การเมืองการปกครองของจีนในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองจีนถูกขนานนามว่า “คนป่วยแห่งเอเชีย” เพราะจีนในยุคนั้นนั้นเต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ อดอยากแร้นแค้น ทุกข์ยาก ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของ เหมาเจ๋อตุง ยึดอำนาจแผ่นดินใหญ่และได้สถาปนาประเทศเป็น “ สาธารณรัฐประชาชนจีน” หลังจากนั้นจีนได้ปิดประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่การที่จีนปิดประเทศนั้น มีการปกครองอย่างเข้มงวดด้วยการชี้นำของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ทำให้ประเทศจีนถูกมองว่าเป็นประเทศที่ลึกลับ
พรรคคอมมิวนิสต์จีนกับการปฏิวัติจีน ค.ศ.1921-1949
ต้นปี ค.ศ. 1920 องค์การคอมมิวนิสต์สากล (Comintern) ได้ส่งคนมาติดต่อและรวบรวมชาวจีนที่นิยมลัทธิมาร์กซ์เพื่อจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน และมีการจัดประชุมสมัชชาพรรคครั้งแรกวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.1921 ที่เซี่ยงไฮ้ซึ่งถือว่าเป็นจุดกำเนิดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ตลอด 28 ปี ตั้งแต่สถาปนาพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปี ค.ศ.1921 พรรคคอมมิวนิสต์ต้องปรับยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ในการปฏิวัติหลายครั้ง และประสบชัยชนะในปี ค.ศ. 1949
ตามธรรมนูญพรรค กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคแห่งชาติ (Party Congress) ทุก 5 ปี นับตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งพรรคขึ้นในปี 2464 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคมาแล้ว 16 ครั้ง โดยครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในปลายปี 2550
คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (Central Committee) เป็นตัวแทนสมัชชาพรรคแห่งชาติในการนำนโยบายของพรรคไปปฏิบัติ โดยคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีการประชุมเต็มคณะอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ตามคำสั่งของกรมการเมือง (Politburo) ส่วนสมาชิกกรมการเมืองมีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน และสมาชิกถาวรกรมการเมืองมีการประชุมเป็นประจำทุกอาทิตย์
ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีสมาชิกประมาณ 70.8 ล้านคน (สถิติปี 2549) กระจายอยู่ทั่วประเทศและจะคัดเลือกผู้แทนระดับชาติจากมณฑลต่าง ๆ จากกองทัพ และจากองค์กรของรัฐรวมประมาณ 2,100 คน เข้าร่วมการประชุมสมัชชาพรรค และในจำนวนนี้จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรค ชุดปัจจุบันมีสมาชิก 198 คน และสมาชิกสำรองอีก 158 คน จากจำนวนสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรค 198 คน จะได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกกรมการเมืองจำนวน 25 คน โดยแบ่งเป็นสมาชิก 24 คน และสมาชิกสำรอง 1 คน และจากจำนวนสมาชิก 24 คน จะได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกถาวรประจำกรมการเมืองจำนวน 9 คน ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีความสำคัญทางการเมืองระดับสูงสุดของจีน และหนึ่งในจำนวน 9 คน จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุด และจะได้รับตำแหน่งประธานาธิบดีโดยอัตโนมัติ
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1949 -1988
นับตั้งแต่การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนจนถึงปัจจุบัน จีนได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
วิกฤตการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ.1989
หลังจาก หูเย่าปัง อดีตเลขาธิการใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนถึงแก่กรรมลง นักศึกษาหลายพันคนได้พากันเดินขบวนที่ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ร้องตะโกนสดุดีหูเย่าปังประชาธิปไตยและเสรีภาพ การตายของ หูเย่าปังได้กลายเป็นขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาจีนอีกครั้งหนึ่ง
การเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาเป็นรูปแบบการเดินขบวนจากมหาวิทยาลัยต่างๆไปยังจัตุรัสเทียนอันเหมิน นักศึกษาเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งห้ามการเดินขบวนและต้องการให้รัฐบาลเพิ่มเงินอุดหนุนด้านการศึกษามากขึ้นและเรียกร้องให้ผู้นำเปิดเผยรายได้และทรัพย์สิน ในระยะแรกมีนักศึกษาร่วมเดินขบวนเพียงไม่กี่พันคน
ระยะที่สอง นักศึกษาได้เปลี่ยนยุทธวิธีการเดินขบวนมาเป็นการชุมนุมรียกร้องประชาธิปไตยที่ จุตุรัสเทียนอันเหมิน จำนวนผู้ชุมนมมีมากถึงแสนคน นักศึกษาได้เรียกร้องให้ทางการส่งผู้แทนมาเจรจากับนักศึกษา แต่การเจรจาไม่คืบหน้า นอกจากนั้นมีการชุมนุมประท้วงที่เมืองใหญ่อื่นๆ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนเสนอให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบและควรมีการเจรจากัน
ระยะที่สาม นักศึกษาจีนที่ร่วมชุมนุมประมาณ 2,000 คน ได้ประกาศอดอาหารเพื่อประท้วงรัฐบาลจีน เลขาธิการพรรคเรียกร้องให้นักศึกษายุติการชุมนุมเพื่อเห็นแก่ประเทศชาติ แต่ไม่เป็นผล นักศึกษาไม่สนใจและมีจำนวนนักศึกษาที่อดอาหารเพิ่มขึ้นถึง 3,000 คน
ในตอนค่ำสภาแห่งรัฐหรือคณะรัฐมนตรีได้ยื่นคำขาดให้นักศึกษายุติการชุมนุมประท้วงภายในเที่ยงคืน มิฉะนั้นจะใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด นักศึกษาได้ตัดสินใจยุติการอดอาหาร แต่ไม่ยอมยุติการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย
มีผู้เข้าร่วมเรียกร้องประชาธิปไตยนับแสนคนยืดเยื้อมาถึง 7 สัปดาห์ เนื่องจากสาเหตุดังนี้
- สภาพสุญญากาศทางอุดมการณ์ : การพัฒนาสี่ทันสมัยอุดมการณ์มาร์กซ์และเลนิน มีความล้าสมัย ไม่เหมาะสมต่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตามนโยบายที่ทันสมัย อุดมการณ์จึงถูกละเลย
- อิทธิพลของความคิดแบบตะวันตก : ในช่วงปฏิรูปเศรษฐกิจจีนได้เปิดประเทศรับเทคโนโลยีและความคิดใหม่ๆ จากตะวันตกมากขึ้น และมีทั้งอาจารย์ ครู นักศึกษาได้ออกไปศึกษาค้นคว้าในประเทศตะวันตกเป็นจำนวนหลายหมื่นคน บุคคลเหล่านี้จึ้งได้รับความคิดเสรีนิยม โดยเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเสรีภาพและประชาธิปไตย โดยมองว่าระบบคอมมิวนิสต์ไม่เป็นประชาธิปไตยและล้มเหลว
- ความไม่สอดคล้องระหว่างระบบการเมืองกับระบบเศรษฐกิจ : เนื่องจากระบบเศรษฐกิจเป็นระบบกระจายอำนาจการวางแผนและการตัดสินใจจากส่วนกลางไปสู่โรงงานและผู้จัดการ ตลอดจนไปสู้ครอบครัวเกษตรกรผู้ผลิต ระบบการเมืองเป็นระบบเผด็จการ ที่รวมศูนย์อำนาจ นำไปสู้ความขัดแย้งและตึงเครียด
- ความไม่พอใจต่อการฉ้อราษฎร์บังหลวง : การกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจเปิดโอกาสให้เอกชนทำธุรกิจส่วนตัวมีรายได้เพิ่มขึ้น นำไปสู่การติดสินบนแก่เจ้าหน้าที่
- ความไม่พอใจในระบบอุปถัมภ์วงศาคณาญาติในหมู่ผู้นำจีน : ผู้นำจีนได้ใช้อภิสิทธ์ช่วยเหลือให้วงศาคณาญาติได้ตำแหน่งหรือการทำงานที่ดีๆ ซึ่งเป็นความไม่เท่าเทียมและไม่ยุติธรรม
- ความไม่พอใจต่อปัญหาเงินเฟ้อ : หลังจาการปฏิรูปเศรษฐกิจ รัฐบาลจีนได้ปล่อยให้ราคาสินค้าบางชนิดลอยตัวตามกลไกตลาด จึงเกิดปัญหาเงินเฟ้อขึ้น
การเมืองจันหลังวิกฤตการณ์เทียนอันเหมิน ค.ศ.1990 จนถึงปัจจุบัน
การเมืองของจีนในช่วงหลังวิกฤตการณ์เทียนอันเหมินยังคงเป็นการเมืองของระบบคอมมิวนิสต์ที่รวมศูนย์อำนาจทางการเมืองอยู่ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีน และผู้นำระดับสูงของพรรคเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่มีบทบาทในการตัดสินใจและกำหนดนโยบายต่างๆของจีน กลุ่มผู้นำแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำแนวแรก (First line) หรือแนวหน้า (Front line) หมายถึงตำแห่งกลุ่มผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญของพรรค อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มผู้นำแนวที่สอง (Second line) มักเป็นผู้นำอาวุโส มีประสบการณ์มากมายให้คำปรึกษาหรืออยู่เบื้องหลัง
ในระหว่างวิกฤตการณ์เทียนอันเหมินจนถึงปัจจุบัน การเมืองจีนอยู่ในระบบเปลี่ยนผ่าน จากผู้นำรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
ระบบการเมืองการปกครองจีนในปัจจุบัน
สาธารณรัฐประชาชนจีน แบ่งการปกครองเป็นสองระดับ ได้แก่ การบริหารส่วนกลาง และการบริหารส่วนภูมิภาค
- การบริหารส่วนกลาง คือ รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี คณะมุขมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ประธานคณะกรรมการต่าง ๆ ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบบัญชี และเลขาธิการ รัฐบาลกลางของจีนมีอำนาจเหนือองค์กรบริหารส่วนภูมิภาคท้องถิ่นทั้งหมด
- การบริหารส่วนภูมิภาค รัฐบาลส่วนภูมิภาคระดับต่าง ๆ แบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ รัฐบาลประชาชนระดับมณฑล รัฐบาลประชาชนระดับท้องที่ รัฐบาลประชาชนระดับอำเภอ และรัฐบาลประชาชนระดับตำบลหมู่บ้าน
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีรูปแบบการปกครองในพื้นที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
- มณฑล แบ่งเป็น 23 มณฑล ซึ่งรวมไต้หวันอยู่ด้วย คือ เหอเป่ย ชานสี เหลียวหนิง จี๋หลิน เฮยหลงเจียง เจียงซู เจ้อเจียง อานหุย ฝูเจี้ยน เจียงซี ชานตง เหอหนาน หูเป่ย หูหนาน กวางตุ้ง ไห่หนาน เสฉวน กุ้ยโจว ยูนนาน ส่านซี กานซู ชิงไห่
- เขตปกครองตนเอง 5 เขตปกครองตนเอง คือเขตที่พลเมืองส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ มองโกเลียใน (ชนชาติมองโกล) หนิงเซี่ย (เขตที่นับถือศาสนาอิสลาม) ซินเจียง (ชนชาติอุยกูร์) กวางสี (ชนชาติจ้วง) และทิเบต (ชนชาติทิเบต)
- มหานคร 4 มหานคร มีสถานะเทียบเท่ามณฑล แต่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง คือ กรุงปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ นครเทียนจิน และนครฉงชิ่ง
- เขตบริหารพิเศษ 2 เขต ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของจีน แต่คงวิถีการปกครองและเศรษฐกิจของตนเอง ตามหลักการ"หนึ่งประเทศ สองระบบ"
ในแต่ละมณฑล (ยกเว้นไต้หวัน) เขตปกครองตนเองและมหานครเหล่านี้ จะมีผู้ว่าการมณฑล ประธานเขต หรือนายกเทศมนตรีของมหานคร ซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดยสภาประชาชนในแต่ละมณฑล และต้องได้รับความเห็นชอบของพรรคคอมมิวนิสต์ ให้เป็นผู้บริหารจัดการเรื่องภายในมณฑลหรือเขตการปกครองของตนเอง
อย่างไรก็ตาม พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะแต่งตั้งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ไปกำกับดูแลด้วย ถือเป็นการปกครองจากรัฐบาลกลางอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์นี้ จะมีอำนาจเหนือผู้ว่าการมณฑล ประธานเขตการปกครองและนายกเทศมนตรีของมหานคร สำหรับผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกงและมาเก๊า แม้จะได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากพรรคคอมมิวนิสต์เสียก่อนจึงจะเข้ารับตำแหน่งได้
- สภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ Chinese People’s Political Consultative Conference – CPPCC
สภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ เปรียบเสมือนสภา "พี่เลี้ยง" ของ สภาประชาชนแห่งชาติ หน้าที่ทสำคัญของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ คือ เป็นที่ปรึกษาทางการเมือง ควบคุมดูแลด้านประชาธิปไตย เข้าร่วมในกิจกรรมด้านการเมือง และเสนอแนะความคิดเห็นด้านการเมืองในขอบข่ายของพรรคการเมือง สมาคมและกลุ่มชนส่วนน้อยต่างๆ มีหน้าที่ให้ความเห็นต่อการดำเนินการของสภาประชาชนแห่งชาติ
สมาชิกสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ มีการประชุมเต็มคณะปีละ 1 ครั้ง ควบคู่ไปกับการประชุมเต็มคณะของสภาประชาชนแห่งชาติ สมาชิกสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติแต่ละคนมีวาระ 5 ปี สภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติสมัยปัจจุบันนับเป็นชุดที่ 10 นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และจะอยู่ในวาระจนถึงปี 2551
ปัจจุบัน สภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ มีประธาน คือ นายเจีย ชิ่งหลิน ซึ่งมีอาวุโสเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศ มีรองประธาน 27 คน การแต่งตั้งประธาน รองประธาน เลขาธิการ และกรรมการประจำของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ มาจากการเสนอชื่อของคณะผู้แทนพรรค การเมือง สมาคม ชนส่วนน้อยกลุ่มต่างๆ และตัวแทนคณะบุคคลต่างๆ และผ่านการคัดสรรจากที่ประชุมคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติ เต็มคณะ ในลำดับสุดท้าย
สภาที่ปรึกษาทางการเมือง มีคณะกรรมาธิการกำกับดูแลงานด้านต่าง ๆ 9 คณะ ดังนี้
- คณะกรรมาธิการทั่วไป มีหน้าที่เสนอญัตติ
- คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ
- คณะกรรมาธิการด้านประชากร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
- คณะกรรมาธิการด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สุขภาพและกีฬา
- คณะกรรมาธิการด้านสังคมและกฎหมาย
- คณะกรรมาธิการด้านจริยธรรมและศาสนา
- คณะกรรมาธิการดูแลความสัมพันธ์กับฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชาวจีนโพ้นทะเล
- คณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศ
- คณะกรรมาธิการด้านประวัติศาสตร์
สภาประชาชนแห่งชาติ
มีหน้าที่ออกกฎหมายและแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ ให้ความเห็นชอบต่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ งบประมาณของรัฐ และมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี ประธานศาลสูงสุด และตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ เช่น ประธานคณะกรรมาธิการทหารแห่งชาติสภาประชาชนแห่งชาติ มีประธาน คือ นายอู๋ ปางกั๋ว ซึ่งมีอาวุโสเป็นลำดับที่ 2 ของพรรคคอมมิวนิสต์และของประเทศ รองจากประธานาธิบดี มีรองประธาน 15 คน และมีสมาชิกทั้งหมด 2,985 คน การ เลือกตั้งสมาชิกสภาประชาชนแห่งชาติ ทำตามลำดับขั้น คือ ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นเลือกตั้งผู้แทนของตนเอง ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกจะทำการเลือกตั้งต่อไปเป็นขั้นๆ อีก 5 ขั้น ตามลำดับคือ
- ระดับตำบลและหมู่บ้าน
- ระดับอำเภอ
- ระดับเมือง
- ระดับมณฑลและเขตปกครองตนเอง
- ระดับชาติ
สภาประชาชนแห่งชาติมีการประชุมปีละ 1 ครั้ง สมาชิกแต่ละคนมีวาระ 5 ปี สภาประชาชนแห่งชาติสมัยปัจจุบันนับเป็นชุดที่ 10 นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และจะอยู่ในวาระจนถึงปี 2551
องค์กรสำคัญที่เป็นหัวใจของสภาประชาชนแห่งชาติ คือ คณะกรรมการประจำ (Standing Committee) ซึ่ง เป็นหน่วยงานบริหารที่มีอำนาจร่างกฎหมาย แทนสภาประชาชนแห่งชาติ ประกอบด้วยประธานสภาประชาชนแห่งชาติ รองประธาน เลขานุการ และสมาชิกจำนวน 155 คน มีการประชุมเป็นประจำทุก 2 เดือน
คณะรัฐมนตรีจีน
คณะรัฐมนตรีจีน เป็นองค์การบริหารที่สำคัญที่สุดของ ประเทศ มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งออกโดยสภาประชาชนแห่งชาติ และควบคุมดูแลงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระดับต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งดูแลกิจการต่างประเทศและการทำสนธิสัญญาต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีอำนาจประกาศสภาวะฉุกเฉินในมณฑลต่างๆ และตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารประเทศด้วย คณะรัฐมนตรีจีนมีนายหลี่ เค่อเฉียง เป็นนายกรัฐมนตรี มีรองนายกรัฐมนตรี 4 คนและมีมนตรีแห่งรัฐ (state councilor) ซึ่งมีอาวุโสต่ำกว่ารองนายกรัฐมนตรีแต่สูงกว่ารัฐมนตรี จำนวน 5 คน รับผิดชอบกำกับดูแลงานของกระทรวงต่างๆ
คณะรัฐมนตรีจีน เป็นองค์การบริหารที่สำคัญที่สุดของ ประเทศ มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งออกโดยสภาประชาชนแห่งชาติ และควบคุมดูแลงานขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระดับต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งดูแลกิจการต่างประเทศและการทำสนธิสัญญาต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีอำนาจประกาศสภาวะฉุกเฉินในมณฑลต่างๆ และตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารประเทศด้วยคณะรัฐมนตรีจีนมีนายเวิน เจียเป่า เป็นนายกรัฐมนตรี มีรองนายกรัฐมนตรี 4 คนและมีมนตรีแห่งรัฐ (state councilor) ซึ่งมีอาวุโสต่ำกว่ารองนายกรัฐมนตรีแต่สูงกว่ารัฐมนตรี จำนวน 5 คน รับผิดชอบกำกับดูแลงานของกระทรวงต่างๆ
คณะรัฐมนตรีจีนประกอบด้วยกระทรวงและหน่วยงานในระดับกระทรวง 28 หน่วยงาน ดังนี้
- กระทรวงการต่างประเทศ
- กระทรวงกลาโหม
- คณะกรรมาธิการวางแผนพัฒนาการแห่งชาติ
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- คณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
- คณะกรรมาธิการกิจการชนชาติ
- กระทรวงรักษาความมั่นคงภายใน
- กระทรวงความมั่นคงแห่งชาติ
- กระทรวงตรวจสอบ
- กระทรวงกิจการพลเรือน
- กระทรวงยุติธรรม
- กระทรวงการคลัง
- กระทรวงบุคลากร
- กระทรวงแรงงานและประกันสังคม
- กระทรวงที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ
- กระทรวงการก่อสร้าง
- กระทรวงรถไฟ
- กระทรวงคมนาคม
- กระทรวงกิจการโทรคมนาคมและสารสนเทศ
- กระทรวงชลประทาน
- กระทรวงเกษตร
- กระทรวงพาณิชย์
- กระทรวงวัฒนธรรม
- กระทรวงสาธารณสุข
- คณะกรรมาธิการวางแผนครอบครัวแห่งชาติ
- ธนาคารประชาชนจีน (ธนาคารชาติ)
- สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินสำหรับการดำเนินนโยบายของจีนต่อชาวจีนที่มิได้อยู่ในแผ่นดินใหญ่
มีหน่วยงานที่วางนโยบายและดูแลเฉพาะด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับท้องที่เหล่านั้น คือ ฮ่องกงและมาเก๊า (Hong Kong and Macao Affairs Office) ไต้หวัน (Taiwan Affairs Office) และชาวจีนโพ้นทะเล (Overseas Chinese Affairs Office)
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีจีนยังรับผิดชอบดูแลหน่วยงานอื่นๆ อีกมาก ที่สำคัญ อาทิ สำนักข่าวซินหัว (Xinhua News Agency) ซึ่ง เป็นแหล่งข่าวของรัฐบาล สภาวิทยาศาสตร์ สภาสังคมศาสตร์ สภาวิศวกรรมศาสตร์ และหน่วยงานกำกับดูแลด้านกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเงินและการคลังของประเทศอีกด้วย
ระบบศาลของจีน
จีนมีศาลประชาชนสูงสุด (Supreme People’s Court) เป็น องค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในการพิพากษา มีอิสระในการใช้อำนาจพิพากษาพิจารณาความ ในขณะเดียวกันก็เป็นองค์กรสูงสุดที่ควบคุมตรวจสอบงานพิพากษาของศาลประชาชน ท้องถิ่นระดับต่างๆ มีหน้าที่พิพากษาคดีที่สำคัญ ตามที่กฎหมายกำหนด คดีที่มีการอุทธรณ์จากศาลต่างๆ และคดีที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ ตีความกฎหมายต่างๆ พิพากษาโทษประหารชีวิต นอกจากนี้ ศาลประชาชนสูงสุดยังมีอำนาจควบคุมงานของศาลท้องถิ่นต่างๆ รวมทั้งสามารถนำคดีที่ผ่านการพิพากษาจากศาลท้องถิ่นแล้วมาพิจารณาใหม่ หรือสั่งให้ศาลเหล่านั้นทำการพิพากษาอีกครั้งได้
ในระดับภูมิภาค มีศาลประชาชนสูงสุดในแต่ละมณฑล เขตปกครองตนเอง และเทศบาลนครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ซึ่งแบ่งเป็น ศาลประชาชนขั้นสูง ขั้นกลาง และขั้นพื้นฐาน ซึ่งศาลประชาชนสูงสุดมีอำนาจเหนือศาลภูมิภาคทั้งหมด
สำนักงานอัยการ
โครงสร้างของสำนักงานอัยการของจีนแบ่งออกเป็น 4 ระดับขั้น คือ ขั้นพื้นฐาน ขั้นกลาง ขั้นสูง และสำนักงานอัยการสูงสุดของประชาชน
สำนักงานอัยการสูงสุดของประชาชน (Supreme People’s Procuratorates) เป็นองค์กรตรวจสอบสูงสุดของจีน เป็นตัวแทนของรัฐในการใช้อำนาจตรวจสอบอย่างเป็นอิสระ ภาระหน้าที่หลัก คือ ทหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานตามกฎหมายของสำนักงานอัยการท้องถิ่น ระดับต่างๆ รวมทั้งสำนักงานอัยการเฉพาะด้าน สำนักงานอัยการสูงสุดของประชาชนอยู่ภายใต้คณะกรรมการประจำของสภาประชาชนแห่งชาติ
ในระดับภูมิภาค จีนมีสำนักงานอัยการซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะในแต่ละท้องที่ ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุดของประชาชน สำนักงานอัยการท้องถิ่นระดับต่างๆ และสำนักงานอัยการทหาร สำนักงานอัยการ เป็นองค์กรควบคุมฝ่ายตุลาการของจีน ทำหน้าที่ตรวจสอบคดีที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ คดีที่ทำให้เกิดความแตกแยกในชาติ คดีที่มีโทษร้ายแรง เป็นต้น ทั้งยังทำการพิจารณาคดีความที่ทางสันติบาลได้ทำการสืบสวนแล้ว เพื่อตัดสินว่าจะจับกุมหรือ ส่งฟ้องหรือไม่ สำนักงานอัยการยังทำหน้าที่ยื่นฟ้องต่อศาล หรือสนับสนุนการฟ้องในคดีอาญาที่ได้ตรวจสอบแจ่มชัดแล้ว นอกจากนี้ จะทำการควบคุมตรวจสอบความชอบธรรม ของการเคลื่อนไหวในองค์การสันติบาล ศาลประชาชน สถานจองจำ สถานที่ควบคุมดูแลและองค์กรเพื่อการใช้แรงงานเป็นต้น
- ระบบทหารและการป้องกันประเทศ
โครงสร้างทหารของจีน
จีนมีคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ (Central Military Commission) เป็น องค์กรสูงสุด ในการควบคุมกำลังติดอาวุธทั้งหมดทั่วประเทศจีน คณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ มีฐานะเทียบเท่าคณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา และอัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ จะได้รับการเสนอชื่อจากพรรคคอมมิวนิสต์ และมักเป็นบุคคลเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อให้อำนาจในการปกครองประเทศเป็นไปอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในพรรค ซึ่งก็จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีนด้วยในเวลาเดียวกัน ปัจจุบัน นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ คณะกรรมการกลางด้าน การทหารแห่งชาติ ประกอบด้วยประธาน 1 ตำแหน่ง รองประธาน 3 ตำแหน่ง และกรรมการ 7 ตำแหน่ง ใช้ระบบรับผิดชอบโดยประธาน เป็นผู้วางนโยบายและมีอำนาจสูงสุด วาระของกรรมการกลางด้านการทหารแห่งชาติในแต่ละสมัย มีวาระ 5 ปี แต่ไม่ได้จำกัดจำนวนสมัยของการดำรงตำแหน่งของประธาน รองประธาน และกรรมการ
จีนมีคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ (Central Military Commission) เป็น องค์กรสูงสุด ในการควบคุมกำลังติดอาวุธทั้งหมดทั่วประเทศจีน คณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ มีฐานะเทียบเท่าคณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา และอัยการสูงสุด ประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ จะได้รับการเสนอชื่อจากพรรคคอมมิวนิสต์ และมักเป็นบุคคลเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อให้อำนาจในการปกครองประเทศเป็นไปอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในพรรค ซึ่งก็จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีนด้วยในเวลาเดียวกัน ปัจจุบัน นายหู จิ่นเทา ประธานาธิบดีจีน ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งชาติ คณะกรรมการกลางด้าน การทหารแห่งชาติ ประกอบด้วยประธาน 1 ตำแหน่ง รองประธาน 3 ตำแหน่ง และกรรมการ 7 ตำแหน่ง ใช้ระบบรับผิดชอบโดยประธาน เป็นผู้วางนโยบายและมีอำนาจสูงสุด วาระของกรรมการกลางด้านการทหารแห่งชาติในแต่ละสมัย มีวาระ 5 ปี แต่ไม่ได้จำกัดจำนวนสมัยของการดำรงตำแหน่งของประธาน รองประธาน และกรรมการ
|