ประวัติศาสตร์

ภูมิประเทศ

ภูมิอากาศ

วัฒนธรรมประเพณี

แขวงต่างๆในลาว

1.แขวงนครหลวงเวียงจันทร์

2.แขวงหลวงพระบาง

3.แขวงจำปาสัก

4.แขวงบ่อเเก้ว

5.แขวงบริคำไชย

6.แขวงหัวพัน

7.แขวงคำม่วน

8.แขวงอุดมไชย

9.แขวงสาละวัน

10.เเขวงสะหวันนะเขต

11.แขวงพงสาลี

12.เเขวงหลวงน้ำทา

13.เเขวงเชียงขวาง

14.แขวงอัตปือ

15.แขวงเชกอง

16.แขวงไชยบุรี






























อาณาจักรล้านช้าง

ถึงเวลามาย้อนยุค.....ประวัตศาสตร์ลาว (ยุคแรก)

ขุนลอ ผู้ท่านปฐมกษัตริย์ของชาวลาวในปี ค.ศ.757 ซึ่งมีคนลาวที่มีการอพยพมาใหม่จึงเกิดเป็นเอง 2 แห่ง เมืองเชียงดงและเมืองเชียงทองโดยมีเมืองเซาเป็นราชธานีของอาณานี้ก็ว่าได้ ขุนลอซึ่งเป็นกษัตริย์ได้ตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงดง – เชียงทอง ต่อมาได้ขับไล่ชาวข่าสำเร็จ จึงตั้งชื่อเมืองใหม่อีกว่า ศรีสัตนาคนหุต

ในปี ค.ศ. 1353 ในรัชสมัยของเจ้าฟ้างุ่ม ถือว่าเป็นยุคที่อาราจักรล้านช้างมีความรุ่งเรืองมากที่สุดและทรงรับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ (นิกายเถรวาท) จากเขมรมาเป็นศาสนาประจำชาติ...! ยังได้อัญเชิญพระบางเป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหลแล้วก็ได้มาเปลี่ยนชื่ออีกเป็น เมืองหลวงพระบาง

ในปี ค.ศ. 1356 – 1373 พระยาอุ่นเฮือนทรงครองราชย์ต่อด้วยพระยาสามแสนไทไตรภูวนาถในปี ค.ศ.1376

ในปี ค.ศ. 1421 อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำและพระเจ้าไชยจักรพรรดิเสด็จขึ้นครองราชย์

ในปี ค.ศ. 1520 พระโพธิสารราชเจ้าทรงขึ้นครองราชย์และให้ย้ายเมืองหลวงอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จมาปกครองล้านช้างแทนและทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระแก้วและยังมีวัดสำคัญอีกวัด คือ วัดพระธาตุหลวง หรือเรียกอีกอย่างว่า พระธาตุเจดีย์โลกะจุฬามณีและยุคที่เจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ถือว่าเป็นยุคทอง...! แห่งอาณาจักรล้านช้าง

ยุคอาณาจักรล้านช้างแตกแยก

ยุคนี้จะมีการแก่งแย่งอำนาจของบรรดาเชื้อพระวงศ์ จึงแตกแยกเป็น 3 ราชอาณาจักรเอกราช

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ มีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนลาวภาคกลางในปัจจุบัน ปกครองโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 พระองค์จึงได้รับพระนามว่า พระไชยองค์เว้ พระองค์ได้นำกองทัพจากเวียดนามเข้ายึดกรุงเวียงจันทน์ หลวงพระบางจึงเป็นอาณาจักรเอกราชไม่ขึ้นกับเวียงจันทน์และเป็นจุดเริ่มต้นยุคลาวแบ่งแยกเป็น 2 อาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้าเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง มีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนลาวภาคเหนือในปัจจุบันมีเจ้ากิสราชเป็นกษัตริย์

อาณาจักรล้านช้างจำปาสัก ก่อตั้งจากการที่เสนาบดีได้ชิงบัลลังก์ขึ้นครองอาณาจักรหลังพระเจ้าสุริยวงสาธรรมิกราชสิ้นพระชนม์ต่อมาเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กรับคำขอจากเมืองจำปาศักดิ์ให้มาปกครองเมือง แต่ปกครองอยู่ได้ไม่นานก็เกิดปัญหาขึ้นไปเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์มาเป็นกษัตริย์ปกครองนครจำปาสักในปี ค.ศ. 1714 ทรงพระนาว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร

อาณาจักรล้านช้างภายใต้การปกครองสยาม

ในปี ค.ศ. 1778 สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินพระองค์ทรงส่งกองทัพสยามเข้ายึดครองแผ่นดินล้านช้างที่แตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักร

เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในปี ค.ศ. 1822 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ทรงวางแผนกอบกู้เอกราชแต่ไม่สำเร็จจึงถูกตัดสินโทษประหารชีวิตและสมัยนี้เองอาณาจักรเวียงจันทน์ถูกทำลายหมดสิ้น

ในปี ค.ศ. 1885 พวกจีนฮ่อจากมณฑลยูนนานยกทัพมารุกรานลาวและตีเมืองต่างๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งให้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่ไปประจำอยู่หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ สยามจึงตามไปตีจนพวกฮ่อแตกพ่ายไปหมดอาณาจักรสยามปกครองอาณาจักรลาวยาวนานถึง 114 ปี

ลาวภายใต้การปกครองฝรั่งเศส

ในปี ค.ศ. 1858 ประเทศฝรั่งเศสเริ่มสนใจจะขยายอำนาจเข้ามาสู่ดินแดนในแถบลุ่มแม่น้ำโขง โดยฝรั่งเศสได้ส่งนักสำรวจ อองงรี มูโอต์ เดินทางสำรวจเส้นทางแม่น้ำโขงตอนกลาง เพื่อเปิดเส้นทางการค้าแห่งใหม่แข่งกับอังกฤษและอาณาจักรลาวเสียดินแดนอื่นๆในปี ค.ศ. 1893

ลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงครามเวลานั้นก็ประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศราชอาณาจักรลาว ผู้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชของลาว ได้แก่ เจ้าสุวรรณภูมา เจ้าเพชรราชและเจ้าสุภานุวงศ์ โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ (พระมหากษัตริย์)ถือเป็นการรวม 3 อาณาจักรเข้าด้วยกัน

สงครามกลางเมืองสู่การสถาปนาประเทศลาว

ในปี ค.ศ. 1959 เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์ เจ้าสุภานุวงศ์ประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ ก็ล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จและสถาปนาประเทศลาวเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1975

ยุคสมัยสาธรณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ท่านไกสอน พมวิหานดำรงตำแหน่งต่อในปี ค.ศ. 1991 ได้นำนโยบาย จินตนาการใหม่ มาใช้บริหารประเทศลาวในช่วงนี้เริ่มมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการเมือง

ท่านหนูฮัก พูมสะหวันได้ดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 1992 โดยยกเลิกการจำกัดเสรีภาพบุคคล ปี ค.ศ. 1995 ลาวกับไทยทำพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย – ลาว ข้ามแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นสะพานแห่งแรกที่เชื่อมไทยและลาว

ในปี ค.ศ. 1998ท่าคำไต สีพันดอนเข้าดำรงตำแหน่งประเทศประเทศจนถึงปี ค.ศ. 2006 มีการสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาว ข้ามแม่น้ำโขงขึ้นอีก 2 แห่ง

ท่านจูมมะลี ไซยะสอนดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 ปัจจุบัน มีการเปิดขบวนรถไฟสายไทย – ลาว จากจังหวัดหนองคายถึงท่านาแล้งฝั่งลาวนอกจากนี้รัฐบาลลาวยังมีโครงการจะทำรถไฟฟ้าเข้าเวียงจันทน์ไปหลวงพระบาและคุนหมิงในอนาคต ด้วยการเป็นเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 9 – 18 ธันวาคม 2009 ที่เมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาวจึงเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้นในหมู่ประเทศตะวันตกและประเทศในกลุ่มอาเซียน

ชาติพันธุ์ สปป.ลาว ปัจจุบัน

1.ภาษา ลาว-ไต (The Lao – Tai Language Family)มี 8 ชาติพันธุ์ (8 Ethnic groups)

1.1 ชาติพันธุ์ แสก (แซก , Xaek)

1.2 ชาติพันธุ์ ไทยวน (Tai Yuan)

1.3 ชาติพันธุ์ ไต (Tai)

1.4 ชาติพันธุ์ ไทเหนือ (Tai Nüa) (also called Tai Nɯa, Dehong Dai, or Chinese Shan)

1.5 ชาติพันธุ์ ผู้ไท (Phutai)

1.6 ชาติพันธุ์ ยั้ง (Yang)

1.7 ชาติพันธุ์ ลาว (Lao)

1.8 ชาติพันธุ์ ลื้อ (Lue)

2. ภาษา มอญ-ขแมร์ (The Mon – Khmer Language Family)มี 32 ชาติพันธุ์ (32 Ethnic groups)

2.1 ชาติพันธุ์ ขมุ (Khmou)

2.2 ชาติพันธุ์ กะตาง (Katang)

2.3 ชาติพันธุ์ กะตู (Katu)

2.4 ชาติพันธุ์ เกรียง (Kriang)

2.5 ชาติพันธุ์ กรี (Kree/Kri)

2.6 ชาติพันธุ์ ขะแมร์ (Khmer)

2.7 ชาติพันธุ์ งวน (Ngouan)

2.8 ชาติพันธุ์ เจ็ง (Cheng)

2.9 ชาติพันธุ์ สามต่าว (Samtao)

2.10 ชาติพันธุ์ สะดาง (Sadang)

2.11 ชาติพันธุ์ ส่วย (Xuay)

2.12 ชาติพันธุ์ ซิงมูน (XingMoun)

2.13 ชาติพันธุ์ ยะเหิน (Nhaheun)

2.14 ชาติพันธุ์ ตะโอ้ย (Ta-Oy)

2.15 ชาติพันธุ์ เตรียง (Triang)

2.16 ชาติพันธุ์ ตรี (Tri)

2.17 ชาติพันธุ์ ตูม (Toum)

2.18 ชาติพันธุ์ แท่น (Thaen)

2.19 ชาติพันธุ์ บิด (Bid/Bit)

2.20 ชาติพันธุ์ เบรา (Brao)

2.21 ชาติพันธุ์ ปะโกะ (Pakoh/Pacoh)

2.22 ชาติพันธุ์ ไปร (Pray)

2.23 ชาติพันธุ์ ผ้อง (Phong)

2.24 ชาติพันธุ์ มะกอง (Makong)

2.25 ชาติพันธุ์ ม้อย (Moy)

2.26 ชาติพันธุ์ ยรุ (Yrou)

2.27 ชาติพันธุ์ แยะ (Yae/Ye)

2.28 ชาติพันธุ์ ละเมด (Lamed/Lamet)

2.29 ชาติพันธุ์ ละวี (Lavi/Lavy)

2.30 ชาติพันธุ์ โอย (Oy)

2.31 ชาติพันธุ์ เอ๊ดู (Oedou)

2.32 ชาติพันธุ์ ฮารัก (Harak)

3. ภาษา จีน-ธิเบต (The Chinese-Tibet Family)มี 7 ชาติพันธุ์ (7 Ethnic groups)

3.1 ชาติพันธุ์ สิงสีลิ (Singsily)

3.2 ชาติพันธุ์ สีลา (Sila)

3.3 ชาติพันธุ์ ลาหู (Lahu)

3.4 ชาติพันธุ์ โลโล (Lolo)

3.5 ชาติพันธุ์ ฮ่อ (Hor)

3.6 ชาติพันธุ์ อาข่า (Akha)

3.7 ชาติพันธุ์ ฮ่ายี่ (Hanyi)

4. ภาษา ม้ง–อิวเมี่ยน (The Hmomg – Iu Mien Language Family)มี 2 ชาติพันธุ์ (2 Ethnic Groups)

4.1 ชาติพันธุ์ ม้ง (Hmong)

4.2 ชาติพันธุ์ อิวเมี่ยน (Iu Mien)

สถาบันค้นคว้าสังคมลาว ได้ค้นคว้าและจัดชื่อเรียกของชนเผ่าโดยอิงตามภูมิลำเนาที่อยู่ ภาษา และความหมายทางการเมือง ซึ่งได้จัดว่าประเทศลาว มี 3 ชนชาติ และมี 68 ชนเผ่า ดังนี้

1. ชนชาติลาวลุ่ม

หมายถึงคนที่ดำรงชีวิต และตั้งถิ่นฐานภูมิลำเนาอยู่ที่ราบ และแถบแม่น้ำ ประกอบด้วย 12 ชนเผ่า คือ ชนเผ่าลาว ชนเผ่าพวน ชนเผ่าลื้อ ชนเผ่าไทดำ ชนเผ่าไทขาว ชนเผ่าไทเมี้ย ชนเผ่าไทเหนือ ชนเผ่าไทยี่ ชนเผ่ายั้ง และชนเผ่าแสก (แซก)

2. ชนชาติลาวเทิง

หมายถึงคนที่ดำรงชีวิต และตั้งภูมิลำเนา อยู่ตามตีนภู (เปิ้นพูหรือที่ลาดเชิงเขา) ความสูงระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป ประกอบมี 36 ชนเผ่าคือ ขะมุ สะเมด บีด ผ้อง ปาก ยรุ ผู้น้อย กะเส็ง ดอย ไพ่ มะกอง กะตาง กะตู ปะโก ละเวน ละแว ละวี ละวัก ยะเหิน ตรูย สุ สะปวน สอก ตรีว ตะเลียง ตะโอย อาลัก แญะ ส่วย เจ็ง ดากกัง ตองเหลือง กาโด ถิ่น สามต่าว

3. ชนชาติลาวสูง

หมายถึงคนที่ดำรงชีวิต และตั้งภูมิลำเนา อยู่ตามตีนภู (เปิ้นพูหรือที่ลาดเชิงเขา) ความสูงเหนือระดับน้ำ ทะเล ตั้งแต่ 1,000 เมตร ขึ้นไป มี 20 ชนเผ่า คือ กูย ม้งขาว ม้งลาย ม้งดำ ย้าว แลนแตน กำปานา ก่อสีดา ก่อมูจี ก่อปูลี ก่อเฟ ก่อภูซาง ก่อภูยอด ก่อมูเติม ก่อจิจาน ก่อกงสาด ฮายี ลาหู มูเซอดำมูเซอขาว (ก่อ หมายถึงอีก้อ แต่ที่แปลกคือ ลาหูหรือละหู่ ในลาว เป็นอีกชนเผ่าของมูเซอ)

โปรแกรมทัวร์เเนะนำ