ประวัติศาสตร์

ภูมิประเทศ

ภูมิอากาศ

วัฒนธรรมประเพณี






























ธงชาติจีน                                                                                                                                                                               หมายถึงธงประจำชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเรียกทั่วไปว่า ธงแดงดาว 5 ดวง มีต้นแบบมาจากธงชาติจีนที่เจิงเหลียนซง นักเศรษฐศาสตร์และศิลปินชาวรุ่ยอาน ออกแบบและ ส่งเข้าประกวดต่อสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีน(ซึ่งเป็น 1 ในธง 3,012 แบบที่ส่งเข้าประกวดจากทั่วประเทศ) ภายหลังสภาที่ปรึกษาทางการเมืองได้ปรับปรุงแบบธงบางประการและประกาศรับรองแบบธงเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2492 และ ประกาศใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการในวันสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน พร้อมกับการประกาศใช้เพลงชาติและตราสัญลักษณ์ประจำชาติ
ลักษณะธง                                                                                                                                                                                               ธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นธงรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นสีแดง ที่มุมธงบนด้านต้นธงมีรูปดาวสีเหลือง 5 ดวง ลักษณะเป็นรูปดาวดวงใหญ่ 1 ดวง ล้อมรอบด้วยดาวดวงเล็กอีก 4 ดวง
ความหมายในธง                                                                                                                                                                                 
พื้นสีแดง หมายถึง สัญลักษณ์ของการปฏิวัติจีน                                                                                                             
ดวงดาวสีเหลือง 5 ดวง ซึ่งเรียงกันคล้ายกับลักษณะแผนที่ประเทศจีน หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาวจีนทั้งประเทศ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติจีน  ดาวดวงใหญ่ หมายถึง ผู้นำแห่งกิจการงานทั้งปวง ได้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติจีน                                                    
ดาวดวงเล็ก 4 ดวง
มีนัยสำคัญหลายประการ ดังที่เจิงเหลียนซง ผู้ออกแบบธงชาติ ได้อธิบายไว้ดังนี้
-  ประชาชนชาวจีนซึ่งขณะนั้นมีราว 400 ล้านคน                                                                                                                                     
-  ชนชั้นหลักทั้ง 4 ในสังคม คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นเกษตรกร ชนชั้นนายทุนน้อย (หรือเจ้าของกิจการขนาดเล็ก) และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ   
 
-  กำลังสำคัญของประเทศ 4 ฝ่าย ได้แก่ พรรคการเมืองจากมวลชน ประชาชนทุกหมู่เหล่าในสังคม - บุคคลจากทุกวงการ ชาวจีนชนเผ่าต่างๆ ทั้ง 56 ชนเผ่าและชาวจีนโพ้นทะเล-  ประวัติศาสตร์ชนชาติจีนอันยาวนานกว่า 4,000 ปี
สีเหลือง หมายถึง ชาวจีนซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มคนผิวเหอง และประเทศที่มีดินสีเหลืองเป็นผืนแผ่นดินส่วนใหญ่
เสาธงชาติจีน                                                                                                                                                                      
    นับตั้งแต่เริ่มใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน เสาธงชาติจีนซึ่งตั้งอยู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เคยถูกเปลี่ยนเพียงแค่ครั้งเดียว โดยเสาที่ใช้เมื่อครั้งพิธีสถาปนาประเทศมีความสูงเพียง 22 เมตร หลังใช้งานอยู่ 42 ปี หลายฝ่ายพิจารณาเห็นว่า เสาธงดูทรุดโทรมไปมาก ประกอบกับสถานที่สำคัญบริเวณนั้น ทั้งอาคารรัฐสภา พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ และอนุสรณ์สถานเหมาเจ๋อตง ล้วนได้รับการบูรณะตกแต่งใหม่ จนทำให้เสาเดิมดูเตี้ยเกินไป จึงได้เปลี่ยนเสาธงชาติจีนใหม่ที่มีความสูง 32.6 เมตร ในวันที่ 1 พฤษภาคม 1991 และใช้มาจนถึงทุกวันนี้    เสาธงชาติจีนที่เปลี่ยนใหม่ ถูกออกแบบอย่างพิถีพิถัน มีฐาน 3 ชั้น โดยชั้นในสุด เป็นรั้วหินอ่อนสีขาวสูง 80 เซนติเมตรล้อมสี่ด้าน เว้นเป็นช่องทางเดินแนวตะวันออก-ตะวันตก ชั้นที่สองล้อมด้วยพื้นหินแกรนิตสีเลือดหมูกว้างกว่า 2 เมตร แทนความหมายให้ ‘ประเทศชาติมั่นคง’ ส่วนชั้นนอกสุดออกแบบให้เป็นพื้นที่สีเขียวตลอดปี แทนสัญลักษณ์ให้ ‘ประเทศชาติรุ่งเรืองตลอดกาล’ รอบฐานเสายังมีรั้วทองเหลือง 56 ต้นพร้อมโซ่คล้องเชื่อมเป็นวงกลม แทน ‘ชาวจีน 56 ชนเผ่า’ ที่ผสานมือร้อยใจเป็นหนึ่งเดียวกันใต้ร่มธงชาติแดนมังกร

การเชิญธงชาติ                                                                                                                                                                     
กฎหมายธงชาติจีน ฉบับปี 1990 กำหนดว่า การเชิญธงชาติขึ้น ต้องเชิญให้ถึงยอดเสา ส่วนการเชิญธงลง ห้ามธง ชาติสัมผัสพื้น ดังนั้น ทหารผู้เชิญธงจึงถูกฝึกให้มีความชำนาญในการเก็บรวบปลายธงชาติมาเป็นอย่างดี โดยภายใน 2.07  นาทีของเพลงชาติจีน ช่วงที่ธงชาติเริ่มต่ำลงมา ทหารนายหนึ่งจะใช้สองมือจับธงไว้ ส่วนทหารอีกนายจะเร่งจับธงพับซ้อน กันให้ได้ 13-15 พับ
 การเปลี่ยนธงชาติ                                                                                                                                                                 
กฎหมายธงชาติจีน ยังระบุว่า ห้ามนำธงชาติที่ชำรุด สกปรก สีตก หรือไม่ตรงตามมาตรฐานมาใช้โดยเด็ดขาด และเพื่อให้ธงชาติจีนดูสะอาดสีสดมีสง่าราศีอยู่เสมอ จึงกำหนดให้เปลี่ยนธงที่ใช้ทุกวัน โดยธงแต่ละผืนมีอายุการใช้งานไม่เกิน 10 วัน นอกจากนั้น ในเทศกาลสำคัญประจำชาติจะต้องใช้ธงใหม่เสมอ 

ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติจีน                                                                                                                                                                    เพลงชาติจีนเป็นเพลงที่นำมาจากเพลง March of the volunteer ซึ่งแต่งเนื้อร้อง โดยเถียนฮั่น และแต่งทำนองโดย เนี่ยเอ่อ ในปี 1935 โดยแต่งขึ้นเพื่อสดุดีเหล่าวีรชนที่ต่อสู้กับกองทัพญี่ปุ่นผู้รุกรานเข้ามาทางตะวันออกเฉียงเหนือ

เงินของประเทศจีน
สกุลเงินของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนคือเงินเหยินหมินปี้ ( Renminbi แปลตามตัวว่าเงินของประชาชน ) มักใช้ตัวย่อ RMB หน่วยเงินของจีนเรียกว่าหยวน ( yuan ) หนึ่งหยวนมีสิบเจี่ยว ( jiao ) หนึ่งเจี่ยวมีสิบเฟิน ( fen ) 100 เฟินเท่ากับหนึ่งหยวน ธนบัตรแบ่งออกเป็นใบละ 1 หยวน , 5 เจี่ยว , 1,2 และ 5 เฟิน เงินสกุลหยวนของจีน เรียกย่อ ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า  RMB หรือ CNY  ซึ่ง CNY เข้าใจได้ง่ายกว่า คือ Chinese Yuan  แต่ RMB ย่อมาจากคำว่า RenMinBi   (เหริน หมิน ปี้) ซึ่งแปลว่า  People's Replublic of China Money เงินตราของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
เฟินเป็นหน่วยเล็กสุด < เจี่ยวหรือเหมาเป็นหลักสิบ < จากนั้นเป็นหยวน

สกุลเงินของจีนเรียกว่า 人民币 (Rén Mín Bì เหรินหมินปี้ ใช้ตัวอักษรย่อว่า RMB)
มีหน่วยเรียกเป็น "หยวน (元) " ภาษาพูดเรียกว่า ไคว่ (块)
อัตราแลกเปลี่ยนปกติจะอยู่ที่ 1 หยวนประมาณ 5 บาท

เงินจีนมีทั้งแบบที่เป็นธนบัตร (钞票 Chāo piào เชาเพี่ยว) และเงินเหรียญ (硬币 Yìng Bì อิ้งปี้)
ธนบัตรของจีนแบ่งออกเป็น 100 หยวน, 50 หยวน, 20 หยวน, 10 หยวน, 5 หยวน และ 1 หยวน
นอกจากนี้ยังมีธนบัตรและเงินเหรียญที่มูลค่าน้อยกว่านี้ ได้แก่ 1 และ 5 เจี๋ยว (角) ซึ่งภาษาพูดเรียกว่า เหมา (毛)
และยังมี 1, 2 และ 5 เฟิน (分) โดยเงินเฟินจะมีมูลค่าน้อยที่สุด

ธนบัตรของจีนมีตั้งแต่ใบละ 1 หยวนจนถึงใบละ 100 หยวน แต่ก็มีฉบับละ 500 หยวนเหมือนกัน แต่จีนไม่ได้เอามาใช้กัน  ด้านหน้าธนบัตรเป็นรูปบุคคล และเกือบทุกใบมีภาพของประธานเหมา เมื่อพลิกดูด้านหลังเห็นมีรูปวิวต่างๆ

รายละเอียดแต่ละธนบัตร
แบงค์ห้าหยวนฉบับนี้ มีวิวภูเขาไท่ซาน และภาพจารึกบนศิลาของ "ยอดเขาศักดิ์สิทธิ์ห้ายอด" ในเมืองจีน   ซึ่งมี                               
1.ยอดเขาตะวันออก ไท่ซาน 东岳泰山、                                                                                                                                    
2.ยอดเขาตะวันตก หัวซาน 西岳华山、                                                                                                                              
3.ยอดเขาภาคเหนือเหิงซาน 北岳恒山、                                                                                                                              
4.ยอดเขาภาคกลาง ซงซาน 中岳嵩山、                                                                                                                                    
5.ยอดเขาภาคใต้เหิงซาน 南岳衡山

แบงค์ห้าหยวนอีกหนึ่งเวอร์ชั่น มีรูปวิวหนึ่งในสิบสุดยอดวิวของจีน ที่ชื่อว่า สามช่องแคบแห่งแม่น้ำแยงซีเกียง:ช่องแคบวู อยู่เมืองฉงชิ่ง (สามช่องแคบ ได้แก่ ช่องแคบ 瞿塘峡 qūtángxiá, 巫峡 wūxiá, 西陵峡 xīlíngxiá)
เงินสิบหยวนฉบับนี้มีวิวชื่อว่า 珠穆朗玛峰 zhū mù lǎng mǎ fēng (จูมู่หล่างหม่าฟง) ในทิเบต ซึ่งมีลักษณะเดี่ยวกันกับยอดเขาเอเวอร์เรสต์
เงินใบละ 20 หยวน เป็นวิวจากกุ้ยหลินชื่อ 桂林山水甲天下 guìlín shānshuǐ jiǎ tiān xià แปลเป็นไทยให้ยิ่งใหญ่ คือ "ภูผามหานทีแห่งกุ้ยหลิน เป็นหนึ่งในใต้หล้า"
เงินใบละ 50 หยวน เป็นวิวจากทิเบตอีกแห่งหนึ่ง คือพระราชวังโปตาลา วังฤดูหนาวของดาไลลามะ
เงินใบละ 100 หยวน เป็นภาพของหอประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติจีน จตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง

เทศกาลและประเพณีต่างๆของจีน
ประเพณีจีน เป็นเทศกาลที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยอดีตมาจนถึงปัจจุบัน อันเป็นจุดกำเนิดของชาวจีน ร่วมค้นหาประวัติความเป็นมา และความหมายที่ซ่อนเร้นไว้ในประเพณีต่างๆ ตำนาน ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อประวัติศาสตร์ อารยธรรมเก่าแก่อันล้ำค่าของจีนยุคโบราณ บอกกล่าวผ่านงานศิลปะแขนงต่างๆ ให้โลกได้รับรู้ ประเพณีต่างๆของจีนมีดังต่อไปนี้

เทศกาลหยวนเซียว (โคมไฟ)
                เทศกาลหยวนเซียวซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญของจีนนี้ ได้มีมากกว่า 2,000 ปี โดยตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน จะนับเอาวันที่พระอาทิตย์ โลกและพระจันทร์มาอยู่ในระนาบเดียวกันเป็นวันแรกของปี หรือขึ้นหนึ่ง 1 ค่ำเดือนอ้าย ซึ่งในสมัยโบราณจะเรียกเดือนอ้ายว่า “หยวน” (元) ส่วนคำว่า”เซียว”(宵)หมายถึงกลางคืน เทศกาล เทศกาลนี้จึงหมายถึงคืนที่พระจันทร์เต็มดวงเป็นครั้งแรกของปี (วันตรุษจีนคือวันปีใหม่ของจีน)

บัวลอย ขนมที่นิยมทานในเทศกาล เป็นสัญลักษณ์ของความปรองดอง
นอกจากนั้น กว่า 2,000 ปีที่ผ่านมา เทศกาลหยวนเซียว โดยนัยยะแล้วยังเป็นเทศกาลแห่งคู่รักอีกด้วย เนื่องจากสตรีในอดีต ที่ส่วนใหญ่จะเก็บตัวอยู่แต่ในเรือนชาน ไม่ค่อยมาร่วมกิจกรรมนอกบ้าน ในเทศกาลนี้ จะได้มีโอกาสออกมาชมการประดับโคมไฟ เล่นทายปริศนา ทำให้หนุ่มสาวทั้งหลาย มีโอกาสมองหาและเลือกคู่ครองในอนาคตของตนได้
              สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้ คือการรับประทานบัวลอยที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ภายในมีไส้ทั้งไส้หวานและไส้เค็ม ปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วนำไปต้มหรือนำไปทอด ในยุคแรก ชาวจีนเรียกขนมชนิดนี้ว่า浮圆子ฝูหยวนจื่อ (,浮-ลอย 圆子-ลูกกลมๆ) ต่อมาก็เรียกว่า 汤团ทังถวน(汤-น้ำแกง团-ลูกกลมๆ ) หรือ 汤圆ทังหยวน โดยมีความหมายเหมือนกัน ทั้งออกเสียงใกล้เคียงกัน และ 团圆เมื่อรวมกันแล้ว ก็ได้ความหมายถึงการอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของแต่ละเทศกาลบนแดนมังกร
ทั้งนี้ เนื่องด้วยการรับประทานบัวลอยในคืนหยวนเซียว ปัจจุบันจึงมีการเรียกบัวลอยว่า หยวนเซียวด้วยเช่นกัน ดังนั้น คำว่าหยวนเซียวจึงพัฒนาจนมี 2 ความหมาย หนึ่งคือชื่อเทศกาล สองหมายถึงบัวลอยนั่นเอง

ประเพณีการไหว้เจ้า 
            "การไหว้เจ้า" เป็นประเพณีที่ชาวจีนประพฤติ ปฏิบัติสืบต่อกันมากว่า 3,000 ปี (สมัยราชวงศ์โจว) เพื่อให้เกิดความสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุขความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองและครอบครัว ทั้งกิจการงาน ธุรกิจที่ประกอบอยู่ ชาวจีนจึงมีความเชื่อสืบต่อๆ กันมาว่าในปีหนึ่งๆ มักจะมีสิ่งเลวร้าย เรื่องไม่ดีงาม เรื่องอัปมงคลมากระทบกระทั่ง หรือรบกวนการดำเนินชีวิตของคนเราจนทำให้เกิดอุปสรรคต่างๆ เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย การงานติดขัดไม่ราบรื่น เงินทองไม่คล่อง ทำอะไรก็พบแต่ความยุ่งยาก ค้าขายลำบากมีแต่อุปสรรคบุตรบริวารก่อเรื่องวุ่นวาย นำความยุ่งยากลำบากใจมาให้ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผิดปกติ ทำให้รู้ได้ว่า "ดวงชะตาชีวิต" ไม่ดีนักจึงจะต้องมีการขวนขวายหาที่พึ่ง จึงทำให้ก่อกำเนิดประเพณี การไหว้เจ้า ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ ไหว้บรรพบุรุษขึ้น


การไหว้เจ้า 
                เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ลูกหลานจีนปฏิบัติสืบทอดกันมา ตามความเชื่อที่จะต้องไหว้เจ้าที่และไหว้บรรพบุรุษเพื่อให้เป็นสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ครอบครัว ในปีหนึ่งจะมีการไหว้เจ้า 8 ครั้ง คือ
-ไหว้ ครั้งแรกของปี ไหว้เดือน 1 วันที่ 1 คือ ตรุษจีน เรียกว่า “ง่วงตั้งโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่สอง ไหว้เดือน 1 วันที่ 15 เรียกว่า “ง่วงเซียวโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่สาม ไหว้เดือน 3 วันที่ 4 เรียกว่า “ไหว้เช็งเม้ง” เป็นประเพณีที่ลูกหลานไปไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย
-ไหว้ ครั้งที่สี่ ไหว้เดือน 5 วันที่ 5 เรียกว่า “โหงวเหว่ยโจ่ย” เป็นเทศกาลไหว้ขนมจ้าง
-ไหว้ ครั้งที่ห้า ไหว้เดือน 7 วันที่ 15 คือ ไหว้สารทจีนเรียกว่า “ตงง้วงโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่หก ไหว้เดือน 8 วันที่ 15 เรียกว่า “ตงชิวโจ่ย” ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีว่า ไหว้พระจันทร์
-ไหว้ ครั้งที่เจ็ด ไหว้เดือน 11 ไม่กำหนดวันแน่นอน เรียกว่า “ไหว้ตังโจ่ย”
-ไหว้ ครั้งที่แปด ไหว้เดือน 12 วันสิ้นปี เรียกว่า ไหว้สิ้นปี หรือ “ก๊วยนี้โจ่ย”

 ประเพณีการไหว้เจ้าทั้ง 8 ครั้งนี้ มีคำจีนเฉพาะเรียกว่า “โป๊ยโจ่ย” โป๊ย คือ 8 โจ่ย แปลว่า เทศกาล โป๊ยโจ่ย จึงหมายความว่า การไหว้เจ้า 8 เทศกาล ซึ่งนอกจากการไหว้เจ้า 8 เทศกาลนี้แล้ว บางบ้านอาจมีวันไหว้พิเศษกับเจ้าบางองค์ที่นับถือศรัทธา คือ
- ไหว้ เทพยดาฟ้าดิน เช่น การไหว้วันเกิดเทพยดาฟ้าดิน เรียกว่า “ทีกงแซ” หรือ “ทีตี่แซ” ก็ได้ ตรงกับวันที่ 9    เดือน 1 ของจีน
- ไหว้ อาเนี้ยแซ คือ ไหว้วันเกิดเจ้าแม่กวนอิม ปีหนึ่งมี 3 ครั้ง คือ วันที่ 19 เดือน 2, วันที่ 19 เดือน 6 และวันที่ 19 เดือน 9
- ไหว้ แป๊ะกงแซ ตรงกับวันที่ 14 เดือน 3
 - ไหว้ เทพยดาผืนดิน คือ ไหว้โท้วตี่ซิ้ง ตรงกับวันที่ 29 เดือน 3
 - ไหว้ อาพั้ว “อาพั้ว” คือ พ่อซื้อแม่ซื้อผู้คุ้มครองเด็ก วันเกิดอาพั้ว หรือ “อาพั้วแซ” ตรงกับวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี
- ไหว้ เจ้าเตา ไหว้วันที่ 24 เดือน 12 เรียกว่า “ไหว้เจ๊าซิ้ง”

การจัดของไหว้
                     ถ้าจัดใหญ่ นิยมเป็นตัวเลข 5 คือ มีของคาว 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวแซ” ประกอบด้วย หมู ไก่ ตับ ปลา และกุ้งมังกร แต่เนื่องจากกุ้งมังกรนั้นแพงและหาไม่ง่าย จึงนิยมไหว้เป็ดหรือปลาหมึกแห้งแทน ของหวาน 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวเปี้ย” อาจเป็นซาลาเปาไส้หวาน ขนมไข่ ขนมถ้วยฟู ขนมกุยช่าย และขนมจันอับ ผลไม้ 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวก้วย”
                    ถ้าจัดเล็ก ก็เป็นชุดละ 3 อย่าง มีของคาว 3 อย่างเรียกว่า “ซาแซ” ของหวาน 3 อย่าง เรียกว่า “ซาเปี้ย” ผลไม้ 3 อย่าง เรียกว่า “ซาก้วย” หรือจะมีแค่อย่างเดียวก็ได้

ผลไม้ที่ใช้ไหว้จะนิยมเลือกชนิดที่มีอะไรที่เป็นมงคลอยู่ในตัว
   - ส้ม เรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี
   - องุ่น เรียกว่า “พู่ท้อ” แปลว่า งอกงาม
   - สับปะรด เรียกว่า “อั้งไล้” แปลว่า มีโชคมาหา
    - กล้วย มีความหมายถึงการมีลูกหลานสืบสกุล

                ที่ในกระถางธูปที่ใช้ไหว้เจ้า บางคนนิยมใส่ “โหงวจี้” สำหรับปักธูป ประกอบด้วย เมล็ด 5 อย่าง คือ ข้าวสาร ข้าวเหนียว ถั่วเขียว ถั่วดำ และเชื้อแป้ง (ยีสต์) โดยถือว่าเมล็ดทั้งห้า คือบ่อเกิดของการเจริญเติบโตอุปมาอุปไมยให้การไหว้เจ้านี้นำมาซึ่งความเจริญ รุ่งเรือง

                แต่การใช้โหงวจี้ปักธูป มีข้อจำกัดว่าใช้ได้แต่ในบ้าน ถ้าเป็นการไหว้นอกบ้านต้องใช้ข้าวสารหรือทรายมิฉะนั้นเชื้อแป้งเมื่อถูกความชื้น เช่น ฝนหรือน้ำค้างจะทำให้แข็งตัวแล้วปักธูปไม่ลง
               เมื่อไหว้เจ้าเสร็จก็เผากระดาษเงินกระดาษทองเป็นการปิดท้ายรายการ

เทศกาลตรุษจีน
ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ
                                                                                                                                      และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ (正月 พินอิน: zhèng yuè เจิ้งเยฺว่) และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ (ตัวเต็ม: 元宵節, ตัวย่อ: 元宵节, พินอิน: yuán xiāo jié หยวนเซียวเจี๋ย)                                                                                                                                                                   ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย

ตรุษ จีนในประเทศไทย
                ชาวไทยเชื้อสายจีนจะ ถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว

                - วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู้เอี๊ย) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว
                - วันไหว้ คือวันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ
                ตอนเช้ามืด  จะไหว้ "ไป่เล่าเอี๊ย" (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
               ตอนสาย จะไหว้ "ไป่แป๋บ้อ" (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญู                        
                ตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว                ตอนบ่าย จะไหว้ "ไป่ฮ่อเฮียตี๋" (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่ว ร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล

                -วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ไป่เจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กิก" (橘) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ (吉) [1] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

ประเพณีปฏิบัติ
                สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

คำอวยพร
                ในตรุษจีน ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรือคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กัน ได้แก่

                *  新年快樂 / 新年快乐 (จีนกลาง: ซินเหนียนไคว่เล่อ) นิยมใช้ในประเทศจีน
                *  過年好 / 过年好 (จีนกลาง: กั้วเหนียนห่าว) ใช้โดยชนพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศจีน วลีนี้ยังหมายถึงวันที่หนึ่งถึงวันที่ห้าของปีใหม่ด้วย
                *  新正如意 新年發財 / 新正如意 新年发财 (แต้จิ๋ว: ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย) แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
                *  恭喜發財 / 恭喜发财 (จีนกลาง: กงฉี่ฟาฉาย)
                *  เกียฮ่อซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น แปลว่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆ อีกฝ่ายก็จะกล่าวตอบว่า ตั่งตังยู่อี่ แปลว่า ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน

การกินเจ 
                เทศกาลกินเจ จริงๆแล้วเป็นช่วงเวลาแห่งการไว้ทุกข์ 10 วัน แด่ คน 9 คน ซึ่งเป็นชาวฮั่นที่ได้ทำการปฏิวัติต่อต้านพวกแมนจูแต่ไม่สำเร็จจึงถูกประหารชีวิตโดยการตัดคอและโยนลงสู่แม่น้ำหลังจากนั้น ก็มีเจ้ามารับวิญญาณทั้ง 9 ไป ชาวจีนจึงยกย่องให้ชายทั้ง 9 เป็นเจ้าแห่งเทศกาลกินเจ เมื่อถึงเทศกาลกินเจ ก็คือการไว้ทุกข์ให้บุคคลทั้ง 9 คน ซึ่งเราเรียกกันว่า เจ้า วันกินเจก็จะไม่ตรงกันทุกปีถ้าจะดูจากปฏิทินของไทย แต่ถ้านับจากปฏิทินจีน 1 เดือนก็จะมี 29 - 30 วัน จะไม่มีวันที่31วันกินเจ วันแรกจะตรงกับวันสุดท้ายของเดือนที่แปดนับจากปฏิทินจีนถ้าดูจากปฏิทินจีนเทศกาลกินเจก็จะตรงกันทุกปี

                ประเพณีการกินเจกำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือเริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนทุกๆ ปี รวม 9 วัน 9 คืน มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน

ความหมายของ "เจ"
                คำว่า เจ ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

                แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธฝ่ายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ

                แจมิได้แปลว่า อุโบสถ ในภาษาจีนมี(กลุ่ม)คำหรือวลีที่ใช้อักษรแจ(เจ, 齋 / 斋 )เป็นตัวประกอบร่วมด้วยหลายคำ แต่คำว่าโป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) ซึ่งเป็นศัพท์ของทางพุทธศาสนา ดูจะเป็นคำที่นิยมหยิบยกมาใช้อธิบายความหมายของอักษรแจเสมอมา

โป๊ยกวนแจไก่ (八關齋戒 ) แปลว่า ศีลบริสุทธิ์แปดประการ ซึ่งก็คือ “ศีลแปด”ที่เรารูจักกันดี

อาหารที่ทานได้ 
                ก็จะเป็นผักแต่ไม่ทุกชนิด ยกเว้นผักที่มีกลิ่นฉุน ทานแล้วมีกลิ่นปาก เช่น ผักชี, ผักกุยช่าย, ต้นหอม, กระเทียม ส่วนผลไม้ สามารถรับประทานได้ทุกชนิด และงดเว้นเนื้อสัตว์ทุกชนิดแต่บางคนรับประทานหอยนางรม สาเหตุทานได้เพราะหอยนางรมเคยช่วยชีวิต เจ้าแม่กวนอิมเอาไว้เรื่องมีอยู่ว่าวันนั้นเจ้าแม่กวนอิมเดินทาง แล้วรู้สึกหิวมากเหมาะกับเจอทะเลจึงเอ่ยไปว่าตอนนี้หิวมากจะมีสัตว์อะไรที่สามารถทานได้บ้าง หอยนางรมจึงลอยขึ้นมาให้เจ้าแม่กวนกิมได้ทานบางคนจึงนับหอยนางรมเป็นอาหารเจด้วยและที่แปลกคือหอยนางรมนั้นไม่มีเลือด ่ปัจจุบันก็ได้มีการทำอาหารเลียนแบบโดยใช้แป้ง ทำเป็น หมู เป็ด ไก่ มีรสชาดไม่แตกต่างไปจากเนื้อสัตว์

กินเจเพื่ออะไร
ผู้ที่กินเจอาจจะมีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์หลักสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
          1.  กินเพื่อสุขภาพ อาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ใน สภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ

          2.  กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตา มีคุณธรรมและมีจิตสำนึกอันดีงามย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์เหล่านั้น ซึ่งมีเลือดเนื้อ จิตใจและที่สำคัญมีความรักตัวกลัวตายเช่นเดียวกับคนเรา

          3.   กินเพื่อเว้นกรรม ผู้ที่เข้าใจอย่างลึกซึ้งย่อมตระหนักว่าการกินซึ่งอาศัยการฆ่าเพื่อเอาเลือด เนื้อผู้อื่นมาเป็นองเราเป็นการสร้างกรรม แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ลงมือฆ่าเองก็ตาม การซื้อจากผู้อื่นก็เหมือนกับการจ้างฆ่าเพราะถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามา ขาย กรรมที่สร้างนี้จะติดตามสนองเราในไม่ช้าทำให้สุขภาพร่างกายอายุขัยของเรา สั้นลงเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ เมื่อผู้หยั่งรู้เรื่องกฎแห่งกรรมนี้จึงหยุดกินหยุดฆ่าหันมารับประทานอาหาร เจ ซึ่งทำให้ร่างกายเติบโตได้เหมือนกัน โดยไม่เห็นแก่ความอร่อยช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแค่อาหารผ่านลิ้นเท่านั้น

สี
ทำไมต้องใช้ธงสีเหลือง ตัวหนังสือสีแดง แต่งกายสีขาว
สีแดง เป็นสีที่ชาวจีนเชื่อว่าเป็นสีศิริมงคล ดังจะเห็นได้ว่าในงานมงคลต่างๆ ของคนจีนไม่ว่าจะเป็นงานแต่ง วันตรุษจีน 
สีเหลือง เป็นสีสำหรับใช้ในราชวงศ์ซึ่งอนุญาตให้ใช้ได้เพียงคนสองกลุ่มเท่านั้น กลุ่มแรกคือกษัตริย์ซึ่งเห็นได้จากหนังจีน เครื่องแต่งกายและภาชนะต่างๆ เป็นสีเหลืองหรือทองซึ่งคน 
สามัญห้ามใช้เด็ดขาด กลุ่มที่สองคืออาจารย์ปราบผีถ้าท่านสังเกตในหนังผีจีนจะเห็นว่าเขาแต่งกาย และมียันต์สีเหลือง
สีขาว ตามธรรมเนียมจีนสีขาวคือสีสำหรับการไว้ทุกข์ สีดำที่เราเห็นกันอยู่ในขณะนี้เป็นการรับวัฒนธรรมตะวันตก ถ้าท่านสังเกตในพิธีงานศพของจีนจะเห็นลูกหลานแต่งชุดสีขาวอยู่ สีซึ่งกล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถนำไปเชื่อมโยงในตำนานข้างต้นที่กล่าวมาได้ทั้งหมด

เพื่อนเจ
เพื่อนเจเราจะเรียกว่า แจอิ๊ว ก็หมายถึงเพื่อนที่กินเจ เวลาร้านค้าเรียกลูกค้าในวันนั้นก็จะเหมารวมคนใส่ชุดขาวว่า แจอิ๊ว ไปทั้งหมด

ไหว้เจ้า
ในการไหว้เจ้าถ้าเป็นศาลเจ้าเขาก็จะมีแบ่งว่าถ้าไม่ได้กินเจหรือแต่งกายให้เหมาะสมก็จะไม่สามารถ เข้าไปไหว้ข้างในศาลเจ้า ไหว้ได้เฉพาะข้างนอกเท่านั้น ของที่ใช้ไหว้ก็ไม่ต่างจากไหว้ทั่วไปเท่าไร แต่ก็จำกัดบ้าง คือ เทียน จะต้องเป็นสีเหลืองเท่านั้น ส่วนธูป ก็ใช้เหมือนปกติ

การเวียนเทียน
จะไม่ได้เดินวน 3 รอบ ธรรมดาทั่วไปแต่จะเดินเป็นอักษรจีนซึ่งแต่ล่ะตัวก็คือคำพรแล้วคำก็ไม่ใช่คำเดิมเสมอไป เพราะแล้วแต่การขอของเจ้าภาพในปีนั้นถ้วยชามหากเป็นสมัยก่อนแล้ว ถ้วยชามที่ใช้ในเทศกาลกินเจ ก็จะมีชุดใหม่ซึ่งไม่ปนกับชุดที่ใช้อยู่ทุกวันบางบ้านก็จะมีการทำความสะอาดบ้านเพื่อตอนรับเทศกาลกินเจ เต่ารู้บุญคุณเมื่อปล่อยเต่าไปแล้วรอสักพักก่อน ลองสักเกตดูสักนิดเต่าที่ปล่อยไปจะว่ายกลับมาเอาหัวโผล่เหนือน้ำขึ้นมา ขอบคุณแล้วค่อยว่ายน้ำจากไปฉะนั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ ส่วนใหญ่จึงชอบปล่อยเต่า มากกว่า สัตว์อย่างอื่น

10 วันของเทศกาลกินเจ 
ก็จะมีวันสำคัญอยู่ประมาณไม่กี่วันซึ่งจะอธิบายแต่วันหลักๆ แล้ววันเหล่านี้แต่ล่ะศาลเจ้าก็จะไม่ตรงกัน แล้วแต่การดูเลิกยาม ณ ที่นี้ อิงกับ ศาลเจ้าเจาซือกง ( ตลาดน้อย ) เป็นหลัก

วันแรก แต่ละศาลเจ้าก็จะดูฤกษ์ยามว่าจะเชิญเจ้ามาเวลาไหน แต่ยังไงก็ไม่เกิน12.00น.จะทำการเชิญเจ้ากันที่แม่น้ำโดยการใช้ ปวย (คือนึกไปถึงตอนที่เข้าศาลเจ้าจะเห็นเป็นเหมือนก้อนสีแดงๆ 2 ก้อน) จะทราบว่าเจ้ามาก็ต่อเมื่อปวย2 อันจะทำการเสี่ยงทายโดยการโยน 2 ครั้ง แล้วปรากฏว่า 1 อันหงาย อีก 1 อันคว่ำ ก็แสดงว่าเจ้าทั้ง 9 ได้เสร็จลงมาแล้วการกินเจก็จะเริ่มขึ้นแต่คนส่วนใหญ่ก็ทานกันส่วนหน้าเพื่อเป็นการล้างท้องยิ่งพวกที่ทำหน้าที่เป็นคนเชิญเจ้าด้วยแล้วบางคนที่เคร่งก็จะทานล่วงหน้ากันเป็นเดือนทีเดียว

วันที่สี่ เป็นวันที่คนส่วนใหญ่จะมาไหว้เจ้าเหมือนกับเป็นวันนัดกันมาไหว้เจ้า

วันที่เจ็ด ก็เป็นวันไหว้เจ้าอีกวันแต่วันนี้จะสำคัญกว่าวันที่สี่ เพราะถือว่าเป็นการไหว้เจ้าใหญ่ใครจะพลาดไหว้วันไหนแต่ห้ามพลาดไหว้วันนี้ในวันนี้จะมีการซื้อเต่า , ปลาไหล ,นก ฯลฯ มาไหว้ด้วย

วันที่แปด วันนี้จะมีการลอยกระทงด้วยไม่ต่างไปจากการลอยกระทงของคนไทยความหมายก็ขอบคุณ เจ้าแม่คงคาสำหรับน้ำที่ให้เราๆ ท่านๆ ได้ใช้, ดื่ม กัน แล้วก็ให้สิ่งไม่ดีลอยไปตามน้ำ

วันที่เก้า จะว่าเป็นวันที่เด็กๆชอบ หรือเป็นวันที่คนเยอะสุดๆก็ว่าได้ ตอนช่วงเช้าก็จะมีพิธีทำทาน หรือเรียกว่า ซิโกว เป็นการให้ทานแก่ พวกผีที่ไม่มีญาติคนแก่บางคนก็เคยเห็นว่ามีวิญญาณมารับของไปช่วงเวลานนี้คนก็จะเยอะมาก แทบเหยียบกันก็ว่าได้ไม่ ทราบว่าคนพวกนี้มากจากไหนเหมือนกันทีเด็ดของงานก็คงเป็นตอนกลางคืน เพราะจะมีแห่มังกร ,สิงโต ,ขบวนของเด็ก และสาวๆ อันนี้เป็นแค่ทำสีสันให้คนมาเที่ยวงานเยอะๆไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่านี้

วันที่สิบ เป็นวันส่งเจ้ากลับ

เทศกาลไหว้พระจันทร์                                                                                                                                                                     เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลของชาวจีนโดยปกติจะมีวันเพ็ญ เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) เทศกาลนี้จัดขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วงจึงเรียกว่า "จงชิว" (Zhong Qiu) แปลว่า "กลางฤดูใบไม้ร่วง" เพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้เทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนโดยปกติจะมีขึ้นในวันที่ 15 (วันเพ็ญ) เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วงนี้จัดให้มีขึ้นเพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ยังคงไม่เป็นที่ ปรากฏแน่ชัด บ้างก็ว่าจักรพรรดิ์วูแห่งราชวงศ์ฮั่นเป็นผู้ริเริ่มการฉลองเพื่อกราบไว้พระ จันทร์เป็นเวลา 3 วันในฤดูใบไม้ร่วงนี้ แต่หลายคนก็แย้งว่า ความจริงแล้วเทศกาลนี้เกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ขนมเค้กที่ทำขึ้นก็เพื่อซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฎที่มีถึงประชาชนทั่วทั้ง ประเทศให้มาชุมนุมกันครั้งใหญ่ในเดือน 8 นี้ ทหารมองโกลไม่ได้ระแวงถึงจุดประสงค์ของพวกกบฎ เพราะคิดว่าขนมเค้กเหล่านั้นเป็นการทำตามประเพณีดั่งเดิมของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ในคืนนั้นเองทหารมองโกลจึงถูกปราบเสียราบคาบหลังจากที่ราชวงศ์ ใหม่คือราชวงศ์ หมิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ประเพณีนี้ก็ถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้                                                                                                         นอกจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้แล้ว ก็ยังมีนิทานและตำนานอีกหลายเรื่อง หนึ่งในจำนวนนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับนางเสี้ยงหงอ (บ้างก็เรียกฉางเอ๋อ) ซึ่งเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก นางเป็นภรรยาของขุนนางจีนท่านหนึ่ง หลังจากที่นางทานยาวิเศษเข้าไป นางก็เหาะขึ้นไปอยู่บนพระจันทร์ภายหลังนางกลายเป็นอมตะหลังจากที่ได้ดื่มน้ำ อมฤตของเทพธิดาองค์หนึ่งบนสวรรค์ กล่าวกันว่านางจันทรเทพธิดาเสี้ยงหงอมีน้ำใจเมตตาเอื้ออารีมาก พอถึงฤดูกาลเพาะปลูกนางก็จะประพรมน้ำอมฤตลงมาบนพื้นโลกและนี่ก็นำมาซึ่งความ เจริญรุ่งเรืองแก่ชาวไร่ชาวนาทั้งมวล เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อนางจันทรเทพธิดาชาวนาจึงทำขนมโก๋จากแป้งข้าว เจ้าเพื่อสักการะนางในคืนวันเพ็ญเดือน 8 เนื่องจากว่าโดยปกติประเพณีต่าง ๆ ของชาวจีนจะเกี่ยวของกับการทำอาหารพิเศษ ๆ เพื่อเป็นเครื่องสักการะในวันนั้น แต่ว่าอาหารจีนที่ทำขึ้นในวันไหว้พระจันทร์นี้ไม่ใช่ขนมเค้กอย่างเช่นของ ชาวตะวันตกตามที่เข้าใจกัน ในประเทศไทย ศิลปะการทำขนมเค้กแบบชาวจีนนี้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวจีนอพยพมากกว่า 100 ปีมาแล้ว ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนแต่เดิมนั้นมีส่วนประกอบ เช่น ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว เป็นต้น ในประเทศไทยก็มีส่วนประกอบที่แตกต่างออกไป เช่น การรวมเอาทุเรียน ลูกเกาลัดและลูกพลับเข้าไว้ด้วย เครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามาก็อาจจะรวมเอาเมล็ดบัว ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโมด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า โดยปกติแล้วพิธีนี้จะให้สตรีเป็นผู้ทำเพราะว่าคนเชื่อกันว่าพระจันทร์มีส่วน เกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับเทพเจ้าสตรีเรื่อยมา ดังนั้น จึงมีการบูชาด้วยแป้งและเครื่องสำอางด้วยเพราะหวังว่าการทำเช่นนี้จะนำมา ซึ่งความสวยงามและผิวงามแก่สมาชิกในครอบครัวที่เป็นจริงทั้งหมด ไม่ว่าความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหนก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อตามประเพณี และพิธีที่สืบทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานของชาวจีนแต่ประการใด

วันไหว้พระจันทร์ 
                ในคืนวันไหว้พระจันทร์ เราจะสามารถมองเห็นดวงจันทร์บนท้องฟ้าที่มีความงดงามเป็นพิเศษที่สุดในรอบปี กล่าวกันว่าในคืนวันไหว้พระจันทร์ ดวงจันทร์จะสุกสว่างและมองเห็นเป็นดวงกลมที่สุดในรอบปี ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนแปดของจีน 
                วันไหว้พระจันทร์ เป็นคำกล่าวเรียกของคนไทย ที่เรียกตามพิธีการที่คนไทยมองเห็นลูกหลายชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองไทยปฏิบัติกัน กล่าวคือ ได้มีการเซ่นไหว้ดวงจันทร์ในหมู่ชาวจีนในวันเพ็ญขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปดตามระบบการนับแบบ?
                ในภาษาจีน วันเพ็ญเดือนแปด คนจีนเรียกว่า “จงชิว” ( ?? ) แปลตามตัวอักษรหมายความว่า “ กลางฤดูใบไม้ร่วง ” ( “จง” แปลว่า กลาง , ตรงกลาง . “ ชิว ” แปลว่า ฤดูใบไม้ร่วง )ประเทศจีน แบ่ง ฤดูกาล ออกเป็น สี่ฤดู ในหนึ่งปี ได้แก่ “ชุน” ( ? ฤดูใบไม้ผลิ ) , “ เซี่ย ” ( ? ฤดูร้อน ) , “ ชิว ” ( ? ฤดูใบไม้ร่วง ) และ “ ตง ” ( ? ฤดูหนาว ) วัน จงชิว หรือ วันไหว้พระจันทร์ ก็คือ วันที่นับเป็นช่วงตรงกลางของฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งการนับว่าช่วงไหนเป็นช่วงฤดูใบไม้ร่วง ต้องนับตามแบบจันทรคติ เช่น ปีนี้วันเพ็ญเดือนแปดทางจันทรคติ ตรงกับวันที่ 25 กันยายน ของปีปฏิทินสากล 

เทศกาลขนมบ๊ะจ่าง
                เทศกาลวันไหว้ขนมจ้าง (บ๊ะจ่าง) หรือ เทศกาลตวนอู่เจี๋ย (จีน: 端午节) หรือ เทศกาลตวงโหงว ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ "โหงวเหว่ยโจ่ว" เป็นการระลึกถึงวันที่ คุกง้วน 
หรือ ชีว์หยวน หรือ ชีหยวน (จีน: 屈原, Qu Yuan (340-278 ปีก่อนคริสต์ศักราช) กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ กระโดดน้ำเสียชีวิต

               นอกจากนี้ ในประเทศจีน บริเวณแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง), ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า ยังมีการละเล่น แข่งเรือมังกร (Dragon Boat Festival 龙舟赛) จัดอย่างยิ่งใหญ่ในวันนี้ด้วย ทางรัฐบาลจีน 
ยังกำหนดให้วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นี้เป็น วันกวีจีน (The Chinese Poet's Day) อีกด้วย เนื่องจากชีหยวน นับเป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นกวีคนสำคัญของจีน                บ๊ะจ่างเป็นขนมหรืออาหารชนิดหนึ่งของจีน ทำด้วยข้าวเหนียว แล้วใช้ใบไผ่ห่อเป็นรูปทรงกรวยหรือรูปสามเหลี่ยมแล้วใช้เชือกเส้นเล็ก ๆ มัด เมื่อห่อเสร็จแล้ว ก็นำไปต้มให้สุก แล้วรับประทาน มีทั้งแบบใส่เครื่อง และไม่ใส่เครื่อง

 

โปรแกรมทัวร์เเนะนำ