประพฤติ ปฏิบัติกัน ประกอบกับในทุกวันนี้ชาวนาไม่มีลานนวดข้าวเหมือนเก่าก่อน เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ และมัดข้าวเป็นฟ่อนๆ แล้วจะขนมารวมกันไว้ ณ ที่ที่หนึ่งของนา โดยไม่มีลานนวดข้าว หลังจากนั้นก็ใช้เครื่องสีข้าวมาสีเมล็ดข้าวเปลือกออกจากฟางลงใส่ในกระสอบและในปัจจุบันยิ่งมีการใช้รถไถนา เครื่องสีข้าว เป็นส่วนมากจึงทำให้ประเพณีคูณลานนี้เลือนหายไป แต่ก็มีบางหมู่บ้านบางแห่งที่ยังรวมกันทำบุญโดยนำข้าวเปลือกมา กองรวมกัน เรียก "กุ้มข้าวใหญ่" ซึ่งจะเรียกว่าบุญกุ้มข้าวใหญ่ แทนการทำบุญคูณลาน

เดือนสาม บุญข้าวจี่

ช่วงที่จัด หลังงานมาฆบูชาลักษณะงานชาวนาจะนำข้าวจี่ (ข้าวเหนียว) นึ่งสุก ปั้นเป็นก้อนเท่าไข่เป็ดทาเกลือ นำไปเสียบไม้ย่าง จากนั้นตีไข่ทาให้ทั่วแล้วย่างจนไข่สุก และถอดไม้ออกนำน้ำตาลอ้อยยัดใส่ตรงกลางเป็นไส้ นำไปถวายพระสงฆ์ในช่วงที่หมดฤดูทำนาแล้ว เพื่อเป็นการทำบุญพร้อมด้วยอาหารอื่นๆ เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการแสดงพระธรรมเทศนา ตอนเย็นมีการเวียนเทียนมาฆบูชาฟังเทศน์ที่วัด พอถึงวันทำบุญข้าวจี่ซึ่งมักจะเป็นวันเพ็ญเดือนสาม ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจัดเตรียมข้าวจี่ แล้วนิมนต์พระสงฆ์มารวมกันที่ศาลาโรงธรรมญาติโยมจะมาพร้อมกันแล้วอาราธนาศีล ว่าคำถวายข้าวจี่เสร็จแล้วเอาข้าวจี่ไปใส่บาตร พระสงฆ์สวดมนต์จบแล้ว ญาติโยมยกอาหารคาวหวานไปถวายพระฉันเสร็จแล้วอนุโมทนาเป็นการเสร็จพิธีถวายข้าวจี่ ในปัจจุบันชาวบ้านนอกจากจะทำบุญข้าวจี่แล้วยังทำบุญมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง วันมาฆบูชานี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนสาม เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพระพุทธศาสนา

เดือนสี่ บุญพระเวส

ช่วงที่จัด เดือนมีนาคม ข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ลักษณะงานบุญพระเวส หรืองานบุญมหาชาติ เช่นเดียวกับงานฟังเทศน์เวสสันดรชาดก ซึ่งถือว่าเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ ชาวบ้านจะช่วยกันตกแต่งประดับประดาโรงธรรมด้วยดอกไม้ ของหอม ใช้ดอกบัวประดับธรรมมาสน์ มีการจัดรูปขบวนแห่พระเวส และนางมัทรีออกจากป่าเข้าในเมืองไปสิ้นสุดที่พระอุโบสถ เป็นประเพณีตามคติความเชื่อของชาวอีสานที่ว่า หากผู้ใดได้ฟัง เทศน์เรื่องพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับพระศรีอริยะเมตไต บุญพระเวสนี้จะทําติดต่อกันสามวัน วันแรกจัดเตรียมสถานที่ตกแต่ง ศาลาการเปรียญวันที่สองเป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร ชาวบ้านร่วมทั้งพระภิกษุสงฆ์จากหมู่บ้านใกล้เคียงจะมา ร่วมพิธีมีทั้งการจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานฟังเทศน์และแห่พระเวส โดยการแห่ผ้าพระเวส (ผ้าผืนยาวเขียนภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดร) ซึ่งสมมติเป็น การแห่พระเวสสันดรเข้าสู่เมือง เมื่อถึงเวลาค่ำจะมีเทศน์เรื่องพระมาลัย ส่วนวันที่สามเป็นงานบุญพิธี ชาวบ้านจะร่วมกันตักบาตรข้าวพันก้อน พิธีจะมี ไปจนค่ำ ชาวบ้านจะแห่แหน ฟ้อนรําตั้งขบวนเรียงรายตั้งกัณฑ์มาถวายอานิสงฆ์อีกกัณฑ์หนึ่ง จึงเสร็จพิธีมูลเหตุของพิธีกรรมพระสงฆ์จะเทศน์เรื่อง เวสสันดรชาดกจนจบและเทศน์

เดือนห้า บุญสงกรานต์

ช่วงที่จัด ตรุษสงกรานต์ลักษณะงานนับเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคน ลาว โดยมีการจัดงานติดต่อกันหลายวัน บางแขวงเช่น หลวงพระบางจะมีการจัดงานบุญสงกรานต์ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ มีประกวด และขบวนแห่นางสังขาร (นางสงกรานต์) จึงได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด นอกจากนั้นยังถือเป็นวันปีใหม่ลาวเช่นเดียวกับของไทยอีกด้วย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 มีพิธีการทำบุญตักบาตร ทำบุญสรงน้ำพระ และรดน้ำผู้ใหญ่ โดยการนำเอาน้ำอบ น้ำหอมไปสรงพระพุทธรูป พระภิกษุสงฆ์ และรดน้ำคนเฒ่า คนแก่ ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา และมารดา ที่เราเคารพ นับถือ เพื่อขอให้มีความเป็นอยู่ร่มเย็นเป็นสุข จะปรารถนาสิ่งใดขอให้ได้สมหวัง เช่น ขอน้ำขอฝน ขอให้ตกต้องตามฤดูกาล และให้ข้าว น้ำ ปลา อุดมสมบูรณ์ และในเดือนนี้ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวอีสาน

เดือนหก บุญบั้งไฟ

ช่วงที่จัด เดือนหกก่อนฤดูการทำนาจะมาถึงย่างเข้าฤดูฝนลักษณะงาน คล้ายกับงานบุญบั้งไฟในภาคอีสานของ ไทย จุดประสงค์เพื่อบูชาหลักเมือง และขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ปีใดที่ไม่มีการทำบุญบั้งไฟเชื่อว่าปีนั้นจะเกิดเภทภัยต่างๆ และถือเป็นสัญญาณว่าฤดูทำนากำลังจะเริ่มต้นแล้ว นับเป็นงานที่สืบทอดมาแต่ครั้งโบราณกาลประเพณีบุญบั้งไฟที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล และจะมีขึ้นเป็นประจำในช่วงเวลานี้ของทุกปีกลับเป็นงานพิธีกรรมที่สนุกสนานสื่อสารกับเทวดาอีกองค์หนึ่งบนท้องฟ้าเพื่อให้ช่วยโปรดประทานน้ำฝนลงมาสู่ท้องไร่ท้องนาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร ในช่วงปลายฤดูแล้งย่างเข้าฤดูฝนประกอบกับความเชื่อต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ จึงสะท้อนออกมาเป็นพิธีกรรมสืบทอดปฏิบัติเรื่อยมาที่ชาวบ้านตามท้องถิ่นต่างๆในลาวจะเริ่มมารวมตัวกันเพื่อประกอบพิธีกรรมตามวิถีทางความเชื่อของตนอย่างสมัครสมานสามัคคี และเปี่ยมล้นไปด้วยศรัทธาเพราะนอกจากจะมีพิธีกรรมการขอฝนตามความเชื่อแล้วบุญบั้งไฟยังเป็นงานฉลองใหญ่ประจำปีของหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยกลิ่นไอแห่งความสนุกสนานเป็นกันเองสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจของงานก็คือ บรรดาบั้งไฟหลายรูปแบบ ฝีมือการสร้างสรรค์ ประดับตกแต่งโดยภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่นอย่างสวยงาม ที่นำออกมาแสดงรวมกันก่อนยิงขึ้นสู่ท้องฟ้า

เดือนเจ็ด บุญซำฮะ

ช่วงที่จัด เดือนมิถุนายนลักษณะ งานเล็กๆ แต่มีความสำคัญ จุดประสงค์เพื่อเป็นการล้างเสนียดจัญไรและสิ่งชั่วร้ายต่างๆที่เกิดกับบ้านเมือง เพื่อให้บ้านเมืองมีแต่ความสงบสุขและนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ในการจัดงานบุญซำฮะหรือบุญเบิกบ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันทำปะรำพิธีกลางหมู่บ้าน โดยชาวบ้านจะนำดอกไม้ ธูปเทียน ขันน้ำ ขันใส่กรวดทราย และฝ้ายผูกแขน มารวมที่ศาลากลางบ้าน ตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหารมาทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระถวายจังหัน เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วจะให้พรและรดน้ำมนต์ให้กับชาวบ้านที่มาในงานชาวบ้าน ร่วมกันฟังเทศน์ฟังธรรมและร่วมกันเซ่นไหว้ศาลหลักบ้าน เพื่อขอความคุ้มครองและขับไล่ภัยสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ออกจากหมู่บ้าน โดยชาวบ้านจะทำบริเวณพิธีด้วยการนำต้นกล้วยมาสี่ต้นทำเป็นเสา ผูกยึดด้วยสายสิญจน์ และจะมีการโยงสายสิญจน์ไปยังบ้านทุกหลังในหมู่บ้าน แล้วนิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์ นอกจากนี้จะมีการนำหินเข้าพิธีเมื่อปลุกเสกแล้วพระหรือพราหมณ์ก็จะนำหินที่ปลุกเสกไปหว่านทั่วหมู่บ้าน เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ในปัจจุบันบางหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ ชาวบ้านจะนำหินใส่ถุงเขียนชื่อเมื่อเสร็จพิธีก็จะมารับกลับไปหว่านที่บ้านของตนเองบ้างก็นำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านของตนไปสูตร หรือ ปลุกเสก ทุกคนจะเอาขันน้ำมนต์ ด้ายผูกแขน ขันกรวดทารายกลับไปที่บ้านเรือนของตนเอง แล้วนำน้ำมนต์ไปปะพรมให้แก่ทุกคนให้ครอบครัว ตลอดจนบ้านเรือน วัว ควาย เอาด้ายผูกแขนลูกหลานทุกคน

เดือนแปด บุญเข้าพรรษา

ช่วงที่จัด วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8ลักษณะงานเป็นการเริ่มต้นฤดูเข้าพรรษาเหมือน ชาวไทย พระสงฆ์จะออกบิฑบาตรเป็นเวลา 3 เดือน ตามพุทธบัญญัติ นับแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไป ในวันแรกนี้จะมีการทำบุญตักบาตรตามวัดต่างๆาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนาทรงแสดงธรรมจักรกัปปวัฒนธสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ทำให้มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกวันนี้ว่า วันอาสาฬหบูชา การเข้าพรรษา หมายถึงการที่พระภิกษุอธิษฐานที่จะอยู่ประจำ ณ วัดใด วัดหนึ่งเพื่อปฏิบัติธรรมเป็นเวลา 3 เดือน โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น เว้นแต่จะถือสัตตาหะตามพุทธบัญญัติ ในเดือนแปด ตอนเช้าญาติโยมจะนำดอกไม้ ธูป เทียน ข้าวปลาอาหารมาทำบุญตักบาตรที่วัด หลังจากนั้น จะนำสบง จีวร ผ้าอาบน้ำฝน เทียนพรรษาและดอกไม้ ธูปเทียนมาถวายพระภิกษุที่วัดแล้วรับศีลฟังพระธรรมเทศนา ในตอนกลางคืนชาวบ้านจะนำดอกไม้ ธูป เทียน มารวมกันที่ศาลาโรงธรรมรับศีล แล้วเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ หลังจากเวียนเทียนแล้วก็จะเข้าไปในศาลาโรงธรรมเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ญาติโยมจะทำบุญตักบาตร และในวันนี้จะมีการแห่ต้นเทียนจากวัดต่างๆ ซึ่งได้เตรียมจัดทำเทียนพรรษา ซึ่งทางวัดในแต่ละวัดในจังหวัดอุบลราชธานีจะประดับประดาต้นเทียน เป็นรูปต่างๆ เช่นพระเวสสันดรชาดก รูปพระพุทธเจ้า ฯลฯ มีการประกวดต้นเทียนอย่างสวยงาม มีการประกวดชิงรางวัล ซึ่งชาวจังหวัดอุบลราชธานีถือว่าเป็นงานที่สำคัญของจังหวัด เรียกว่างานแห่เทียนพรรษา ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

เดือนเก้า บุญห่อข้าวประดับดิน

ช่วงที่จัด เดือนสิงหาคมลักษณะงานบุญห่อข้าวประดับดินเป็นการทำ พิธีกรรมอุทิศส่วนกุศลให้กับวิญญาณบรรพบุรุษ และวิญญาณไร้ญาติให้ออกมารับส่วนบุญ ชาวบ้านจะนำอาหารคาว หวาน บุหรี่ หมาก พลู ใส่ลงในกรวยใบตอง นำไปวางตามพื้นดิน หรือใต้ต้นไม้บริเวณรั้วบ้าน รั้ววัด ในช่วงเวลาดังกล่าวที่แขวงหลวงพระบางมีการซ่วงเฮือ (แข่งเรือพาย), ออกร้านตลาดนัดขายสินค้าของชาวบ้าน จึงเป็นอีกงานที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งภายใน และต่างประเทศเป็นจำนวนมากเป็นการนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ อย่างละเล็ก อย่างละน้อย แล้วห่อด้วยใบตองทำเป็นห่อเล็กๆ นำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบๆ เจดีย์หรือโบสถ์ เป็นการทำบุญที่ชาวบ้าน จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

เดือนสิบ บุญข้าวสาก

ช่วงที่จัดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10ลักษณะงาน จุดประสงค์ของการจัดงานเพื่ออุทิศ ส่วนกุศลให้คนตาย หรือเปรต ห่างจากงานวันห่อข้าวประดับดิน 15 วัน อันเป็นเวลาที่เปรตต้องกลับไปยังที่อยู่ของตนบุญข้าวสาก หมายถึงบุญที่ให้พระเณรทั้งวัด จับสลากเพื่อจะรับปัจจัยไทยทาน ตลอดจนสำรับกับข้าว ที่ญาติโยมนำมาถวายและบุญนี้จะทำกันในวันเพ็ญเดือนสิบ จึงเรียกชื่ออีกอย่างว่า "บุญเดือนสิบ"

เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา

ช่วงที่จัด วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11ลักษณะ เพื่อให้พระสงฆ์สามารถออกจากวัดไปพักแรมที่อื่นได้เพื่อเปิดโอกาสให้พระภิกษุได้มีโอกาสว่ากล่าวตักเตือนกันให้พระภิกษุสงฆ์ได้เที่ยวอบรมศีลธรรมและบวชให้ลูกหลานสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้พระภิกษุได้ไปเยี่ยมบิดา มารดาและญาติพี่น้องได้เนื่องจากช่วงเข้าพรรษาไม่สามารถออกจากวัดไปค้างแรมที่อื่นวันออกพรรษานับเป็นวันสิ้นสุดของการจำพรรษาของภิกษุสามเณรที่จำพรรษาในช่วง 3 เดือน งาน เป็นการตักบาตรเทโว มีการจัดอาหารไปถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร มีการกวนข้าวทิพย์ (กระสาสารท) ถวาย มีการถวายผ้าจำพรรษา และปราสาทผึ้ง โดยนำไม้ไผ่มาสานเป็นรูปปราสาท ตกแต่งสวยงามจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งไปถวายพระในตอนค่ำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ แก่ผู้ล่วงลับ ที่หลวงพระบาง จะมีไหลเรือไฟ และลอยกระทง ส่วนที่นครหลวงเวียงจันทน์ จะมีการส่วงเฮือ (แข่งเรือพาย)

เดือนสิบสอง บุญกฐิน

ช่วงที่จัด วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 – วันเพ็ญเดือน 12ลักษณะงาน เป็นการถวายผ้าแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาตลอดช่วงเข้าพรรษา นับเป็นงานบุญที่กระทำมาแต่โบราณบุญกฐินคือ บุญที่เรียกว่า "กาลทาน เดือน 12 ของทุก ปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "บุญ เดือน 12" ชาวอีสานเชื่อว่าผู้ใดได้ ทําบุญกฐินจะไม่ตกนรกและจะได้รับผลบุญที่ทําในชาตินี้ไว้เก็บกินในชาติหน้า งานบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสําคัญ ในส่วน พิธีกรรมนั้นคล้ายคลึงกับภาคกลางแต่ที่ชาวอีสานและเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมาตั้งวางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ญาติพี่น้อง หรือชาวบ้าน ใกล้เคียงนําสิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน อาสนสงฆ์ ฯลฯ มาร่วมสบทบ ตอนเย็นของวันรวมก็จะนิมนต์ พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ตอนกลางคืน อาจจัดให้มีมหรสพต่างๆ และที่ขาดไม่ได้ในงานบุญ กฐินก็คือ ต้องจุด "บั้งไฟพลุ" อย่างน้อยจํานวน 4 บั้ง เอาไว้จุดเมื่อตอนหัวค่ำหนึ่งลูก ตอนดึกหนึ่งลูก ตอนใกล้สว่างหนึ่งลูก และตอนถวายกฐินอีกหนึ่งลูก นอกจากจุดบั้งไฟพลุแล้วก็จะจุดบั้งไฟตะไลเป็นระยะ ๆ ในขณะที่แห่กฐินรุ่งเช้าเป็นขบวนแห่กฐินจาก บ้านไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เมื่อถึงวัดต้องแห่เครื่องกฐินเวียนขวาสามรอบ รอบศาลาโรงธรรม จากนั้นจึงนําเครื่องกฐินขึ้นตั้งบนศาลาโรงแรม นําข้าวปลา อาหารถวายพระ ถ้าถวายตอนเช้าก็เลี้ยงพระตอนฉันจังหัน แต่ถ้าถวายตอนบ่ายก็จะเลี้ยงพระตอนเพล เมื่อพระสงฆ์สามเณรฉันเสร็จแล้วผู้เป็นเจ้าภาพ องค์กฐินจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นํารับศีลแล้วกล่าวคําถวายกฐินเป็นเสร็จพิธี ส่วนพระสงฆ์เมื่อมีกฐินมาทอดที่วัดก็จะประชุมสงฆ์แล้วให้ภิกษุรูป หนึ่งเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ว่าควรให้แก่ภิกษุ (เอ่ยนามภิกษุ) ที่สมควรจะได้รับกฐิน ส่วนมากก็เป็นเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นชอบตามที่มีผู้เสนอ ก็จะเปล่งคําว่า "สาธุ" พร้อมกันจากนั้นญาติโยมก็จะพากันถวายเครื่องปัจจัยไทยทานแด่ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ทั้งวัด พระสงฆ์รับแล้วจะอนุโมทนาและให้พรเป็น เสร็จพิธีจะขาดไม่ได้ คือ การเฉลิมฉลองโดยการจุดพลุบั้งไฟอย่างเอิกเกริกในขณะที่แห่ขบวนกฐินมาที่วัด

ครอง 14

หมายถึง ข้อกำหนดหรือ ข้อควรปฏิบัติ 14 ข้อของพุทธศาสนิกชนคนลาวในการครองตนเป็นคนดี ซึ่งในปัจจุบันก็ยังยึดถือสืบต่อกันมา “ครอง 14” ประกอบด้วย

1. อย่าเดินเหยียบเงาพระสงฆ์

2. อย่านำอาหารเหลือไปถวายแก่พระ

3. อย่ามีเพศสัมพันธ์ในวันพระ, วันเข้าพรรษา, วันมาฆบูชา, วันวิสาขบูชาและ วันบุญสงกรานต์ โดยเด็ดขาด

4. เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านหน้าต้องนั่งลงพร้อมพนมมือไหว้

5. เมื่อไปวัดให้เตรียมดอกไม้ ธูป เทียน พร้อมเครื่องอัตถบริขารไปถวายพระสงฆ์

6. ก่อนเข้านอนต้องอาบน้ำและ ล้างเท้าก่อน

7. ในวันพระ (ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม) ให้ทำบุญตักบาตร หรือนิมนต์พระมาสวดที่บ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล

8. ในวันพระ (ข้างขึ้น) ให้จัดพานดอกไม้ ธูป เทียน ขอขมาแก่สามีตน

9. เมื่อพระสงฆ์หรือสามเณรมาบิณฑบาตร ต้องมารอก่อนหน้าที่ท่านจะมาถึง การตักบาตรระวัง

ให้มือโดนบาตร ห้ามถืออาวุธ ใส่รองเท้า หรือใส่หมวก เอาผ้าคลุมหัว ในเวลาตักบาตร

10. ในวันพระ (ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม) ให้ขอขมาแก่เตาไฟ ขั้นบันได และประตูเรือนที่อยู่อาศัย

11. ก่อนเข้าบ้านหรือขึ้นเรือนต้องล้างเท้าเสียก่อน

12. วัดใดไม่มีรั้วรอบขอบชิด ก็ให้ช่วยกันกั้นรั้วให้แก่วัดนั้นๆ รวมทั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของตัวเอง

13. เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว ผลผลิตที่ได้ในครั้งแรกของปี ให้นำไปถวายพระก่อน

14. อย่าลัก วิ่ง ชิง ปล้น หรือพูดจาหยาบคาย ต้องประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม

โปรแกรมทัวร์เเนะนำ